กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก,โรคชิคุนกุนยา และโรคไข้ซิก้าในพื้นที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านหนองคล้า ปีงบประมาณ 2568
รหัสโครงการ 68-L1516-01-18
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองคล้า
วันที่อนุมัติ 18 กุมภาพันธ์ 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2568
งบประมาณ 41,114.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางลักขณา หนูเริก
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาวิเศษ อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.651,99.459place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่นับวันจะมีความรุนแรงและมีอัตราป่วยมากขึ้นเรื่อย ๆ ในจำนวนผู้ป่วยเหล่านั้นส่วนหนึ่งก็เสียชีวิตซึ่งถือว่าเป็นโรคระบาดที่อันตราย ในอดีตโรคไข้เลือดออกมักจะเป็นเฉพาะในกลุ่มเด็กเท่านั้น แต่ในปัจจุบันพบในทุกกลุ่มอายุและเป็นปัญหาสำคัญทางการแพทย์และการสาธารณสุขในระดับประเทศ เนื่องจากความรุนแรงของโรคแปรผันตรงต่ออัตราตาย การป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกจึงส่งผลต่อสุขภาพของผู้ป่วย,ชมชน, สังคมและประเทศชาติตามลำดับ หากมีการตรวจ วินิจฉัยขั้นต้นที่ไม่ถูกต้อง อาจทำให้ผู้ป่วยเข้าสู่ภาวะช็อคและเสียชีวิตได้ แต่เดิมระบาดวิทยาของโรคไข้เลือดออกจะพบบ่อยในกลุ่มเด็กอายุระหว่าง 5 – 9 ปี แต่ปัจจุบันมักพบผู้ป่วยได้ในทุกกลุ่มอายุและโรคไข้เลือดออกนี้ มียุงลายเป็นพาหะนำโรคที่สำคัญและในช่วงเดือนพฤษภาคม – ตุลาคม ของทุกปีจะเป็นช่วงฤดูฝนมียุงลายชุกชุม และเป็นช่วงที่มีการระบาดของโรคมาก แต่แนวโน้มจากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่าจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมีโอกาสที่จะเพิ่มจำนวนมาก และจะมากขึ้นเรื่อย ๆ หากไม่มีการดำเนินการควบคุมและป้องกันที่มีประสิทธิภาพและต่อเนื่องการดำเนินงานด้านสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพนั้นจะต้องได้รับความร่วมมือร่วมใจจากประชาชน องค์กรส่วนท้องถิ่นองค์กรชุมชนต่าง ๆ จึงจะประสบความสำเร็จการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกก็เช่นเดียวกันหากประชาชนทุกครัวเรือนมีความรู้ในเรื่องโรคไข้เลือดออกการป้องกันควบคุมโรคที่ถูกต้องความตระหนักในอันตรายของโรคมีการดำเนินการที่ต่อเนื่องสามารถดูแลครัวเรือนของตนเองได้โรคไข้เลือดออกก็จะมีอัตราป่วยและอัตราป่วยตายที่ลดลง
    ดังนั้นเพื่อเป็นการเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองคล้า ตำบลเขาวิเศษ จึงได้จัดทำโครงการ “โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก  ในพื้นที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านหนองคล้า ปีงบประมาณ 2568” ขึ้น เพื่อเป็นการเตรียมรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคและให้มีการทำงานอย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพ ตลอดจนกระตุ้นเตือนให้ประชาชนในชุมชน วัด โรงเรียนตลอดจนทุกภาคส่วน ร่วมมือผนึกพลัง ความคิดความร่วมมือแก้ไขปัญหาโรคร่วมกัน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

 

2 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม

 

3 เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและกำจัดลูกน้ำยุงลาย

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

กิจกรรมที่ 1. กิจกรรมประชาสัมพันธ์/สื่อสารความเสี่ยง 1.จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ควบคุมโรคไข้เลือดออกผ่านช่องทางสื่อต่างๆครอบคลุมพื้นที่เขตรับผิดชอบ
ในโรงเรียน วัด สถานที่ราชการ หมู่บ้าน 2.ให้ความรู้หน้าเสาธงในช่วงฤดูกาลระบาด 3.ให้ความรู้พร้อมกันสื่อสารความเสี่ยงผ่านแกนนำ อสม.ที่ประชุมหมู่บ้าน และเวทีการประชุมต่างๆ ในพื้นที่ 4.การประชุมประชาคมภายในหมู่บ้านเมื่อเกิดกรณีการระบาดของโรค
5. ประชุม War room)

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย

• ให้ความรู้ประชาสัมพันธ์โดยใช้รถประชาสัมพันธ์ • ดำเนินการรณรงค์สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย (Big Cleaning Day) ทุกหลังคาเรือนโดย
  ประชาชน นักเรียน อสม. ผู้นำชุมชนและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ วันศุกร์ของทุกสัปดาห์ • เดินรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยนักเรียน อสม.ผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และ   ประชาชนทั่วไป • เดินรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดย อสม. จำนวน 11 หมู่ ๆ ละ 1 วัน • แจกครีมทากันยุงและยาฉีดพ่นฆ่ายุงตัวเต็มวัย บ้านผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก • พ่นหมอกควันป้องกันโรคไข้เลือดออกโดยทีมเคลื่อนที่เร็วบ้านผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกและรัศมีบ้านผู้ป่วย
100 เมตร • พ่นหมอกควันป้องกันโรคไข้เลือดออกในโรงเรียนก่อนปิดและเปิดเทอม


กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมทำลายลูกน้ำและยุงตัวแก่ 1.การติดตามเฝ้าระวังความชุกของลูกน้ำยุงลายทุกเดือน โดย อสม.ในพื้นที่ 2. การออกดำเนินการ สอบสวนและควบคุมโรคเพื่อตัดวงจรการแพร่เชื้อภายในพื้นที่ โดยทีม SRRT
3.กิจกรรมควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกกรณีมีผู้ป่วยสงสัยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ โดยดำเนินการสอบสวน และควบคุมโรคติดต่อที่เฝ้าระวังในชุมชนภายใน 24 ชั่วโมง และลงพื้นที่พ่นหมอกควันรอบบ้านผู้ป่วยรัศมีอย่างน้อย 100 เมตร เป็นจำนวน 2 ครั้งโดยมีระยะห่างกัน 7 วัน และแจกทรายอะเบท และการพ่นหมอกควันในสถานที่ราชการ โรงเรียน วัด ในช่วงก่อนและหลังฤดูกาลระบาด

ขั้นประเมินผล 1. สรุปปัญหาและหาแนวทางแก้ไข 2. สรุปผลการปฏิบัติงานโครงการและประเมินผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อัตราการป่วย/ตาย ด้วยโรคไข้เลือดออกลดน้อยลง

  2. ประชาชน โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบลร่วมมือกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ในชุมชน
      และบ้านเรือน อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

  3. ประชาชนมีความตระหนักและเห็นความสำคัญของการป้องกันโรคไข้เลือดออก
  4. สามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืน เพื่อมิให้มีการแพร่ระบาดในชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ก.พ. 2568 13:48 น.