โครงการส่งเสริมทันตสุขภาพเด็กวัยเรียน
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมทันตสุขภาพเด็กวัยเรียน |
รหัสโครงการ | 68-L1516-01-13 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองคล้า |
วันที่อนุมัติ | 18 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤษภาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 ตุลาคม 2568 |
งบประมาณ | 20,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางลักขณา หนูเริก |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลเขาวิเศษ อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.651,99.459place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 400 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
สุขภาพช่องปากมีความสำคัญต่อสุขภาพของทุกคน โดยเฉพาะเด็กวัยเรียน โรคฟันผุในเด็กวัยเรียนมักมีสาเหตุมาจาก การมีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม รวมถึงการดูแลทำความสะอาดช่องปากไม่ถูกวิธี จึงก่อให้เกิดโรคฟันผุในเด็กอย่างรุนแรง ทำให้เด็กมีความเจ็บปวด เคี้ยวอาหารไม่ได้ตามปกติ ได้รับสารอาหารที่จำเป็นไม่เพียงพอและส่งผลต่อพัฒนาการการเจริญเติบโตของเด็กได้ เมื่อมีปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพด้านร่างกายและจิตใจโดยรวมอีกด้วย เด็กวัยเรียนเป็นวัยที่มีการเรียนรู้ เด็กที่มีสุขภาพดี จะสามารถเรียนรู้ ทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นได้ดี และเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพต่อไป ในทางตรงกันข้าม เด็กที่มีอาการปวดฟันบ่อย มักไม่มีสมาธิในการเรียน ขาดเรียนบ่อย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้และอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของเด็กในอนาคตต่อไปได้ จากข้อมูลสภาวะทันตสุขภาพของ รพ.สต.บ้านหนองคล้า ปีงบประมาณ 2567 พบว่า เด็กกลุ่มวัยเรียนที่มีอายุ 12 ปี มีฟันผุจนจำนวน 19 คน คิดเป็นร้อยละ 63.33 จากจำนวนเด็กที่ตรวจทั้งหมด 30 คน ซึ่งอัตราฟันผุในเด็กกลุ่มนี้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากปี 2565 (ร้อยละ 53.13) ปี 2567 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองคล้า ได้ทำการตรวจสุขภาพช่องปากและให้บริการทันตกรรมในเด็กวัยเรียนอายุ 6-12 ปี จาก 416 คน ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก จำนวน 323 คน (ร้อยละ 72.42) ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน คือ ร้อยละ 75 มีเด็กที่ไม่ได้เข้าถึงการรับบริการด้านทันตสุขภาพ จำนวน 123 คน เนื่องจากเด็กกลุ่มนี้อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ แต่เข้ารับการศึกษานอกเขตพื้นที่รับผิดชอบของ รพ.สต. ปี 2568 นี้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองคล้า มีเด็กวัยเรียนอายุ 6-12 ปี ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ จำนวน 400 คน มีเด็กที่เข้ารับการศึกษานอกเขตพื้นที่รับผิดชอบของ รพ.สต. จำนวน 193 คน เด็กกลุ่มนี้จึงเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญที่ควรได้รับการส่งเสริมด้านทันตสุขภาพ ตรวจสุขภาพช่องปาก และให้บริการทันตกรรม เพื่อควบคุมโรคฟันผุ ป้องกันการเกิดฟันผุซ้ำ และยังเป็นการดูแลรักษาอนามัยในช่องปากให้กับเด็กต่อไปได้
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้นักเรียนประถมศึกษาชั้นปีที่ 1-6 ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก
|
||
2 | เพื่อให้นักเรียนที่มีปัญหาทันตสุขภาพได้รับบริการทันตกรรมตามความจำเป็น
|
||
3 | เพื่อให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ได้รับการเคลือบหลุมร่องฟัน
|
||
4 | เพื่อให้เด็กนักเรียนประถมศึกษาชั้นปีที่ 1-6 ได้รับการฝึกทักษะการดูแลสุขภาพช่องปาก
|
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 |
ขั้นเตรียมการ
ประชุมคณะทำงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงาน
เขียนโครงการเสนอต่อผู้บริหาร เพื่อขออนุมัติโครงการ
ขั้นดำเนินการจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้และฝึกทักษะสาธิตการแปรงฟันที่ถูกต้องแก่กลุ่มเด็กวัยเรียน
ตรวจสุขภาพช่องปากเด็กวัยเรียนทุกคนและตรวจช่องปากซ้ำหลังเด็กแปรงฟัน เพื่อตรวจความสะอาดของช่องปาก
ทาฟลูออไรด์วานิชในเด็กนักเรียน เพื่อป้องกันฟันผุ
เด็กที่ได้รับการตรวจฟันและมีปัญหาทันตกรรม ให้มารับบริการที่ รพ.สต.
เคลือบหลุ่มร่องฟันในเด็กที่มีปัญหาทันตกรรม
ประเมินผลการดำเนินงาน
ขั้นประเมินผลร้อยละ 80 ของนักเรียนประถมศึกษาชั้นปีที่ 1-6 ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก
ร้อยละ 60 ของนักเรียนที่มีปัญหาทันตสุขภาพ ได้รับบริการทันตกรรมตามความจำเป็น
ร้อยละ 80 ของนักเรียนประถมศึกษาชั้นปีที่ 1-6 ได้รับการเคลือบหลุมร่องฟัน
ร้อยละ 20 ของนักเรียนประถมศึกษาชั้นปีที่ 6 ได้รับบริการทันตกรรมแบบ complete case
๑. เด็กวัยเรียน มีความรู้ ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพช่องปากและได้รับบริการทางทันตกรวมตามชุดสิทธิประโยชน์
๒. ปัญหาทันตกรรมในเด็กวัยเรียนลดลง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ก.พ. 2568 14:16 น.