โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเรื้อรัง ปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเรื้อรัง ปี 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L1486-01-02 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพลิพัง |
วันที่อนุมัติ | 13 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 3 มีนาคม 2568 - 15 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 11,032.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางอาภรณ์ แก้วด้วง |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลลิพัง อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.184,99.81place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 3 มี.ค. 2568 | 15 ก.ย. 2568 | 11,032.00 | |||
รวมงบประมาณ | 11,032.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
เมื่อสำรวจภาวะสุขภาพของคนในชุมชน พบว่าประชากรที่มีอัตราการเกิดโรคและประชากรที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคจะอยู่ในกลุ่มประชากรที่มีอายุตั้งแต่ ๓๕ ปี ขึ้นไป ซึ่งเป็นกลุ่มวัยทำงานและมีบทบาททางเศรษฐกิจของชุมชน กลุ่มนี้มักมีปัญหาการบริโภคที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย มีภาวะน้ำหนักเกิน อาจจะเกิดจาการทำงาน ความเร่งรีบในชีวิตประจำวัน แหล่งที่มาของอาหารการกิน ความนิยมอาหารถุงและอาหารสำเร็จรูป เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูงตามท้องตลาดหาซื้อได้ง่าย ทำให้กลุ่มวัยทำงานมีภาวะสุขภาพไม่ดี จึงจำเป็นต้องมีการส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันการเกิดโรคในกลุ่มนี้เป็นพิเศษ โดยการสำรวจจากการใช้แบบบันทึกการคัดกรองความเสี่ยง พบว่ามีกลุ่มประชากรที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน จำนวน 35 คน และกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง
จำนวน ๑2๕ คน
จากการสำรวจข้อมูลของประชากรในเขตรับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลิพัง อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง จำนวน ๗ หมู่บ้าน พบว่า มีอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง มีอัตราเพิ่มขึ้นทุกปี คือในปี พ.ศ.๒๕๖6 มีอัตราเพิ่มร้อยละ 4 และในปี พ.ศ.๒๕๖7 มีอัตราเพิ่มเป็นร้อยละ 5 เนื่องจากประชาการขาดความรู้ มีพฤติกรรมหรือทัศนะคติที่ไม่เหมาะสมเกี่ยวกับโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง จึงทำให้มีแนวโน้มของการเกิดโรคเพิ่มขึ้น นอกจากนี้กลุ่มผู้ป่วยที่มีในความดูแล บางส่วนนั้นมีภาวะแทรกซ้อนของโรคเกิดขึ้น คือ ในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมดของปีพ.ศ. ๒๕๖7 จำนวน ๗0 คน มีภาวะแทรกซ้อนที่เท้าจำนวน ๑ คน มีภาวะแทรกซ้อนทางไต โดยผลการตรวจ BUN และ Ceratinine (BUN ค่าปกติ = ๘ – ๒๐ mg/dl, Cr ค่าปกติ = ๐.๕ – ๑.๕ ml/dl ) ผิดปกติ จำนวน ๑๑ คน และผลการประเมินภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มผู้ป่วยความดันโลหิตสูง จำนวน 1๘5 คน ผลการตรวจ BUN และ Creatinine ผิดปกติ จำนวน ๑๐ คน และควบคุมระดับความดันให้อยู่ในเกณฑ์ปกติไม่ได้ ติดต่อกันนานกว่า ๓ เดือน คือ มากกว่า ๑๔๐/๙๐ mmHg จำนวน ๑2 คน
จากข้อมูลดังกล่าวนำไปสู่การจัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเรื้อรัง ปี ๒๕๖8 เพื่อควบคุมป้องกันการเกิดโรคเพิ่มขึ้นและยังนำมาซึ่งการจัดตั้งกลุ่มเครือข่ายให้ประชาชนดูแลกันเองในชุมชน สามารถแนะนำพฤติกรรมที่เหมาะสมในการดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัวอีกด้วย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | ๑. เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในผู้ป่วยเรื้อรังโรคเบาหวาน และ ความดันโลหิตสูงที่มารับยาต่อเนื่องที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลิพัง ผู้ป่วยเรื้อรังโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงที่มารับยาต่อเนื่องที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลิพังเข้าร่วมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ด้วยความสมัครใจ ร้อยละ 90 |
50.00 |
ลำดับ | กิจกรรมหลัก | งบประมาณ | มี.ค. 68 | เม.ย. 68 | พ.ค. 68 | มิ.ย. 68 | ก.ค. 68 | ส.ค. 68 | ก.ย. 68 |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | 1. กิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้(3 มี.ค. 2568-15 ก.ย. 2568) | 0.00 | |||||||
รวม | 0.00 |
1 1. กิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้ | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
ค่าอาหารว่าง 25 บาท x 2 มื้อ x 50 คน = 2,500 บาท
ค่าอาหารกลางวัน 70 บาท x 1 มื้อ x 50 คน = 3,500 บาท
ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการขนาด
1.2 x 2.4 เมตร x 1 ป้าย
= 432 บาท
ค่าวิทยากรบรรยายและฝึกปฏิบัติ (ภาครัฐ)
6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท x 1 วัน
= 3,600 บาท
ค่าจัดทำเอกสาร ประกอบด้วย สมุด ปากกา แฟ้มเอกสารและคู่มือการดูแลสุขภาพตนเอง
ชุดละ 20 บาท x 50 ชุด
= 1,000 บาท
๑. ผู้ป่วยเรื้อรังโรคเบาหวาน และ ความดันโลหิตสูง มีความรู้ และทัศนคติที่เหมาะสมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเองเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนของโรค ๒. ผู้ป่วยเรื้อรังโรคเบาหวาน และ ความดันโลหิตสูง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรค ได้รับการติดตามประเมินผลเป็นระยะตามที่กำหนดไว้
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ก.พ. 2568 15:33 น.