โครงการชาวธารน้ำทิพย์ใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลและปลอดภัย
ชื่อโครงการ | โครงการชาวธารน้ำทิพย์ใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลและปลอดภัย |
รหัสโครงการ | 68-L4129-07-01 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเทศบาลตำบลธารน้ำทิพย์ |
วันที่อนุมัติ | 21 มกราคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 3 กุมภาพันธ์ 2568 - 29 สิงหาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 29 สิงหาคม 2568 |
งบประมาณ | 12,220.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวฐาปนี ดำรงค์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลธารน้ำทิพย์ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 5.686,101.141place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
องค์การอนามัยโลกรายงานว่า มากกว่าร้อยละ 50 ของการใช้ยาเป็นไปอย่างไม่สมเหตุสมผลส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับความเสี่ยงจากผลข้างเคียง และอันตรายจากยาเพิ่มขึ้น เกิดความสิ้นเปลือง และสูญเปล่าทางเศรษฐกิจให้กับผู้ป่วย ครอบครัว และประเทศ และรัฐบาลได้กำหนดยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เพื่อใช้ในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน โดยในยุทธศาสตร์ด้านสาธารณสุข 20 ปีด้านความเป็นเลิศทางการแพทย์ (Service Excellence) กำหนดให้การใช้ยาสมเหตุสมผล (RDU) และการแก้ไขปัญหาเชื้อดื้อยา (AMR) เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบบริการสุขภาพ
ปัญหาความไม่ปลอดภัยจากการใช้ยาในชุมชน เกิดจากปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายด้านทั้งในส่วนของผู้ใช้ยา ผู้จำหน่ายยาที่ไม่เหมาะสม รวมถึงการบังคับใช้กฎหมายยา นอกจากนี้สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากผู้ใช้ยาขาดความรู้ที่ถูกต้อง มีความเชื่อที่ผิดๆ เกี่ยวกับการใช้ยา และสาเหตุที่สำคัญ คือ มีแหล่งจำหน่ายยาที่ไม่เหมาะสม และผิดกฎหมายกระจายอยู่ทั่วไปในชุมชน ผลการสำรวจร้านชำในตำบลธารน้ำทิพย์ในปีงบประมาณ 2566 พบร้านชำมีการขายอันตราย เช่น ยาปฏิชีวนะ ยาชุดที่มียาสเตียรอยด์ผสม นอกจากนี้ยังพบผลิตภัณฑ์ที่เสี่ยงต่อการปนปลอมสารสเตียรอยด์ เช่น ยาแผนโบราณ ยาสมุนไพร ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบ ได้แก่ ยาผง ยาเม็ด ยาลูกกลอน ยาน้ำ เป็นต้นดังนั้นการดำเนินการเชิงรุกในชุมชน เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของประชาชนให้มีทักษะคุ้มครองตนเอง และครอบครัวในการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
ในการนี้จึงจัดโครงการชาวธารน้ำทิพย์ใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลและปลอดภัยขึ้น โดยมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพของประชาชน และร้านชำต่อการใช้ยาอย่างสมเหตุผล และสร้างมาตรฐานความปลอดภัยด้านยาในชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ จนก่อให้เกิดความปลอดภัยจากการใช้ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพของประชาชนครอบคลุมในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชนอย่างเหมาะสม
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการใช้ยาอย่างสมเหตุผล
|
||
2 | เพื่อให้ประชาชนลดการใช้ยาสเตียรอยด์ ยาชุดและยาปฎิชีวนะโดยไม่จำเป็น 2.ประชาชนสามารถนําความรู้ไปใช้ในเฝ้าระวังและตรวจสอบแหล่งขายยาในชุมชนร้อยละ 100 |
||
3 | เพื่อให้ประชาชนร่วมกันเฝ้าระวังและตรวจสอบแหล่งขายยาในชุมชน
|
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 |
- ผู้ประกอบการร้านชำมีความรู้ ความตระหนัก ในการนำยาที่ร้านชำสามารถจำหน่ายได้
- ประชาชนมีความรู้ในการใช้ยาปฏิชีวนะได้อย่างถูกต้อง
- เกิดเครือข่ายเฝ้าระวังการใช้ยาในชุมชนโดยร่วมกันทุกภาคีเครือข่ายไม่ว่าจะเป็นอสมผู้นำ ชุมชนผู้ประกอบการร้านชำ และชาวบ้านมีการดำเนินงานที่ต่อเนื่องและยั่งยืน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ก.พ. 2568 04:31 น.