กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมและป้องกันภาวะโภชนาการและพัฒนาการในเด็ก 0-5 ปี
รหัสโครงการ 68-L1516-01-15
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองคล้า
วันที่อนุมัติ 18 กุมภาพันธ์ 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2568
งบประมาณ 16,982.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางลักขณา หนูเริก
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาวิเศษ อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.651,99.459place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โภชนาการที่ดี เป็นรากฐานที่สำคัญของการมีสุขภาพดีตลอดช่วงชีวิต โดยเฉพาะช่วงที่มีการเจริญเติบโตตั้งแต่ในอยู่ครรภ์มารดาจนถึงเด็กอายุ 5 ปี เนื่องจากมีการเจริญเติบโตทั้งด้านสมองและร่างกาย อีกทั้งภาวะการเจริญเติบโตที่ดี ยังเป็นดัชนีบ่งชี้สุขภาพโดยรวมของเด็กและเป็นเครื่องบ่งชี้ภาวะเศรษฐกิจของประเทศ รวมถึงเป็นตัวบ่งชี้ทางอ้อม (Proxy Indicator) ของสุขภาพในวัยผู้ใหญ่หากปล่อยให้เด็กขาดสารอาหาร จะส่งผลเสียถึง 4 ช่วงอายุ คือ วัยเด็ก วัยเรียน วัยผู้ใหญ่ และวัยผู้สูงอายุทั่วโลกจึงให้ความสำคัญกับการส่งเสริมโภชนาการในกลุ่มสตรีและเด็ก (WHO, 2015) อีกทั้งสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบกับกลุ่มเด็กปฐมวัย 0-5 ปี ซึ่งเป็นช่วงการส่งเสริมกระตุ้นพัฒนาการสมวัย เนื่องจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหรือโรงเรียน ปิดการเรียนการสอนตามมาตรการควบคุมการระบาดที่ทาง ศบค. ประกาศอาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของเด็กที่เกิดจากความไม่พร้อมด้วยปัจจัยต่างๆ (กรมอนามัย, 2564) ปัจจุบันประเทศไทยยังคงพบปัญหาทุพโภชนาการในกลุ่มเด็กแรกเกิด – 5 ปี จากผลการสำรวจสถานการณ์ เด็กและสตรีในประเทศไทย (Multiple Indicator Cluster Survey: MICS) ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ และองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทยครั้งที่ 3, 4 , 5 และ 6 ในปี พ.ศ. 2549, 2555, 2559 และ 2562 ตามลำดับ พบว่า เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี มีภาวะเตี้ย ผอม และอ้วน ลดลงอย่างช้า ๆ ในปี พ.ศ. 2549 –2559 แต่เพิ่มสูงขึ้น ในปี พ.ศ. 2562 โดยเฉพาะภาวะเตี้ย อีกทั้งกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนด ตัวชี้วัดที่แสดงถึงการเจริญเติบโตดี ทั้งด้านส่วนสูงและน้ำหนักในเด็กคนเดียวกัน คือ สูงดีสมส่วน เป้าหมายในปีงบประมาณ 2565 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 66 และตัวชี้วัดการคัดกรองพัฒนาการเด็กตามกลุ่มอายุเป้าหมายไม่น้อยกว่าร้อยละ 90
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองคล้า ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของโครงการ “ส่งเสริมและป้องกันภาวะโภชนาการและพัฒนาการในเด็ก 0-5 ปี” ขึ้น โดยมุ่งหวังให้เกิดประโยชน์ต่อการส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยไทยได้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีศักยภาพ และคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเฝ้าระวังและส่งเสริมภาวะโภชนาการในเด็ก 0-5 ปี

 

2 เพื่อให้เด็ก 9, 18, 30, 42, 60 เดือน ได้รับการตรวจและส่งเสริมพัฒนาการโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00

ขั้นเตรียมการ

  1. ประชุมคณะทำงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงาน

  2. เขียนโครงการเสนอต่อผู้บริหาร เพื่อขออนุมัติโครงการ

ขั้นดำเนินการ

  1. จัดทำโครงการเสนอคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเขาวิเศษ

  2. ประชุมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองคล้า เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ ของ โครงการ

  3. ประชาสัมพันธ์การจัดโครงการ

  4. จัดทำสื่อความรู้และเอกสารการดำเนินงาน

  5. จัดอบรมให้ความรู้เรื่อง การส่งเสริมและป้องกันภาวะโภชนาการและพัฒนาการในเด็ก 0-5 ปี

  6. กิจกรรมส่งเสริมและป้องกันภาวะโภชนาการของเด็ก 0-5 ปี

    6.1 จัดกิจกรรมติดตามชั่งน้ำหนักส่วนสูง แปลผล จุดกราฟแสดงเกณฑ์โดยอาสาสมัครสาธารณสุข แล้วแจ้งให้ผู้ปกครองทราบเป็นรายบุคคลในเด็กกลุ่มอายุ 0-5 ปี ทุกๆ 3 เดือน
    6.2 กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการในเด็ก 9, 18, 30, 42, 60 เดือน ได้รับการตรวจคัดกรองทุกคน

    1. สรุปผลการดำเนินงาน

ขั้นประเมินผล
1. ร้อยละ 90 ของเด็ก 0-5 ปี ได้รับการเฝ้าระวังและส่งเสริมภาวะโภชนาการ

2. ร้อยละ 90 เด็ก 9, 18, 30, 42, 60 เดือน ได้รับการตรวจคัดกรองพัฒนาการ ด้วยวิธี DSPM

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.อาสาสมัครสาธารณสุขมีแนวทางในการส่งเสริมโภชนาการและพัฒนาการเด็กทั้ง 5 ด้าน และสามารถปฏิบัติได้อย่างต่อเนื่อง

2.เด็กมีภาวะโภชนาการและมีพัฒนาการสมวัย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ก.พ. 2568 06:51 น.