โครงการชาวมูโนะสุขภาพดี มีสุข ห่างไกล ภัยโรคNCD ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
ชื่อโครงการ | โครงการชาวมูโนะสุขภาพดี มีสุข ห่างไกล ภัยโรคNCD ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L2537-01-04 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมูโนะ |
วันที่อนุมัติ | 31 ตุลาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 สิงหาคม 2568 - 31 สิงหาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 15,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายนิฟัยรุส สมานกุลวงศ์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลมูโนะ อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 ส.ค. 2568 | 31 ส.ค. 2568 | 15,000.00 | |||
รวมงบประมาณ | 15,000.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง | 120 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCD หมายถึงโรคที่รักษาไม่หาย การรักษาเป็นเพียงการพยุงไม่ให้มีการสูญเสียการทำงานของร่างกายมากขึ้น โรคไม่ติดต่อเรื้อรังมีหลายประเภท เช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจวาย โรคไตวาย โรคข้อเสื่อม เป็นต้น อาจแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทดังนี้ ประเภทที่ 1 คือโรคที่ดำเนินไปอย่างช้า ๆ มีทางบำบัดรักษาให้หายได้ แต่ต้องใช้เวลานานหลายเดือนหรือเป็นปี เช่น วัณโรค โรคเรื้อน โรคเท้าช้าง เป็นต้น ประเภทที่ 2 คือโรคที่ดำเนินไปอย่างช้า ๆ ชนิดที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ แต่การรักษาแบบประคับประคองก็สามารถทำให้อาการของโรคทุเลา เช่น โรคเบาหวาน โรคสะเก็ดเงิน เป็นต้น ประเภทที่ 3 คือโรคที่กลายหรือสืบเนื่องมาจากโรคเฉียบพลันที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที เช่น โรคอัมพฤกษ์ที่เกิดจากอุบัติเหตุ เมื่อไขสันหลังถูกกดทับแต่ไม่ถึงกับฉีกขาด หากรักษาทันท่วงทีก็หายได้ ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องก็จะเป็นโรคอัมพฤกษ์ตลอดไป โรคเรื้อรังที่ไม่ติดต่ออันเป็นผลมาจากการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม และพฤติกรรมการดําเนินชีวิตที่ผ่านมาส่งผลให้ประสบปัญหาโรคที่ไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ ทําให้เกิดอาการเจ็บป่วย ต้องสูญเสียงบประมาณในการรักษาพยาบาลเป็นจํานวนมากจากสถานการณ์ของโรค พบว่าสาเหตุการตายส่วนใหญ่ ร้อยละ 60เกิดจากโรคเรื้อรัง เช่นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจ มะเร็ง ปีละ 97,000 คน ขณะที่คนไทยต้องกินยาสูงปีละ47,000ล้านเม็ด สาเหตุหลักของโรคเรื้อรังส่วนใหญ่ ร้อยละ 90เกิดจากพฤติกรรม อาทิกินอาหารไม่เหมาะสม ขาดการออกกําลังกาย น้ำหนักตัวเกิน สูบบุหรี่ ดื่มเหล้ากินอาหารไม่เหมาะสม เช่น หวาน มัน เค็ม (ผลการวิจัยจากกรมอนามัย ปี 2565) ศูนย์บริการสาธารณสุข เป็นหน่วยบริการปฐมภูมิที่เน้นการสร้างเสริม ป้องกันการเกิดโรคลดพฤติกรรมเสี่ยง ในกลุ่มเสี่ยงและประชาชนทั่วไป โดยการให้ความรู้ความเข้าใจ สร้างความตระหนักในการเว้นปัจจัยเสี่ยง เช่น สูบบุหรี่ ความเครียด อาหารเพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีความรู้เรื่องการดูแลตนเอง การใช้ยาถูกต้อง ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการเจ็บป่วยและเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างถูกต้อง ด้วยปัจจุบันกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโรคเบาหวาน (DM) และโรคความดันโลหิตสูง (HT) เป็นภัยเงียบที่ส่งผลกระทบทำให้เกิดความพิการและตายก่อนวัยอันควร การเกิดโรคมีสาเหตุจากหลายปัจจัยเสี่ยงที่มาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย และนำไปสู่การเจ็บป่วยแทรกซ้อนที่สำคัญ อาทิ โรคจอประสาทตาเสื่อม โรคไตวายเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด แผลเรื้อรัง การถูกตัดขา ตัดนิ้ว เป็นต้น ความเจ็บป่วยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยตลอดจนค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขโดยรวมในโรงพยาบาล และ ในโรงพยาบาลส่งแสริมสุขภาพตำบลมูโนะ อีกทั้งยังมีกลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรองในปีที่ผ่าน ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื่องรังเป็นจำนวนหลายคน จากการดำเนินงานที่ผ่านมา ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และกลุ่มเสี่ยง ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งแสริมสุขภาพตำบลมูโนะ มีความรู้เรื่องการดูแลตนเองการใช้ยาที่ไม่ถูกถูกต้อง และมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ดี ในเรื่องของการควบคุม 3 อ 2ส.โรงพยาบาลส่งแสริมสุขภาพตำบลมูโนะ จึงได้เล็งเห็นความสำคัญต่อผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้ จึงจัดทำโครงการชาวมูโนะสุขภาพดี มีสุข ห่างไกล ภัยโรคNCDประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ร่วมกิจกรรมมีความรู้เรื่องการดูแลตนเอง และการใช้ยาอย่างถูกต้องร้อยละ 80 ร้อยละ 80 ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ร่วมกิจกรรมมีความรู้เรื่องการดูแลตนเอง และการใช้ยาอย่างถูกต้อง |
0.00 | 80.00 |
2 | กลุ่มเสี่ยงมีความรู้ และสามารถนำความรู้ไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยใช้หลัก3อ.2ส. ร้อยละ80 ร้อยละ 80 กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ และสามารถนำความรู้ไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยใช้หลัก3อ.2ส. |
0.00 | 80.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ร่วมกิจกรรมมีความรู้เรื่องการดูแลตนเอง และการใช้ยาอย่างถูกต้องร้อยละ 80 |
||||||
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | ||
วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : กลุ่มเสี่ยงมีความรู้ และสามารถนำความรู้ไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยใช้หลัก3อ.2ส. ร้อยละ80 |
||||||
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | ||
ไม่ระบุวัตถุประสงค์ |
||||||
1 - 31 ส.ค. 68 | โครงการชาวมูโนะสุขภาพดี มีสุข ห่างไกล ภัยโรคNCD ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 | 15,000.00 | - |
หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้
- ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังสามารถลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการเจ็บป่วย และส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีความรู้เรื่องโรค และการดูแลตนเองรวมถึงการใช้ยาอย่างถูกวิธี 2.กลุ่มเสี่ยงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีสุขภาพที่ดี ไม่ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2568 00:00 น.