โครงการสตรีใส่ใจป้องกันภัยมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ปี 2568 รพ.สต.บ้านทรายขาว
ชื่อโครงการ | โครงการสตรีใส่ใจป้องกันภัยมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ปี 2568 รพ.สต.บ้านทรายขาว |
รหัสโครงการ | 68-L2486-1-03 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | รพ.สต.บ้านทรายขาว |
วันที่อนุมัติ | 14 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 3 เมษายน 2568 - 30 มิถุนายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 กรกฎาคม 2568 |
งบประมาณ | 9,300.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายวิโรจ ชาญแท้ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลไพรวัน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 86 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล โรคมะเร็งปากมดลูกเป็นโรคมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ ๒ของโรคมะเร็งทั้งหมดของสตรีไทย รองจากมะเร็งเต้านมปัจจุบันในประเทศไทยแต่ละปีจะพบผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ประมาณ๑๐,๐๐๐รายและเสียชีวิตจากการเป็นมะเร็งปากมดลูก๕,๐๐๐รายอัตราการเสียชีวิตของสตรีไทยเพิ่มขึ้นจาก ๗คน/วันเป็น๑๔คน/วันสถิติจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมาพบแพทย์เมื่อระยะของโรคมะเร็งนั้นได้เข้าสู่ในระยะลุกลามแล้ว การรักษาจึงเป็นไปได้ยาก ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาที่สูง ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากไม่สามารถประกอบอาชีพได้ก่อให้เกิดปัญหาด้านสังคมและครอบครัวตามมาอย่างมากมายแต่จะสามารถป้องกันและรักษาให้หายขาดได้ถ้าพบผู้ป่วยโรคมะเร็งในระยะเริ่มแรกร้อยละ ๓๐ – ๔๐ สามารถป้องกันได้ด้วยการลดพฤติกรรมเสี่ยง และหากได้รับการตรวจคัดกรอง มะเร็งที่เหมาะสมจะสามารถป้องกันและได้รับการรักษาได้ทันท่วงที และอาจลดการตรวจลงเหลือเพียงตรวจทุก ๒ – ๓ ปีเมื่อผลตรวจคัดกรองปกติทุกครั้ง๓ครั้ง/๓ ปีติดต่อกันดังนั้น ถ้าสามารถกระตุ้นให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับโรคดังกล่าว พร้อมทั้งตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการตรวจค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรกก็จะทำให้อัตราการเกิดโรค , อัตราการป่วยและอัตราการตายจากโรคมะเร็งลดลง จากผลการดำเนินงานปี2567 ที่ผ่านมาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทรายขาว ได้ทำการตรวจคัดกรอง คัดกรองมะเร็งเต้านม ร้อยละ 100 ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทรายขาว จึงได้จัดทำโครงการสตรีใส่ใจป้องกันภัยมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ปี 2568 ขึ้นเพื่อติดตามการตรวจสุขภาพอย่างต่อเนื่องของผู้รับบริการโดยเน้นการตรวจแบบ HPVDNA และ HPV Self Sampling DNA เชิงรุกค้นหาเซลล์มะเร็งได้ในระยะเริ่มแรกรวมถึงตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเบื้องต้นเพื่อการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคด้วย ซึ่งจะเป็นแนวทางในการสกัดโรคก่อนลุกลาม
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | ข้อที่ 1.เพื่อให้สตรี อายุ 30 -๗0 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกได้ด้วยตนเอง
|
0.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : ข้อที่ 1.เพื่อให้สตรี อายุ 30 -๗0 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกได้ด้วยตนเอง |
||||||
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | ||
ไม่ระบุวัตถุประสงค์ |
||||||
3 เม.ย. 68 - 30 มิ.ย. 68 | ๑.จัดอบรมเชิงปฏิบัติการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกตรวจแบบ HPV DNA และ HPV Self Sampling DNA เชิงรุกและให้ความรู้เรื่องมะเร็งเต้านม | 9,300.00 | - | |||
3 เม.ย. 68 - 30 มิ.ย. 68 | ๒.ประชาสัมพันธ์เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกตรวจแบบ HPV DNA และ HPV Self Sampling DNA เชิงรุกโดยผ่านหอกระจายข่าว และในหมู่บ้านโดยมี อสม.ในพื้นที่ประชาสัมพันธ์ในการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก | 0.00 | - | |||
3 เม.ย. 68 - 30 มิ.ย. 68 | ๓.ให้บริการเชิงรุกแก่กลุ่มเป้าหมายที่ไม่สามารถรับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกตรวจแบบ HPV DNA ในสถานบริการ และ HPV Self Sampling DNA เชิงรุก | 0.00 | - |
หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้
1.สามารถค้นหาความผิดปกติของเซลล์มะเร็งที่ปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรกได้
2.สตรีกลุ่มเป้าหมายทุกคน ได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูกต่อเนื่อง อย่างน้อย๓ปี
3.สตรีกลุ่มเป้าหมายที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อและรักษาอย่างถูกวิธี
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ก.พ. 2568 00:00 น.