โครงการสูงวัยเข่าดีไม่มีล้ม ตำบลเทพา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา ปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการสูงวัยเข่าดีไม่มีล้ม ตำบลเทพา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา ปี 2568 |
รหัสโครงการ | 68 - L8287 - 1 - 4 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศูนย์เวชปฏิบัติครอบครัว ศูนย์ 1 |
วันที่อนุมัติ | 19 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 ตุลาคม 2568 |
งบประมาณ | 11,700.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | ศูนย์เวชปฏิบัติครอบครัว ศูนย์ 1 |
พี่เลี้ยงโครงการ | โรงพยาบาลเทพา |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลเทพา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.82,100.94place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 ม.ค. 2568 | 30 ก.ย. 2568 | 11,700.00 | |||
รวมงบประมาณ | 11,700.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 80 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง | 80 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคกระดูกและข้อเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญในวัยสูงอายุ จากสถิติผู้ป่วย โรคกระดูกและข้อในคนไทย พ.ศ. 2564 พบว่ามีผู้ป่วยโรคนี้ มากกว่า 6 ล้านคนโดยข้อที่เสื่อมมากที่สุด คือ ข้อเข่า ภาวะข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ (Osteoarthritis) เป็นการเสื่อมแบบปฐมภูมิเกิดจากการเสื่อมของกระดูกอ่อนบริเวณผิวข้อที่หุ้มข้อเข่าจากกระบวนการเสื่อมของวัยชรา เกิดพยาธิสภาพของข้อ โดยไม่มีอาการอักเสบเป็นอาการสึกหรอ ดังนั้นผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมจึงจําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรับการสร้างเสริมสุขภาพ การเสริมสร้างป้องกันภาวะเข่าเสื่อมไม่ให้รุนแรงมากขึ้น ปัญหาข้อเข่าเสื่อมเป็นโรคเรื้อรัง ที่ต้องใช้ระยะเวลานานในการรักษา เป้าหมายในการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมนั้น คือการบรรเทาอาการปวดและเพิ่มความสามารถในการเคลื่อนไหว การรักษาประกอบด้วย กายบริหารบําบัดเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของข้อเข่า และเพิ่มพิสัยของข้อ การลดน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ทั้งนี้อาจใช้ร่วมกับการบำบัดรักษา แบบใช้ยา (Pharmacological therapy) ซึ่งได้แก่ กลุ่มยาแก้ปวดพื้นฐานทั้งการรับประทานและยาทาเฉพาะที่ นอกจากการรักษาด้วยยาแล้วผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการทำกายภาพบําบัด การออกกําลังกายเพื่อคงสภาพการทำงานของข้อ กล้ามเนื้อ และ บรรเทาความปวด การประคบร้อน หรือเย็น การใช้เครื่องมือทางกายภาพบําบัด เช่น เครื่องอัลตร้าซาวด์ เพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือดและลดอาการปวด การให้ความรู้เรื่องโรคและคำแนะนําในการดูแลตนเอง และเมื่อปฏิบัติอย่างต่อเนื่องจะทำให้เกิดความมั่นคง ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุเชื่อในประโยชน์ของพฤติกรรมมากขึ้น
การพลัดตกหกล้ม ยังพบบ่อยในผู้สูงอายุในโรงพยาบาลและเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับสองในกลุ่มการบาดเจ็บโดยไม่ได้ตั้งใจรองจากการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน สถิติการเสียชีวิตจากการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุได้ทวีความรุนแรงและมีแนวโน้มสูงขึ้น ผลกระทบที่เกิดจากการพลัดตกหกล้มอาจทำให้บาดเจ็บเพียงเล็กน้อยหรือถึงขั้นรุนแรง ได้แก่ เกิดแผลฟกช่ำ ถลอก กระดูกสะโพกหัก ถึงขั้นพิการหรือสูญเสียความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน หรือเจ็บป่วยเรื้อรังมีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆตามมา อาทิ ข้อติด แผลกดทับ และกล้ามเนื้อลีบอ่อนแรง ไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมได้ รวมถึงส่งผลกระทบทางด้านจิตใจเกิดความวิตกกังวล กลัวการหกล้ม
คลินิกเวชปฏิบัติครอบครัว ศูนย์ 1 โรงพยาบาลเทพา มีผู้สูงอายุจำนวน 1,801 คน คิดเป็นร้อยละ 14.09 ของประชากรทั้งหมด โดยปี 2566 มีผู้ป่วยที่มารับบริการด้วยโรคข้อเข่าเสื่อมมีจำนวน 725 ครั้ง ซึ่งจะเห็นได้ว่า
มีผู้สูงอายุที่มีปัญหาข้อเข่าเสื่อมเข้ารับบริการจำนวนมากซึ่งนำไปสู่ความเสี่ยงในการพลัดตกหกล้มได้ จึงต้องรักษาต่อเนื่องที่ คลินิกเวชปฏิบัติครอบครัว ศูนย์1 เป็นเวลานาน และไม่สามารถจำหน่ายผู้ป่วยได้ ดังนั้น จึงได้เล็งเห็นความสำคัญในการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีโรคข้อเข่าเสื่อมและมีความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม เพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นป้องกันการเกิดโรคและการบาดเจ็บที่รุนแรงได้
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงได้รับการคัดกรองโรคข้อเข่าเสื่อม ผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงได้รับการคัดกรองข้อเข่าเสื่อมร้อยละ 80 |
1.00 | |
2 | เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงได้รับการคัดกรองความเสี่ยงการพลัดตกหกล้ม ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองความเสี่ยงพลัดตกหกล้ม ร้อยละ 80 |
1.00 | |
3 | เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรอบรู้และการดูแลตนเองในโรคข้อเข่าเสื่อมและการพลักตกหกล้ม ผู้สูงอายุมีความรอบรู้และการดูแลตนเองในโรคข้อเข่าเสื่อมและการพลักตกหกล้ม ร้อยละ 85 |
1.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 115 | 11,700.00 | 0 | 0.00 | |
1 - 28 ก.พ. 68 | กิจกรรมประเมินข้อเข่าเสื่อมและความเสี่ยงภาวะหกล้ม แก่ผู้สูงอายุในชุมชน โดยใช้แบบประเมินคัดกรองโรคข้อเข่าเสื่อม และแบบประเมินโอกาสเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม | 45 | 0.00 | - | ||
1 ก.พ. 68 - 31 ส.ค. 68 | กิจกรรมส่งเสริมด้านสุขภาพ ให้สามารถดูแลตนเองในผู้สูงอายุ กิจกรรมชุดที่1 ให้การรักษาทางกายภาพบำบัดและแพทย์แผนไทย กิจกรรมชุดที่ 2 ออกกำลังกายแบบกลุ่มสูงวัยเข่าดีไม่มีล้ม | 70 | 11,700.00 | - |
- ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองโรคข้อเข่าเสื่อม และการพลัดตกหกล้ม
- ผู้สูงอายุมีความรอบรู้ด้านสุขภาพที่ถูกต้อง คือ
2.1 เข้าใจโรคข้อเข่าเสื่อม และความเสี่ยงหกล้ม 2.2 มีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลตนเองในโรคข้อเข่าและการพลัดตกหกล้ม
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ก.พ. 2568 10:50 น.