โครงการร้านชำมาตรฐานผู้ประกอบการมีความรู้ สู่การบริโภคอย่างปลอดภัย ปีงบประมาณ 2568
ชื่อโครงการ | โครงการร้านชำมาตรฐานผู้ประกอบการมีความรู้ สู่การบริโภคอย่างปลอดภัย ปีงบประมาณ 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L2537-01-07 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมูโนะ |
วันที่อนุมัติ | 31 ตุลาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 27,500.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายสันต์ พรมสร |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลมูโนะ อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 ม.ค. 2568 | 30 ก.ย. 2568 | 27,500.00 | |||
รวมงบประมาณ | 27,500.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ประเทศไทยตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 1 เป็นต้นมา ได้มีการพัฒนานโยบายสาธารณสุขที่เน้นในการให้บริการรักษาพยาบาลโดยมีการขยายบริการให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศจนกระทั่งในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 9 ที่ผ่านมาที่มีนโยบายสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเพื่อให้ประชาชนได้รับบริการทางสุขภาพทั้งด้านการรักษาพยาบาลการ ฟื้นฟูสภาพ การส่งเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรคอย่างได้มาตรฐานเสมอภาคและเท่าเทียมกันโดยกำหนดยุทธศาสตร์นโยบายและแผนเพื่อให้มีการดูแลประชาชนอย่างทั่วถึงสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการดูแลสุขภาพคนไทยตื่นตัวและเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพออกกำลังกายการใช้เครื่องอุปโภคบริโภคที่ปลอดภัยลดความเครียด เพื่อลดโรคที่สำคัญได้แก่ โรคหลอดเลือด และหัวใจความดันโลหิตสูงโรคเบาหวานและมะเร็งเป็นต้น ในปีงบประมาณ 2567 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมูโนะได้ดำเนินงานด้านคุ้มครองผู้บริโภค พบว่า การใช้เครื่องอุปโภคบริโภคที่ไม่ได้มาตรฐานจากร้านชำในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องสำอาง ที่ไม่ได้คุณภาพ จำหน่ายให้กับประชาชนในชุมชน และยังจำหน่ายยาบางชนิดที่ไม่สามารถจำหน่ายได้ในร้านชำซึ่งผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ที่ชัดเจนเกี่ยวกับการเลือก ผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องสำอาง ที่มีคุณภาพ ความรู้เรื่องประเภทของยาแต่ละชนิดที่สามารถจำหน่ายได้ในร้านชำ และจำหน่ายให้กับประชาชนในชุมชนได้ อีกทั้งเรื่องของความสะอาดของร้านและผลิตภัณฑ์ต่างๆภายในร้านที่ไม่ผ่านเกณฑ์ งานคุ้มครองผู้บริโภค และเครือข่ายสุขภาพของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมูโนะ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของงานคุ้มครองผู้บริโภคจึงได้จัดทำโครงการร้านชำมาตรฐานผู้ประกอบการมีความรู้สู่การบริโภคอย่างปลอดภัยเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบกิจการร้านขายของชำในด้านการค้าขายการประกอบอาหารให้ถูกสุขลักษณะและมีคุณภาพผู้ประกอบการร้านชำจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องสำอาง และจำหน่ายยาเฉพาะยาสามัญประจำบ้าน ได้ถูกต้องตามเกณฑ์มาตรฐาน
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถเลือกผลิตภัณฑ์ อาหาร เครื่องสำอาง ที่มีคุณภาพ จำหน่ายให้กับ ประชาชนในชุมชนได้ ร้อยละ 95 ของร้านขายของชำจำหน่ายอาหารและเครื่องสำอางที่ถูกต้องตามเกณฑ์มาตรฐาน |
0.00 | 95.00 |
2 | เพื่อพัฒนาเครือข่ายงานคุ้มครองผู้บริโภค ที่สามารถให้ความรู้ และคำแนะนำในการเลือกใช้ ผลิตภัณฑ์สุขภาพแก่ประชาชน และผู้ประกอบการได้ ร้อยละ 95 ของร้านขายของชำในพื้นที่ได้รับการตรวจประเมินร้านตามเกณฑ์มาตรฐานร้านชำ |
0.00 | 95.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถเลือกผลิตภัณฑ์ อาหาร เครื่องสำอาง ที่มีคุณภาพ จำหน่ายให้กับ ประชาชนในชุมชนได้ |
||||||
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | ||
วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อพัฒนาเครือข่ายงานคุ้มครองผู้บริโภค ที่สามารถให้ความรู้ และคำแนะนำในการเลือกใช้ ผลิตภัณฑ์สุขภาพแก่ประชาชน และผู้ประกอบการได้ |
||||||
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | ||
ไม่ระบุวัตถุประสงค์ |
||||||
1 ม.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | โครงการร้านชำมาตรฐานผู้ประกอบการมีความรู้ สู่การบริโภคอย่างปลอดภัย ปีงบประมาณ 2568 | 27,500.00 | - |
หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้
- ผู้ประกอบการสามารถเลือกผลิตภัณฑ์ อาหาร เครื่องสำอาง ที่มีคุณภาพ จำหน่ายให้กับประชาชนในชุมชนได้
- เครือข่ายงานคุ้มครองผู้บริโภค สามารถให้ความรู้ และคำแนะนำในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพแก่ประชาชน และผู้ประกอบการได้
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2568 00:00 น.