โครงการพัฒนาศักยภาพการใช้กายอุปกรณ์ เพื่อการดูแลผู้ป่วยติดเตียงและผู้พิการ และจัดตั้งศูนย์ซ่อมกายอุปกรณ์
ชื่อโครงการ | โครงการพัฒนาศักยภาพการใช้กายอุปกรณ์ เพื่อการดูแลผู้ป่วยติดเตียงและผู้พิการ และจัดตั้งศูนย์ซ่อมกายอุปกรณ์ |
รหัสโครงการ | 68-L8302-3-12 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ เทศบาลตำบลมะรือโบตก |
วันที่อนุมัติ | 11 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 26 กุมภาพันธ์ 2568 - 31 พฤษภาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 17,600.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางมัณฑนา กิตติมากุล |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | เทศบาล ตำบลมะรือโบตะวันตก อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 22 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ | 20 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ร้อยละของผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชนได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพภายในระยะเวลา 6 เดือน | 60.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
อุปกรณ์ผู้ป่วยติดเตียง เป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้ในการดูแลผู้ป่วยผู้ป่วยติดเตียง ในกรณีที่ต้องนอนติดเตียง อยู่ในโรงพยาบาล หรือที่บ้าน เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยในงานต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกสบายให้กับผู้ป่วยติดเตียง เพราะผู้ป่วยติดเตียงไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกาย และไม่สามารถดูแลตัวเองได้เหมือนกับผู้ป่วยทั่วไป จึงจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ผู้ป่วยติดเตียง เพื่อช่วยเคลื่อนย้ายผู้ป่วยให้อยู่ในท่าที่สบาย ช่วยเปลี่ยนท่านอนเพื่อป้องกันแผลกดทับ ช่วยด้านสุขอนามัย และการเข้าห้องน้ำ รวมไปถึงช่วยในการดูแลทางการแพทย์ขั้นพื้นฐานการใช้กายอุปกรณ์ เพื่อการดูแลผู้ป่วยติดเตียงและ ผู้พิการ นอกจากนี้ ในการใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ต่างๆ เช่น เตียง เบาะลม รถเข็น ญาติจำเป็นจะต้องรู้วิธีการ บำรุง รักษา เพื่อให้วัสดุอปกรณ์ทางการแพทย์ สามารถใช้ได้ในระยะยาว แต่หากเกิดการชำรุดแล้ว ก็จำเป็นที่จะต้องมีผู้มีความรู้และทักษะในการซ่อมบำรุงวัสดุอปกรณ์ทางการแพทย์ ดังกล่าว
ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ เทศบาลตำบลมะรือโบตก เห็นถึงความสำคัญของความรู้ความเข้าใจ และความจำเป็นที่ ญาติผู้ดูแล ผู้ดูแลผู้สูงอายุ และอาสาสมัครสาธารณสุข จำเป็นต้องทราบวิธีการใช้ การดูแล และการบำรุงรักษาที่ถูกต้อง และการจัดตั้งศูนย์ซ่อมกายอุปกรณ์ เพื่อสามารถดำเนินการซ่อมได้อย่างรวดเร็ว สามารถนำไปใช้กับผู้ป่วยได้ต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อเพิ่มผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชนได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพภายในระยะเวลา 6 เดือน ร้อยละผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชนได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพภายในระยะเวลา 6 เดือน |
60.00 | 80.00 |
2 | เพื่อให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Care giver ) อาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น และญาติผู้ดูแล ผู้ป่วยติดเตียง ผู้พิการ มีความรู้ ความเข้าใจในการใช้กายอุปกรณ์ ชนิดต่างๆ และการบำรุงรักษา สามารถนำไปปรับใช้ในการดูแลได้ ๘๐ % ของผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Care giver ) อาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น และญาติผู้ดูแล ผู้ป่วยติดเตียง ผู้พิการ มีความรู้ ความเข้าใจในการใช้กายอุปกรณ์ ชนิดต่างๆ และการบำรุงรักษา สามารถนำไปปรับใช้ในการดูแลได้ |
65.00 | 85.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 17,600.00 | 0 | 0.00 | |
26 ก.พ. 68 - 31 พ.ค. 68 | อบรมเชิงปฏิบัติการ การใช้กายอุปกรณ์ ชนิดต่างๆ และการบำรุงรักษา วัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ | 0 | 13,600.00 | - | ||
26 ก.พ. 68 - 31 พ.ค. 68 | จัดตั้งศูนย์ซ่อมกายอุปกรณ์ เทศบาลตำบลมะรือโบตก | 0 | 4,000.00 | - |
๑. ขั้นเตรียมการ
-ประสานกลุ่มเป้าหมาย ญาติผู้ดูแล ผู้ดูแลผู้สูงอายุ และอาสาสมัครสาธารณสุข ในการเข้าร่วมโครงการฯ และประสานวิทยากรในการใช้วัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ ในการจัดอบรม
-ประชุมผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ในการจัดตั้งศูนย์ซ่อมกายอุปกรณ์ เทศบาลตำบลมะรือโบตก
2. จัดอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Care giver ) อาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น และญาติผู้ดูแล ผู้ป่วยติดเตียง ผู้พิการ มีความรู้ ความเข้าใจในการใช้กายอุปกรณ์ ชนิดต่างๆ และการบำรุงรักษา สามารถนำไปปรับใช้ในการดูแลได้
๓.จัดตั้งศูนย์ซ่อมกายอุปกรณ์ เทศบาลตำบลมะรือโบตก
๔.สรุปผลโครงการตามตัวชี้วัด พร้อมจัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ
ญาติผู้ดูแล ผู้ดูแลผู้สูงอายุ และอาสาสมัครสาธารณสุข มีความรู้ความเข้าใจในการใช้วัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ และสามารถบำรุงรักษาวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ ให้มีอายุการใช้งานได้นาน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ก.พ. 2568 10:02 น.