วัยรุ่นวัยใสใส่ใจป้องกันการตั้งครรภ์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ุบ้านป่าบากออก
ชื่อโครงการ | วัยรุ่นวัยใสใส่ใจป้องกันการตั้งครรภ์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ุบ้านป่าบากออก |
รหัสโครงการ | 68-L3341-02-14 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรม อสม. หมู่ที่ 4 บ้านป่าบากออก |
วันที่อนุมัติ | 18 มีนาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 18 มีนาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 12,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | น.ส.แอน กสิพันธ์ นางอุไร วงษ์ชื่น นางเพ็ญศรี ถาวรนุรักษ์ นายอนันท์ ลอยลิบ นายสมจิตร์ พรรณราย |
พี่เลี้ยงโครงการ | นายเสงี่ยม ศรีทวี |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลทุ่งนารี อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 25 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 25 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ร้อยละของเยาวชนอายุ 10-19 ปีที่มีภาวะเสี่ยงต่อการมีสัมพันธ์ | 3.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น” กรมอนามัยได้กำหนดนิยาม หมายถึง จำนวนการคลอดบุตรมีชีวิตของหญิงอายุ 15-19 ปี หรือ 10-14 ปี ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นเรื่องที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ โดยองค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้การลดอัตราการคลอดในวัยรุ่นอายุ 15-19 ปี (Adolescent birth rate) เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่นานาชาติต้องบรรลุให้ได้ภายในปี พ.ศ.2573 โดยได้กำหนดให้การ ลดอัตราการคลอดในวัยรุ่นอายุ 10-14 ปี และอายุ 15-19 ปี เป็นหนึ่งในการบรรลุเป้าหมายที่ 3 ว่าด้วย การสร้างหลักประกันให้คนมีชีวิตที่มีคุณภาพและส่งเสริมสุขภาวะที่ดีของคนทุกเพศทุกวัย การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นไม่เพียงแต่เป็นปัญหาด้านสุขภาพ แต่ยังเป็นปัญหาด้านประชากรที่ส่งผลต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอีกด้วย สถานการณ์การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของ อำเภอป่าบอนจังหวัดพัทลุง ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2565-2567 พบอัตราการคลอดมีชีพในหญิงอายุ 15-19 ปี เท่ากับ 8.57, 8.51 และ 8.53 ต่อประชากรหญิงอายุ15-19 ปี พันคน ตามลำดับ สำหรับปีงบประมาณ 2568 ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2567 – มกราคม 2568 ประชากรหญิงอายุ 15-19 ปี จำนวน 0 คน คลอดมีชีพ จำนวน 0 คน คิดเป็นอัตราเท่ากับ 0 ต่อประชากรหญิง อายุ 15-19 ปี พันคน (เป้าหมายไม่เกิน 19 ต่อประชากรหญิงอายุ 15-19 ปี พันคน) แต่ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นยังต้องติดตามและเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ซึ่งพบว่าร้อยละของการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น อายุต่ำกว่า 20 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2565-2568 เท่ากับร้อยละ 11.44, 19.44 และ 19.57 ตามลำดับ สำหรับในปี 2567 ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2561- มกราคม 2568 มีมารดาอายุ ต่ำกว่า 20 ปี การตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ของวัยรุ่น ทั้งนี้เกิดจากวัยรุ่นบางส่วนยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เรื่องเพศศึกษา ประกอบกับขาดการดูแลและชี้แนะในสิ่งที่เหมาะสมจากครอบครัว รวมถึงความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้เยาวชนถูกกระตุ้นด้วยสิ่งเร้า เช่น สื่อในโลกอินเตอร์เน็ต สิ่งเหล่านี้มีผลทำให้เยาวชนเกิดพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม เช่น การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร และการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย การขาดวุฒิภาวะและทักษะในการควบคุมอารมณ์ทางเพศของตนเอง จึงอาจส่งผลให้เกิดการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์หรือการเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เป็นผลให้เกิดปัญหาสังคมต่างๆตามมา ซึ่งมีผลต่อคุณภาพชีวิตของเด็กและครอบครัวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ กระทรวงสาธารณสุข ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการป้องกันการตั้งครรภ์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในวัยรุ่น ประจำปีงบประมาณ 2568 เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ที่ถูกต้องเรื่องเพศศึกษา การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรให้แก่เยาวชน จากสถานการณ์ดังกล่าวจึงทำให้มีการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์ ในพื้นที่อำเภอป่าบอนปัญหาการตั้งครรภ์ในกลุ่มวัยรุ่นเป็นปัญหาระดับพื้นที่ และระดับประเทศ เป็นเรื่องที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดของเป้าการพัฒนาแห่งสหัสวรรษและเป้าการพัฒนาที่ยั่งยืน
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพื่อให้วัยรุ่น ประชาชน และอสม. หมู่ที่ 4 บ้านป่าบาก ตำบลทุ่งนารี มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเพศวิถี วัยรุ่น รักปลอดภัย การป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น และป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์
|
70.00 | 80.00 |
2 | 2. เพื่อลดอัตราการเพิ่มขึ้นของการตั้งครรภ์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ุในวัยรุ่น อายุ 10-19 ปี อัตราการเพิ่มขึ้นของการตั้งครรภ์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ุลดลง ร้อยละ 50 |
70.00 | 50.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 1. เพื่อให้วัยรุ่น ประชาชน และอสม. หมู่ที่ 4 บ้านป่าบาก ตำบลทุ่งนารี มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเพศวิถี วัยรุ่น รักปลอดภัย การป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น และป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์ |
||||||
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | ||
วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : 2. เพื่อลดอัตราการเพิ่มขึ้นของการตั้งครรภ์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ุในวัยรุ่น อายุ 10-19 ปี |
||||||
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | ||
ไม่ระบุวัตถุประสงค์ |
||||||
19 - 31 มี.ค. 68 | ประชาสัมพันธ์โครงการ สำรวจหากลุ่มเป้าหมาย | 0.00 | - | |||
1 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับเพศวิถี วัยรุ่น รักปลอดภัย การป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น | 9,600.00 | - | |||
1 - 30 เม.ย. 68 | การประชาสัมพันธ์ รณรงค์โครงการ | 2,000.00 | - | |||
1 เม.ย. 68 - 31 พ.ค. 68 | จัดตั้งแกนนำเพื่อเฝ้าระวังและป้องกันการตั้งครรภ์และป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์ในวัยรุ่นของหมู่ 4 บ้านป่าบาก | 0.00 | - | |||
1 - 31 ส.ค. 68 | สรุปและประเมินผล | 400.00 | - |
หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้
1.วัยรุ่น ประชาชน และอสม.หมู่ที่ 4 บ้านป่าบาก ตำบลทุ่งนารี เข้าร่วมกิจกรรม 50 คน 2. วัยรุ่น ประชาชน และอสม.หมู่ที่ 4 บ้านป่าบาก ตำบลทุ่งนารี มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเพศวิถี วัยรุ่น รักปลอดภัย การป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น และป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 3. อัตราการตั้งครรภ์ในกลุ่มหญิงวัยรุ่นอายุ 13-19 ปี ไม่เพิ่มขึ้น 4. อัตราการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ลดลง 5. อสม.เป็นแกนนำในการให้ความรู้ที่ถูกต้อง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ก.พ. 2568 00:00 น.