โครงการฟื้นฟูสุขภาพ สำหรับผู้ป่วยติดเตียงและกลุ่มเปราะบาง ประจำปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการฟื้นฟูสุขภาพ สำหรับผู้ป่วยติดเตียงและกลุ่มเปราะบาง ประจำปี 2568 |
รหัสโครงการ | L5248-68-01-02 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลปริก |
วันที่อนุมัติ | 18 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 18 กุมภาพันธ์ 2568 - 31 สิงหาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 สิงหาคม 2568 |
งบประมาณ | 42,660.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายอิมรอน หะยีสามะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.694,100.473place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 12 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ในกลุ่มผู้ป่วยที่เจ็บป่วยเรื้อรังที่ต้องอยู่ที่บ้านทั้งในเขตเมือง เขตชนบท ไปไหนไม่ได้ ซึ่งมี ๓ ประเภท คือ นอนติดเตียง ช่วยตัวเองไม่ได้เลย ช่วยเหลือตนเองได้น้อย และช่วยตัวเอง ได้บางส่วน ต้องพึ่งพิงญาติอย่างน้อย ๑ คน คอยดูแล เช่นโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต โรคชรา โรคมะเร็งระยะสุดท้าย รวมทั้งผู้พิการอื่นๆด้วย การฟื้นฟูสมรรถภาพทั้งร่างกายและจิตใจ ที่เหมาะสม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการแทรกซ้อน และลดภาระค่าใช้จ่ายแก่ญาติในการพาไปโรงพยาบาล ต้องเสียค่าใช้จ่ายเดินทางครั้งละไม่ต่ำกว่า ๑,๐๐๐ บาท ซึ่งจะมีความยากลำบากในการเดินทางมากกว่าผู้ป่วย จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานด้านสาธารณสุขชุมชนและหมู่บ้าน ของ งานเวชศาสตร์ครอบครัวโรงพยาบาล โดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอสะเดา พบว่า มีผู้ป่วยจากโรคเรื้อรัง ทั้งผู้สูงวัยและผู้ป่วยทั่วไปจากโรค มะเร็ง โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต ฯลฯ จำเป็นต้องพักรักษาตัวเพื่อฟื้นฟูสุขภาพที่บ้าน และส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยที่มีฐานะยากจนขาดแคลนอุปกรณ์ฟื้นฟูสุขภาพที่สำคัญ คือ ที่นอนเบาะลม เพื่อให้คนไข้เหล่านี้สามารถปรับระดับร่างกายให้ลุกนั่งกินน้ำ อาหาร ให้ยา และเปลี่ยนอิริยาบถเพื่อหลีกเลี่ยงอาการอักเสบที่อาจจะเกิดจากแผลกดทับในรายที่เป็นผู้ป่วยติดเตียงได้ ในปัจจุบัน มีจำนวนผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงและกลุ่มผู้เปราะบาง ที่อยู่ในความดูแลของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลปริกทั้ง 3 แห่ง จำนวน 58 ราย และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งปัจจุบันจำนวนเตียงและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จะคอยสนับสนุนช่วยเหลือผู้ป่วยติดเตียงก็ไม่เพียงพอ อาทิเช่น เตียงเฟาว์เลอร์, ที่นอนลมป้องกันแผลกดทับ, เครื่องผลิตออกซิเจน สิ่งนี้มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วยติดเตียง จำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างครอบคลุม และเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานที่พึ่งมีและพึ่งได้รับ ตลอดจนเป็นการลดความแออัดอัตราการครองเตียง ของโรงพยาบาล เพิ่มความสะดวกให้กับญาติผู้ดูแล และผู้ทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง( Care Giver) ในการให้บริการการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน โดยมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการให้บริการดูแลสุขภาพประชาชนที่บ้าน เป็นการให้บริการลักษณะการให้ยืมชั่วคราวและต้องคืนกลับเมื่อหมดความจำเป็น เพื่อหมุนเวียนให้กับรายอื่นๆต่อไป ดังนั้น เพื่อเป็นการดูแลประชาชนที่เป็นผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงและกลุ่มเปราะบาง ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลปริก และเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าได้อย่างครอบคลุมและมีคุณภาพชีวิตที่ดี องค์การบริหารส่วนตำบลปริก จึงได้จัดทำโครงการ ฟื้นฟูสุขภาพสำหรับผู้ป่วยติดเตียงและกลุ่มเปราะบาง ประจำปี ๒๕68 ขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อลดภาวะแผลกดทับในกลุ่มผู้ป่วยติดเตียง และกลุ่มเปราะบางที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ลดภาวะแผลกดทับในกลุ่มผู้ป่วยติดเตียง และกลุ่มเปราะบางที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ |
||
2 | เพื่อลดการเข้ารับการรักษาซ้ำที่โรงพยาบาล ประชาชนที่ป่วยติดบ้านติดเตียงกลุ่มเปราะบางได้รับการดูแลที่เหมาะสม ลดการเข้ารับการรักษาซ้ำที่โรงพยาบาล ประชาชนที่ป่วยติดบ้านติดเตียงกลุ่มเปราะบางได้รับการดูแลที่เหมาะสม |
||
3 | เพื่อให้ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงและกลุ่มเปราะบาง มีอุปกรณ์ทางการแพทย์ใช้อย่างเหมาะสมกับสภาพการเจ็บป่วย ลดภาวะแทรกซ้อนของโรคจากแผลกดทับ ให้ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงและกลุ่มเปราะบาง มีอุปกรณ์ทางการแพทย์ใช้อย่างเหมาะสมกับสภาพการเจ็บป่วย ลดภาวะแทรกซ้อนของโรคจากแผลกดทับ |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
1เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติตามลำดับ
2ชี้แจงผู้ที่เกี่ยวข้อง ประชาสัมพันธ์ให้ทราบโดยทั่วกัน
3ดำเนินการจัดซื้อ (ที่นอนลม) เพื่อนำมาใช้กับกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการ (กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมลงเลขทะเบียนครุภัณฑ์ที่นอนลม)
4มีการแนะนำให้คู่มือการใช้ พร้อมติดตั้งที่นอนลมให้แก่กลุ่มเป้าหมายที่ต้องการยืมใช้ที่นอนลม (เขียนคำร้องทำระบบยืมใช้ที่นอนลม) ณ กองสาธาฯ อบต.ปริก (ใช้เกณฑ์การพิจารณาของ รพ.สต. ในพื้นที่)
5ประเมินผล และสรุปผลโครงการ
- ลดภาวะแผลกดทับในกลุ่มผู้ป่วยติดเตียง และกลุ่มเปราะบางที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้
- ลดการเข้ารับการรักษาซ้ำที่โรงพยาบาล ประชาชนที่ป่วยติดบ้านติดเตียงกลุ่มเปราะบางได้รับการดูแลที่เหมาะสม
- ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงและกลุ่มเปราะบาง มีอุปกรณ์ทางการแพทย์ใช้อย่างเหมาะสมกับสภาพการเจ็บป่วยลดภาวะแทรกซ้อนของโรคจากแผลกดทับ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ก.พ. 2568 11:38 น.