กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ รณรงค์ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก หมู่ที่ 1 – 9 ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลปริก ประจำปีงบประมาณ 2568
รหัสโครงการ L5248-68-01-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลปริก
วันที่อนุมัติ 18 กุมภาพันธ์ 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 18 กุมภาพันธ์ 2568 - 31 สิงหาคม 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2568
งบประมาณ 100,045.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอิมรอน หะยีสามะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.694,100.473place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 10820 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันโรคไข้เลือดออก นับเป็นปัญหาหนึ่งที่สำคัญของสาธารณสุขไทย ผู้ป่วยแต่ละปีพบได้จำนวนมากและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งมียุงลายเป็นพาหะนำโรค พบได้ทุกหนทุกแห่งโดยเฉพาะในครัวเรือน และบริเวณที่พักอาศัย ยุงลายสามารถแพร่พันธุ์ได้ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะฤดูฝน ดังนั้น จึงมีโอกาสพบผู้ป่วยได้ตลอดทั้งปีและจากการเฝ้าระวังโรค พบว่าฤดูกาลมีผลทำให้สถานการณ์ของโรคเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย ข้อมูลจากระบบรายงานเฝ้าระวังโรค สถานการณ์โรคไข้เลือดออกปี 2567 ข้อมูล (ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 2 ธันวาคม 2567) พบผู้ป่วยทั้งประเทศ สะสมจำนวน 98,946 ราย อัตราป่วย 149.62 ต่อแสนประชากร เสียชีวิต 83 ราย ผู้ป่วยจังหวัดสงขลา พบผู้ป่วยสะสม 4,111 ราย อัตราป่วย 287.22 ต่อแสนประชากร เสียชีวิต 2 ราย (อ.หาดใหญ่ อ.เมือง) และประกอบกับข้อมูลสถานการณ์โรคไข้เลือดออก ผู้ป่วยอำเภอสะเดา จ.สงขลา ข้อมูล (ตั้งแต่วันที่1 มกราคม - 2 ธันวาคม 2567) มียอดผู้ป่วยสะสม 350 ราย อัตราป่วย 368.16 ต่อแสนประชากร ยังไม่มีผู้เสียชีวิต โดยตำบลปริกมียอดผู้ป่วยสะสมอยู่ที่ 81 ราย เป็นอันดับที่ 1 ของอำเภอสะเดา (อันดับที่ 2 ต.สะเดา 64 ราย อันดับที่ 3 ต.สำนักขาม 63 ราย อันดับที่ 4 ต.สำนักแต้ว 57 ราย ตามลำดับ) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกที่สำคัญ ได้แก่ ได้รับการวินิจฉัยล่าช้า โดยปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตในเด็ก คือ มีน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน และในผู้สูงอายุ คือ การมีโรคประจำตัวเรื้อรัง โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่ไวต่อสภาพอากาศจากอุณหภูมิและปริมาณน้ำฝน สภาพอากาศของประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองกระจาย และฝนตกหนักในบางพื้นที่ ทำให้ภาชนะต่างๆ หรือเศษขยะ มีน้ำฝนท่วมขังอยู่ เช่น ฝาขวด แก้วพลาสติก ถุงพลาสติก เศษกระถาง ซึ่งน้ำที่ท่วมขังเป็นน้ำนิ่งและค่อนข้างสะอาดที่ยุงลายชอบวางไข่ โดยไข่ของยุงลายจะยึดติดแน่นกับขอบผิวภาชนะเหนือระดับน้ำเล็กน้อย สามารถอยู่ได้นานเป็นปี เมื่อมีน้ำท่วมถึงสามารถฟักตัวเป็นระยะตัวเต็มวัยในระยะเวลา 1-2 สัปดาห์ และเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น จะทำให้ยุงลายตัวเต็มวัยออกหากินในช่วงกลางคืนมากขึ้น การป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยุงกัด และป้องกันไม่ให้ยุงเกิด ด้วยวิธีนอนในมุ้ง อยู่ในห้องติดมุ้งลวด ใส่เสื้อผ้ามิดชิด ทาโลชั่นกันยุง ใช้ยาจุดกันยุง พร้อมทั้งปฏิบัติตามหลัก 3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค ได้แก่ เก็บบ้านให้ปลอดโปร่งไม่ให้ยุงลายเกาะพัก จัดเก็บเสื้อผ้าใส่ตู้ให้เป็นระเบียบ เก็บขยะ เศษภาชนะไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ จำพวกเศษภาชนะวัสดุที่ทิ้งกระจาย รอบๆ บ้าน เช่น กะลา กระป๋อง ถุงพลาสติก ควรเก็บทิ้งหรือถมดินไม่ให้น้ำขัง ยางรถยนต์เก่า สามารถดัดแปลงนำมาใช้ประโยชน์หรือขายให้สถานประกอบการ และสุดท้ายคือเก็บแหล่งน้ำ ปิดให้มิดชิด เปลี่ยนถ่ายน้ำทุกสัปดาห์ไม่ให้ยุงลายวางไข่ ภาชนะขังน้ำ ขนาดเล็กหมั่นเปลี่ยนน้ำทุก 7 วัน เช่น แจกันดอกไม้สด แจกันหิ้งบูชาพระ แจกันที่ศาลพระภูมิ ขวดเลี้ยงพลูด่าง ไม้ประดับ ใส่ทรายธรรมดาในจานรองกระถางต้นไม้ให้ดูดซับน้ำ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างเข้มข้นจริงจังและต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักและเห็นความสำคัญในการแก้ไขปัญหาไข้เลือดออก จึงได้จัดทำ โครงการรณรงค์ควบคุม และป้องกันไข้เลือดออก หมู่ที่ 1 – 9 ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลปริก ประจำปีงบประมาณ 2568 ขึ้น โดยร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ให้ตระหนักถึงปัญหาโรคไข้เลือดออกและเสริมสร้างศักยภาพของชุมชนในการเฝ้าระวัง รวมถึงการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ป้องกันและควบคุมโรคให้มีความยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00
  1. เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติตามลำดับ     2. ประชุมชี้แจงผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อรับแนวทางการดำเนินงาน เตรียมความพร้อมในการขับเคลื่อนโครงการฯ 3. ติดต่อประสานงานหน่วยงาน / ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมดำเนินงาน   4. ดำเนินการโครงการ
      - กรณีมีผู้ป่วยไข้เลือดออกในพื้นที่ หลังจากได้รับรายงานภายใน 24 ชั่วโมง พ่นละอองฝอยและหมอกควันเพื่อกำจัดยุงลาย 1 รอบ รัศมี 100 เมตร ในบ้านและรอบบ้านผู้ป่วย และพ่นซ้ำอีก2ครั้ง ในวันที่ 3 และวันที่ 7
    *กรณีเกิดโรคขึ้นในพื้นที่รับผิดชอบของ อสม.คนใดให้ อสม.ที่รับผิดชอบสำรวจบ้านในระยะรัศมี 100 เมตรจากบ้านผู้ป่วยร่วมกับเจ้าบ้านสำรวจทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำและปรับปรุงสุขาภิบาลในบริเวณบ้านของตนเองทุกๆ 7วันติดต่อกัน 4 สัปดาห์ รวมทั้ง แจ้งเจ้าหน้าที่กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมและเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ เพื่อสอบสวนโรคและพ่นหมอกควันกำจัดตัวเต็มวัยของยุงลาย         - เฝ้าระวังและควบคุมทั้งทางกายภาพ ทางเคมี และทางชีวภาพ แบบมีส่วนร่วม กับรพ.สต.ในเขตพื้นที่ การจัดกิจกรรมเพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออก (พ่นทำลายยุงตัวแก่ประจำปี (2 ครั้ง/ปี) ก่อนเปิดภาคเรียน ในสถานศึกษาในเขตพื้นที่)
    1. สรุปผลการดำเนินโครงการฯ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามารถควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายได้ครอบคลุม 90%
  2. สามารถลดอัตราผู้ป่วยด้วยไข้เลือดออกได้มากขึ้น
  3. ประชาชนมีความตระหนักและสามารถควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ก.พ. 2568 13:13 น.