กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก หมู่ที่ 10 - หมู่ที่ 11 ประจำปีงบประมาณ 2568
รหัสโครงการ L5248-68-01-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนเสม็ด
วันที่อนุมัติ 18 กุมภาพันธ์ 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 18 กุมภาพันธ์ 2568 - 31 สิงหาคม 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2568
งบประมาณ 73,195.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางศิริสุข ชูเย็น
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.694,100.473place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออก ยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย และยังมีแนวโน้มว่าเป็นปัญหาในอนาคต เนื่องจากความรุนแรงของโรคแปรผันตรงต่ออัตราการตาย และการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกส่งผลต่อสุขภาพผู้ป่วย ครอบครัว ชุมชนและสังคม ปัจจุบันโรคไข้เลือดออกสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งปี แต่จะมีการระบาดมากช่วงหน้าฝน โดยธรรมชาติของโรคไข้เลือดออกจะมีการระบาดปีเว้นปีหรือระบาดปีเว้น 2 ปี แต่ปัจจุบัน พบมีการะบาดทุกปี การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกจะสำเร็จได้นั้น ต้องอาศัยความร่วมมือบูรณาการจากประชาชนในชุมชนและภาคีเครือข่ายสุขภาพทุกภาคส่วน เพื่อร่วมกันป้องกันควบคุมและเฝ้าระวังโรคอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จากการศึกษา สาเหตุที่สำคัญของการดำเนินการเฝ้าระวังและป้องกันโรคไข้เลือดออกไม่ประสบ ความสำเร็จ คือ ประชาชนขาดความตระหนัก และขาดความเอาใจใส่ ในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลายอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
หากปัญหาดังกล่าวข้างต้นได้รับการแก้ไข เร่งสร้างความตระหนักในการป้องกันโรค และสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการป้องกันโรคในชุมชนอย่างเหมาะสม จะทำให้อัตราป่วยด้วยโรคติดต่อและผลกระทบด้านสุขภาพต่อ ประชาชนในชุมชนลดลง ประชาชนในชุมชนสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข มีสุขภาวะที่ดี โรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตำบลควนเสม็ดได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาโรคติดต่อและปัจจัยเสี่ยงของภัยสุขภาพดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ประจำปีงบประมาณ 2568 ขึ้น เพื่อดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อ รวมถึงการสร้างเกราะป้องกันและรณรงค์ให้เกิดจิตสำนึกของชุมชนให้มีส่วนร่วมในการสร้างสุขภาพที่ดี ลดอัตราป่วยด้วยโรคติดต่อและภัยสุขภาพในชุมชนและการมีสุขภาพดีถ้วนหน้าอย่างยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยและอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน

ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ไม่น้อยกว่าร้อยละ 1๕ ของค่ามัธยฐานย้อนหลัง ๕ ปี

2 เพื่อสร้างความตระหนักและการมีส่วนร่วมในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกให้กับประชาชนในชุมชน

ค่า House Index (HI) < 10

3 เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.) และผู้นำชุมชน ผู้เกี่ยวข้องมีความรู้ความเข้าใจป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง และสามารถนำไปถ่ายทอดให้กับประชาชนในพื้นที่ได้

อาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.) และผู้นำชุมชน ผู้เกี่ยวข้องและประชาชน เข้าร่วมโครงการ
คิดเป็นร้อยละ 100

4 เพื่อให้ประชาชนทุกครัวเรือนร่วมมือในการควบคุม ป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง

ประชาชนทุกครัวเรือนร่วมมือในการควบคุม ป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยและอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อสร้างความตระหนักและการมีส่วนร่วมในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกให้กับประชาชนในชุมชน

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.) และผู้นำชุมชน ผู้เกี่ยวข้องมีความรู้ความเข้าใจป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง และสามารถนำไปถ่ายทอดให้กับประชาชนในพื้นที่ได้

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 4 : เพื่อให้ประชาชนทุกครัวเรือนร่วมมือในการควบคุม ป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง

รวม 0 0.00 0 0.00

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

1 ประชุมชี้แจงกลุ่มเป้าหมาย ผู้เกี่ยวข้องเพื่อรับแนวทางการดำเนินงาน 2.กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) และผู้นำชุมชน,

ผู้เกี่ยวข้องและประชาชนทั่วไป 3. ประชาสัมพันธ์วัน Big Cleaning Day ร่วมกับอสม. ผู้นำชุมชน เพื่อให้ชุมชนรับทราบและเตรียมพื้นที่ 4. ลงพื้นที่ Big Cleaning Day ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ
- เดินขบวนรณรงค์พร้อมด้วย ผู้นำชุมชน, ทีมSRRT เขตอบต. กลุ่มประชาชนทั่วไป
- แกนนำประจำหมู่บ้าน, ทีม SRRT เขต อบต., กลุ่มปะชาชนทั่วไป ร่วมกันสำรวจ กำจัดลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้านทั้ง 2 หมู่บ้าน
5. สำรวจลูกน้ำยุงลายทุกวันศุกร์ โดยแกนนำอสม. 6. ลงพื้นที่ Big Cleaning Day ชุมชนพื้นที่ระบาด
7. กรณีพบผู้ป่วยในเขตรับผิดชอบลงพื้นที่ ควบคุมไข้เลือดออก ภายใน 1 วัน พร้อมลงสอบสวนโรค
8. สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในบ้านผู้ป่วย และรอบบ้าน รัศมี 100 เมตร ทุก 7 วันเมื่อพบผู้ป่วยไข้เลือดออกในหมู่บ้าน ตั้งแต่ 1 รายขึ้นไปให้ติดตามและ ประเมินผลการดำเนินงานควบคุมโรคจนกว่า ค่า HI มีค่าเป็นศูนย์

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.จำนวนผู้ป่วยและอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน
2 ประชาชนในพื้นที่มีความตระหนักและมีส่วนร่วมในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน 3.ประชาชนทุกครัวเรือนร่วมมือในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง 4. อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) และผู้นำชุมชน, ผู้เกี่ยวข้องมีความรู้ความเข้าใจป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง และสามารถนำไปถ่ายทอดให้กับประชาชนในพื้นที่ได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ก.พ. 2568 13:25 น.