กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างเสริมสุขภาพในวัยกลางคนและวัยผู้สูงอายุบ้านรำแดง
รหัสโครงการ 60-L5269-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลรำแดง
วันที่อนุมัติ 29 กันยายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 มกราคม 2561 - 21 มกราคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 มกราคม 2561
งบประมาณ 9,040.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลรำแดง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลรำแดง อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.29,100.486place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 10 ม.ค. 2561 22 ม.ค. 2561 9,040.00
รวมงบประมาณ 9,040.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในด้านต่างๆที่มีความทันสมัยสะดวกสบายมากขึ้นทำให้วิถีชีวิตของคนในปัจจุบันเปลี่ยนไป ประชาชนมีการออกกำลังกายน้อยลง ส่งผลให้ร่างกายอ่อนแอและปัจจุบันนี้ปัญหาโรคไม่ติดต่อได้เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ จากรายงานประจำปี 2559 (Annual Report 2016 NCD) สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรคของกระทรวงสาธารณสุข พบว่า โรคที่เป็นปัญหาในชุมชน 5 อันดับแรกในกลุ่มโรคไม่ติดต่อ ได้แก่ โรคหัวใจขาดเลือด โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือดสมอง และพบว่าจำนวนครั้งของการนอนโรงพยาบาลและอัตราผู้ป่วยในด้วยโรคไม่ติดต่อดังกล่าว ปี พ.ศ.2550 - 2558 มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง (กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงานสำนักโรคไม่ติดต่อ 2559). จากรายงานประจำปี 2559สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์และจากการศึกษาของมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย พบว่า ผู้สูงอายุเจ็บป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 31.7 โรคเบาหวานร้อยละ 13.3 โรคหัวใจร้อยละ 7.0 โรคหลอดเลือดในสมองตีบร้อยละ 1.6 อัมพาต/อัมพฤกษ์ ร้อยละ 2.5 และโรคมะเร็งร้อยละ 0.5ผู้สูงอายุที่มีภาวะทุพพลภาพ ประมาณร้อยละ15 ของผู้สูงอายุ ที่พบส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มวัยแรงงานและกลุ่มผู้สูงอายุ (ปราโมทย์ ประสาทกุล 2559). สถานการณ์ ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2558. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) จากการสอบถามพบว่าขาดการออกกำลังกายและมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารไม่ถูกต้อง ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพของคนในชุมชน ซึ่งถ้าประชาชนได้บริโภคอาหารอย่างถูกสุขลักษณะและมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอก็จะสามารถลดปัญหาดังกล่าวลงได้ ประกอบกับนโยบายขององค์การบริหารส่วนตำบลรำแดงที่มีความมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมสนับสนุนและดำเนินการในด้านสุขภาพให้กับประชาชนมีสุขภาพกายและสุขภาพใจดีให้มีความเป็นอยู่อย่างมีความสุขทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม อารมณ์ และสติปัญญาโดยต้องการให้ประชาชนสามารถดูแลและสร้างภูมิคุ้มกันให้กับสุขภาพตนเองได้ด้วยการออกกำลังกายสร้างสุขภาพเพื่อให้มีสุขภาพพลานามัยดีซึ่งจะเป็นภูมิคุ้มกันโรคได้เป็นอย่างดีอีกทั้งยังสามารถใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์อีกทางหนึ่งด้วย จากการศึกษาสถานการณ์สุขภาพของประชากรชุมชนบ้านป่าขวาง หมู่ที่ 7 ตำบลรำแดง อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา ประจำปี 2560 โดยนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 4 รุ่นที่ 49 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา ฝึกปฏิบัติงานรายวิชาการพยาบาลครอบครัวและชุมชน 2 พบว่า ประชากรวัยกลางคนจนถึงวัยผู้สูงอายุไม่ได้ออกกำลังกาย สูงถึงร้อยละ 76.27 รองลงมาคือ การกินอาหารรสจัด ( หวาน มัน เค็ม เผ็ด ) ร้อยละ 44.07 และสูบบุหรี่เป็นประจำ (สูบทุกวัน) ร้อยละ 21.19 จากสภาพปัญหาดังกล่าวจึงได้นำประเด็นปัญหาดังกล่าวไปจัดเวทีประชาคมหมู่บ้าน เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์และจัดลำดับความสำคัญของปัญหา ซึ่งปัญหาที่พบมากที่สุดคือ ปัญหาการขาดการออกกำลังกาย อันเป็นปัจจัยสำคัญที่อาจส่งผลให้เกิดโรคไม่ติดต่อ ได้แก่ โรคหัวใจขาดเลือด โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานและโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการของชุมชนคือ ความต้องการที่จะแก้ไขปัญหาด้านการออกกำลังกายนอกจากนี้จากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ส่วนใหญ่ไม่ได้ออกกำลังกาย เนื่องจากให้เหตุผลว่า การเดินไปเดินมาของตนเองเป็นการออกกำลังกาย การทำงานของตนเองเป็นการออกกำลังกายและยังพบว่าบางกลุ่มให้เหตุผลว่าการออกกำลังกายทำให้ตนเองปวดเมื่อย เมื่อวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาร่วมกับประชาชนในหมู่บ้าน พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ยังมีความเข้าใจในความหมายของการออกกำลังกายไม่ถูกต้อง ยังไม่เห็นถึงความสำคัญของกิจกรรมการออกกำลังกาย ซึ่งหากประชาชนยังขาดความเข้าใจในเรื่องของการออกกำลังกายและยังไม่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดังกล่าวจะส่งผลให้เกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ ตามมา นอกจากนี้ยังสร้างภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาและก่อให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจตามมา จากผลกระทบและสภาพปัญหาสุขภาพการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อของประชากรในชุมชนป่าขวาง หมู่ที่ 7 ตำบลรำแดง อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา เจ็บป่วยเป็นอับดับหนึ่ง คือโรคความดันโลหิตสูง รองลงมาคือโรคเบาหวานและโรคไขมันในหลอดเลือด ประชากรชุมชนบ้านป่าขวาง ร่วมกับ องค์การบริหารส่วนตำบลรำแดง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลรำแดงและนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 4 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา จึงร่วมกันจัดทำโครงการสร้างเสริมสุขภาวะของคนในชุมชนบ้านป่าขวาง ภายใต้กิจกรรมย่อยของโครงการ “เสริมสร้างสุขภาวะ จิตใจสดใส ร่างกายแข็งแรง ชุมชนป่าขวางห่างไกลโรค” เพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของปัญหา โดยการจัดกิจกรรมให้ประชาชนได้ตระหนักถึงการออกกำลังกาย เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนชุมชนบ้านป่าขวาง หมู่ที่ 7 ตำบลรำแดง อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลาได้ให้ความสำคัญในการออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างสุขภาพของตนเอง ครอบครัวและคนในชุมชน ซึ่งสามารถช่วยป้องกันโรคเรื้อรังชนิดต่างๆ และภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่ตามมาได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เกิดนโยบายสาธารณะเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุมีการออกกำลังกายมากขึ้น

50.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ขั้นเตรียม 1.1 ลงชุมชนเพื่อศึกษาปัญหาของชุมชน 1.2 จัดทำประชาคมหมู่บ้าน โดยคณะกรรมการหมู่บ้านและอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชน เพื่อคัดเลือกปัญหาที่ต้องการ 1.3 แต่งตั้งคณะกรรมการโครงการเพื่อเป็นตัวแทนติดต่อประสานงาน ระหว่างนักศึกษาและชุมชน 1.4 ประชุมปรึกษาหารือกับคณะกรรมการเพื่อชี้แจงละร่วมวางแผนการดำเนินกิจการโครงการร่วมกัน กำหนดแนวทางในการปฏิบัติงาน 1.5 ประสานงานโครงการกับหน่วยต่างๆ 1.6 เขียนโครงการและเสนอขออนุมัติจัดทำโครงการ 1.7 จัดเตรียมอุปกรณ์และสถานที่ในการจัดทำโครงการ ¬ 1.8 ประชาสัมพันธ์โครงการโดยการบอกกล่าวผู้นำชุมชน ส่งหนังสือเชิญและติดป้ายประกาศ 1.9 จัดเตรียมสถานที่และอุปกรณ์ในการจัดเตรียมโครงการ 2. ขั้นดำเนินงาน 2.1 ลงทะเบียน 2.2 พิธีเปิดโครงการ 2.3 จัดกิจกรรมโครงการสร้างเสริมสุขภาพในวัยกลางคนและวัยผู้สูงอายุบ้านรำแดง กิจกรรมที่ 1 ชุมชนป่าขวาง ว่างๆมาขยับกันไหม ประกอบด้วยกิจกรรม ดังต่อไปนี้ 1.1 การออกกำลังกายแบบผสมผสานที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมและวิถีชุมชนเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะวัยกลางคนและวัยผู้สูงอายุ ได้แก่ รูปแบบการออกกำลังกายแบบรำไทยประยุกต์ มณีเวช โยคะ ร่วมกับ SKT (สมาธิบำบัด) ระหว่างวันที่ 8 -16 มกราคม 2561 1.2 การคัดกรองภาวะสุขภาพของวัยกลางคนและวัยผู้สูงอายุ ประกอบด้วย การคัดกรองสุขภาพเพื่อป้องกันโรคเรื้อรัง โดยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง และวัดความดันโลหิตสูง เป็นต้น (ประเมินก่อนและหลังการดำเนินกิจกรรม) กิจกรรมที่ 2มหกรรมสุขภาพปราบ NCD ของชาวป่าขวาง ในวันที่ 16 มกราคม 2561 ประกอบด้วยกิจกรรม ดังต่อไปนี้ - การลงทะเบียนและพิธีเปิด - กิจกรรมคัดกรองภาวะสุขภาพโรคเรื้อรัง โดยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง และวัดความดันโลหิตสูงพร้อมให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวที่เหมาะสม
- กิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมเสี่ยงและการป้องกันที่เหมาะสมจากการแสดงบทบาทสมมตติ ในประเด็นเรื่องการปฏิบัติตัวในชีวิตประจำวัน เช่น การออกกำลังกาย การรับประทานอาหาร การสูบบุหรี่ - กิจกรรม ช็อปเป็นเย็นอุรา โดยให้ผู้เข้าร่วมงานแข่งขันกันเลือกซื้ออาหารที่เหมาะสมกับโรค เพื่อเป็นการสร้างเสริมความรู้ในการเลือกซื้ออาหารและสร้างเสริมสุขภาพ - กิจกรรมนันทนาการ ร้องเล่น เต้นเฮฮา เช่น การกาละเล่นพื้นบ้าน กินวิบาก วิ่งซุปเปอร์แมน เป็นต้น เพื่อส่งเสริมความสนุกสนานเพลิดเพลิน - มอบของรางวัล,กล่าวปิดพิธีและร่วมกันออกกำลังกาย 3. ขั้นสรุปและประเมินผล 3.1 ประเมินการดำเนินการของโครงการเป็นระยะ ๆ 3.2 ประเมินโครงการตามตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ 3.3 สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการและจัดทำรายงานสรุปโครงการ ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลรำแดง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชากรกลุ่มเป้าหมายมีความรู้และความตระหนักถึงประโยชน์ของการออกกำลังกาย และสามารถออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องและสามารถเผยแพร่แก่บุคคลอื่นได้
  2. ประชาการกลุ่มเป้าหมายรู้สึกผ่อนคลายและมีสุขภาพดี
  3. สถาบันครอบครัวและชุมชนมีความเข้มแข็งและมีคุณภาพชีวิตที่ดี
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 ม.ค. 2561 15:05 น.