กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสถานีสุขภาพดิจิทัล Digital Health Station บ้านท่าดี-นาเกาะ
รหัสโครงการ 68 – L8287 – 2 -7
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ คณะกรรมการหมู่บ้านท่าดี
วันที่อนุมัติ 18 กุมภาพันธ์ 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2568
งบประมาณ 10,930.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายประยูร หะยีดามัน
พี่เลี้ยงโครงการ คลินิกเวช ศูนย์ 1
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเทพา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.82,100.94place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ม.ค. 2568 30 ก.ย. 2568 10,930.00
รวมงบประมาณ 10,930.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 65 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 113 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 189 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 119 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 2 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 98 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 11 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 32 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ยังคงเป็นปัญหาสำคัญระดับโลก และเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ของการเสียชีวิตของคนไทย โดยเขตสุขภาพที่ 12 พบผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจ ปี 2568 กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายให้ทุกจังหวัดจัดตั้งสถานีสุขภาพ (Health Station) ในชุมชน บูรณาการระบบบริการที่เชื่อมโยงโดยใช้กลไก 3 หมอ เพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงความรู้ในการดูแลสุขภาพ และสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพเบื้องต้นได้สะดวกและรวดเร็ว โดยมีอสม.เป็นหมอคนที่ 1 เข้ามามีส่วนร่วมดูแลคนในชุมชน คัดกรองสุขภาพเบื้องต้น อาทิ ชั่งน้ำหนัก วัดความดัน เจาะน้ำตาลในเลือด โดยเริ่มแรก อสม.จะเป็นผู้ให้บริการและลงบันทึกผลการตรวจสุขภาพผ่านแอพ Smart อสม. ซึ่งข้อมูลจะส่งต่อไปยังหมอคนที่ 2 ทันที โดยมีเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในหน่วยบริการปฐมภูมิจัดการข้อมูลผ่านระบบรายงาน หากพบว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงจะนำเข้าสู่กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในชุมชน โดยทำงานร่วมกับหน่วยบริการปฐมภูมิ สำหรับกลุ่มที่สงสัยป่วยจะมีการกำกับติดตาม และส่งต่อแพทย์เพื่อเข้ารับการวินิจฉัยโดยเร็ว เมื่อประชาชนได้ใช้บริการเป็นประจำก็จะเริ่มเรียนรู้และเข้าใจ จนสามารถตรวจสุขภาพตัวเองได้         จากข้อมูลคลินิกเวชปฏิบัติครอบครัวศูนย์ 1 โรงพยาบาลเทพา ในปี 2567 ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป ที่เป็นกลุ่มเป้าได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 2,474 คน ผลการคัดกรอง ปกติ 2,068 คน ร้อยละ 83.6 เสี่ยง 282 คน ร้อยละ 11.4 สงสัยป่วย 110 คน ร้อยละ 4.45 คน และกลุ่มเป้าได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน จำนวน 3,037 คน ผลการคัดกรอง ปกติ 2,532 คน ร้อยละ 83.4 เสี่ยง 467 คน ร้อยละ 15.8 สงสัยป่วย 33 คน ร้อยละ 1.1 คนซึ่งกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยมีค่อนข้างสูงมาก และในปัจจุบันพบว่ากลุ่มเสี่ยงที่ขาดการติดตามดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องพบว่ากลายเป็นโรคสูงร่วมกับมีภาวะแทรกซ้อน ชุมชนบ้านท่าดี-นาเกาะได้ตระหนักว่าสุขภาพอนามัยของประชาชนเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาหมู่บ้าน จัดทำโครงการสถานีสุขภาพดิจิทัล Digital Health Station บ้านท่าดี-นาเกาะ เพื่อให้บริการตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นโดยมีอสม.และเฝ้าระวังสุขภาพของประชาชนในชุมชน ณ สถานีสุขภาพชุมชน โดยมีเจ้าหน้าที่คลินิกเวชปฏิบัติครอบครัวศูนย์1เป็นพี่เลี้ยงสนับสนุนองค์ความรู้และกำกับติดตามในการให้บริการแก่ประชาชนในพื้นที่เพื่อป้องกันโรค และสร้างเสริมสุขภาพให้แก่ประชาชนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 698 10,930.00 0 0.00
1 ม.ค. 68 จัดหาสถานที่ตั้งสถานีสุขภาพดิจิทัล Digital Health Station หมู่ที่ 4 บ้านท่าดี-นาเกาะ ตำบลเทพา 5 0.00 -
1 ก.พ. 68 - 31 มี.ค. 68 จัดหาวัสดุอุปกรณ์ จัดหาชุดเครื่องมือในการใช้บริการในจุดบริการ Health Station check 629 7,630.00 -
25 ก.พ. 68 ประชุมคณะทำงาน และร่วมจัดเตรียมสถานที่ เครื่องมือ และอุปกรณ์พื้นฐาน ที่จำเป็นต้องใช้ในการดำเนินงาน 5 450.00 -
1 - 15 มี.ค. 68 กิจกรรมส่งเสริมความรู้ อสม. ให้สามารถใช้อุปกรณ์ การตรวจคัดกรองและใช้ Application ได้ถูกต้อง เพื่อเสริม -สร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพลดการป่วยจาก โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 16 750.00 -
15 - 30 มี.ค. 68 ให้บริการแก่ประชาชนในพื้นที่ คัดกรองเบื้องต้น ประกอบด้วย ดัชนีมวลกาย, รอบเอว และวัดระดับความดันโลหิต คัดกรองปัจจัยเสี่ยง การสูบบุหรี่, การดื่มสุรา และประเมินสุขภาพจิต ร่วมถึงการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด 0 0.00 -
1 พ.ค. 68 - 30 ส.ค. 68 จัดกิจกรรมให้ความรู้และส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคแก่ประชาชนที่มาร่วมกิจกรรมสถานีสุขภาพชุมชน 3 ฐาน 43 2,100.00 -
30 ก.ย. 68 สรุปผลการดำเนินงานโครงการ ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเทพา 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนทุกกลุ่มวัยในพื้นที่เข้าถึงบริการตรวจสุขภาพได้มากขึ้น สะดวกยิ่งขึ้น 2.ประชาชนมีความพึงพอใจในการใช้บริการจุด สถานีสุขภาพ 3.ประชาชนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ ลดพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคไม่ติดต่อ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ก.พ. 2568 13:41 น.