โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การกำจัดเหา ประจำปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การกำจัดเหา ประจำปี 2568 |
รหัสโครงการ | L5248-68-02-03 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงเรียนบ้านหัวถนน |
วันที่อนุมัติ | 18 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 18 กุมภาพันธ์ 2568 - 31 สิงหาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 สิงหาคม 2568 |
งบประมาณ | 11,255.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางณัฏฐนิช เลาะปนสา |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.694,100.473place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มวัยทำงาน | 12 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
เหาเป็นปรสิตภายนอก (ectoparasite) ของคน ดูดกินเลือดเป็นอาหาร การอาศัยอยู่ของเหาทำให้มีการสูญเสียเลือด โดยผู้ที่เป็นเหาจะเกิดอาการคันเนื่องจากโปรตีนในน้ำลายของเหา การเกาทำให้ผิวหนังอักเสบติดเชื้อได้ง่าย ภาวะที่คนมีเหาอาศัยอยู่เรียกว่า “Pediculosis” โดยรายที่เป็นเรื้อรังการเกาอาจทำให้ผิวหนังหยาบกร้านและมีสีคล้ำ เรียกว่า Vagabond‘s disease ในประเทศไทยโรคเหาเป็นโรคที่พบกันบ่อยมากในเด็กนักเรียนระดับก่อนประถมศึกษาและประถมศึกษา โดยเฉพาะนักเรียนหญิง เกิดจากการไม่รักษาความสะอาดของร่างกาย เครื่องนอน เป็นโรคที่น่ารังเกียจสำหรับคนทั่วไป และยังทำให้สุขภาพไม่ดี ก่อให้เกิดความรำคาญกับผู้ที่เป็น เนื่องจากมีอาการคันศีรษะ ด้วยเหตุนี้ โรงเรียนบ้านหัวถนนได้จัดทำกิจกรรมกำจัดเหาในเด็กวัยเรียน โดยขอความร่วมมือจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหัวถนน เพื่อดำเนินกิจกรรมและแก้ไขปัญหาดังกล่าวร่วมกัน พร้อมทั้งให้ความรู้เรื่องเหาและวิธีป้องกันกำจัดเหาที่ถูกต้องแก่นักเรียนและผู้ที่เป็นเหาเพื่อให้สามารถดูแลรักษาความสะอาดด้วยตนเองได้
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อลดจำนวนการเป็นเหาในนักเรียนชั้นอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหัวถนน ลดจำนวนการเป็นเหาในนักเรียนชั้นอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหัวถนน |
||
2 | เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเหาในนักเรียนชั้นอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียน บ้านหัวถนน ป้องกันการแพร่กระจายของเหาในนักเรียนชั้นอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียน บ้านหัวถนน |
||
3 | เพื่อส่งเสริมสุขอนามัยและการดูแลร่างกายของชั้นอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียน บ้านหัวถนน ส่งเสริมสุขอนามัยและการดูแลร่างกายของชั้นอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียน บ้านหัวถนน |
||
4 | เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการกำจัดเหาให้แก่นักเรียนชั้นอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 คณะครูและบุคลากร พร้อมทั้งผู้ปกครอง โรงเรียนบ้านหัวถนน สร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการกำจัดเหาให้แก่นักเรียนชั้นอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 คณะครูและบุคลากร พร้อมทั้งผู้ปกครอง โรงเรียนบ้านหัวถนน |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 |
6.1 ขั้นตอนการดำเนินการ
6.1.1 ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อเสนอโครงการ
6.1.2 เสนอโครงการเพื่ออนุมัติ
6.1.3 ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานตามโครงการ
6.1.4 ปฏิบัติงานตามโครงการ
ดำเนินการกิจกรรมดังนี้
1. สำรวจและประเมินสถานการณ์
- การสำรวจห้องเรียนที่มีปัญหาเหา
- เก็บข้อมูลจำนวนคนเป็นเหาในกลุ่มประชากรเป้าหมาย
2. การจัดเตรียมอุปกรณ์และวัสดุ
- แชมพูหรือโลชั่นกำจัดเหา
- หวีเหา
- สเปรย์หรือผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อ
- อุปกรณ์ทำความสะอาด เช่น ถุงมือ หน้ากากอนามัย
- ผ้าขนหนู
- ขันน้ำ
- ถังน้ำ
3. การอบรมวิธีการกำจัดเหา
- จัดฝึกแบรมให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ครู ผู้ปกครอง
- สอนวิธีตรวจสอบหรือตรวจเหา รวมถึงวิธีการใช้ผลิตภัณฑ์
4. การดำเนินการกำจัดเหา
- การทำความสะอาดเส้นผมและหนังศรีษะ
- การใช้หวีเหาเพื่อดึงเหาและไข่เหาออกจากเส้นผม
- การใช้แชมพูหรือโลชั่นที่มีประสิทธิภาพในการฆ่าเหา
6.1.5 ประเมินผลและสรุปผลโครงการ
6.1.6 รายงานผลโครงการไปยังองค์การบริหารส่วนตำบลปริก
- นักเรียนนำความรู้ด้านสุขภาพที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
- นักเรียนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง และสร้างความสามัคคีเป็นหมู่คณะ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ก.พ. 2568 14:19 น.