กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus สู่ 2,500 วัน เด็กแม่ลานสุขภาพดี
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแม่ลาน
วันที่อนุมัติ 19 กุมภาพันธ์ 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 31,520.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนูรีนา นิเง๊าะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแม่ลาน อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.647,101.231place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มวัยทำงาน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

"1,000 วันแรกของชีวิต" ถือเป็นต้นกำเนิดของการสร้างรากฐานการมีภาวะสุขภาพที่ดีตลอดช่วงชีวิต โดยเริ่มตั้งแต่ปฏิสนธิ์ในครรภ์มารดา จนถึงอายุ 2 ปี ซึ่งนับว่าเป็นโอกาสทองของการสร้างทุนมนุษย์ที่สำคัญ และคุ้มค่ากับการลงทุนมากที่สุดที่สุด เนื่องจากเป็นช่วงที่สมองมีการพัฒนาสูงสุด ทั้งการสร้างเซลล์สมองและการเชื่อมโยงเซลล์สมองกับโครงข่ายเส้นใยประสาททำให้เด็กมีความสามสามารถในการเรียนรู้จดจำและมีการเจริญเติบโตด้านร่างกายอย่างรวดเร็ว ตำบลมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus สู่ 2,500 วัน แนวทางการดำเนินงานตำบลมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus สู่ 2,500 วัน กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมอนามัย ร่วมกับกับภาคีเครือข่าย ได้ขับเคลื่อนโครงการมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกของชีวิต ตั้งแต่ปี พเศ. 2550 มุ่งเน้นการส่งเสริมสุขาพของสตรีและเด็กปฐมวัยไทย โดยมีชุมชน ท้องถิ่น และภาคีเครือข่ายระดับพื้นที่ ร่วมลงทุนและเป็นเจ้าของการขับเคลื่อนงานผ่านกลไกและมาตรการ ที่มีอยู่ในพื้นที่ รวมถึงส่งเสริมให้เกิดกรรมสำคัญ กิน กอด เล่น เล่า นอน เฝ้าดูฟัน การพัฒนาคุณภาพ งานบริการสาธารณสุข ทั้งคลินิกฝากครรภ์ (ANC) และคลินิกเด็กสุขภาพดี (WCC) เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร และเด็กอายุ 0 - 2 ปี ทุกคน ได้รับบริการครบถ้วนและดูแลอย่างทั่วถึง โดยไม่ทอดทิ้งกลุ่มด้อยโอกาส และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับภาคีเครือข่ายภายใต้ การบูรณาการความร่วมมือกลุ่มเด็กปฐมวัย 6 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กระหรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษษย์ กระพรวงศึกษาธิการกระทรวงแรงงาน และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคม ในการร่วมขับเคลื่อน การดำเนินงานการ     จากข้อมูล โรงพยาบาลส่งเริมสุขภาพตำบลแม่ลาน ปี 2567 พบว่า หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์ ร้อยละ 87.50 หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์คุณภาพ ร้อยละ 87.50 หญิงหลังคลอดได้รับการดูแลครบ 3 ครั้ง ตามเกณฑ์ ร้อยละ 75.00 ภาวะภาวะโลหิตจางขณะตั้งครรภ์ ร้อยละ 30 เด็ก 0 - 5 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองพัฒนาการเด็ก ร้อยละ 100 (ข้อมูลจาก HDC ณ วันที่ 30 กันยายน 2567) ดังนั้นทางโรงพยาบาลส่มสริมสุขภาพตำบลแม่ลาน จึงได้จัดโครงการมห้ศจรรรย์ 1000 วัน PLUS สู่ 2500 วัน เพื่อส่งเสริมให้ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย พัฒนาการสมวัย สร้างความตระหนัก รู้ถึงความสำคัญของสุขภาพมารดาตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงเด็กอายุ 5 ปี รวมถึง เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีคุณภาพชีวิตที่ดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์แข็งแรงทั้งทางร่างกายและจิตใจ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

ร้อยละ 75 หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

2 เพื่อส่งเสริมหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง

ร้อยละ 75 หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง

3 เพื่อให้เด็ก 6 เดือน ถึง 1 ปี ได้รับการเจาะเลือด ตรวจภาวะโลหิตจาง

ร้อยละ 75 เด็ก 6 เดือน ถึง 1 ปี ได้รับการเจาะเลือด ตรวจภาวะโลหิตจาง

4 เพื่อให้เด็กปฐมวัยมีภาวะโภชนาการสูงดีสมส่วน

ร้อยละ 75 เด็กปฐมวัยมีภาวะโภชนาการสูงดีสมส่วน

5 เพื่อให้เด็ก 0-5 ปี มีพัฒนาการสมวัย

ร้อยละ 100 เด็กที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้าได้รับการส่งต่อ

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อเพิ่มจำนวนหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อส่งเสริมหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : เพื่อให้เด็ก 6 เดือน ถึง 1 ปี ได้รับการเจาะเลือด ตรวจภาวะโลหิตจาง

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 4 : เพื่อให้เด็กปฐมวัยมีภาวะโภชนาการสูงดีสมส่วน

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 5 : เพื่อให้เด็ก 0-5 ปี มีพัฒนาการสมวัย

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

1 ม.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 กิจกรรมที่ 1 0.00 21,000.00 -
1 ม.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 กิจกรรมที่ 2 0.00 10,520.00 -
1 ม.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 1. ติดตามและส่งเสริมนมสำหรับหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ทุกราย 2. ติดตามและส่งเสริมนมและไข่ไก่ สำหรับเด็ก 0-5 ปีที่มีภาวะซีด และเด็กที่ได้รับการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง พบโภชนาการไม่สมส่วน (น้ำหนักน้อย เตี้ย ผอม) 70.00 21,000.00 -
1 ม.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ตามหลักสูตรโรงเรียนพ่อแม่สำหรับผู้ปกครองเด็กที่ซีดและโภชนาการ (น้ำหนักน้อย เตี้ย ผอม) 70.00 10,520.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เกิดความร่วมมือผ่านภาคีเครือข่ายในการดำเนินงานตำบลมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus สู่ 2,500 วัน
  2. หญิงวัยเจริญพันธุ์มีความรู้เรื่องภาวะโภชนาการในระหว่างตั้งครรภ์และภาวะซีด พร้อมทั้งมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการวางแผนครอบครัวและเตรียมความพร้อมในการตั้งครรภ์ได้อย่างมีคุณภาพ
  3. เพื่อลดปัญหาซีดและเด็กน้ำหนักน้อย เตี้ย ผอม ในเด็ก 0-5 ปี
  4. ผู้ปกครองมีความรู้เรื่องโภชนาการเด็ก และมีทักษะในการใช้เครื่องมือ DSPM ตรวจพัฒนาการได้อย่างถูกต้อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ก.พ. 2568 14:41 น.