กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดโรคเรื้อรังเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ปีงบประมาณ 2568
รหัสโครงการ 68-L5246
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม. ตำบลท่าโพธิ์
วันที่อนุมัติ 19 กุมภาพันธ์ 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 18,850.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายวิชาญ เกตุแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.796,100.416place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

นโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม ในการพัฒนาประเทศด้านต่างๆ โดยเฉพาะด้านการส่งเสริมด้านสุขภาวะให้คนไทยมีสุขภาพแข็งแรงทั้งกายและใจสามารถดูแลตนเองได้โดยมุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาทุนสังคมและภูมิปัญญาชุมชนตลอดจนการมส่วนร่วมของพื้นที่ในระดับท้องถิ่น กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดเกณฑ์ชี้วัดความสำเร็จของการสร้างสุขภาวะให้คนไทยแข็งแรงส่วนหนึ่งนั้นโดยได้กำหนดตัวขี้วัดของโรคไม่ติดต่อได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ โดยกำหนดให้มีกิจกรรมการคัดกรอง ค้นหาผู้ป่วยในชุมชนและให้มีการลดละกิจกรรมเสี่ยงอันได้แก่ละเลิกการสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ลดอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารผักผลไม่เพิ่มขึ้น มีการออกกำลังกายเป็นประจำ ลดภาวะน้ำหนักเกิน การดำเนินงานให้ประสบความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน หรือการปรับพฤติกรรมด้วยหลัก 3 อ 2 ส จำเป็นจะต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องและการกำหนดยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมของพื้นที่ จากการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ในช่วงปี ๒๕๖๔ – ๒๕๖๖ ที่ผ่านมาพบว่ามีประชากรที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นทุกปีและได้มาการติดตามโดยการนัดตรวจน้ำตาลในเลือดที่ปลายนิ้วรวมทั้งวัดความดันโลหิตสูงซ้ำ อย่างต่อเนื่องเพื่อเฝ้าระวังการเป็นผู้ป่วยรายใหม่ในโรคโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และกลุ่มป่วยไม่มีภาวะแทรกซ้อน     ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลท่าโพธิ์ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเกี่ยวกับการดูแลตนเองเพื่อให้ห่างไกลโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดโรคเรื้อรังเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โดยเน้นกิจกรรมที่เป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง และผู้เข้าร่วมโครงการครั้งนี้ยังเป็นแกนนำในการรณรงค์ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงต่อไปในอนาคต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง

2 2. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมด้วยหลัก 3อ 2ส

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมด้วยหลัก 3อ 2ส

3 3. เพื่อลดการเกิดโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงในกลุ่มเสี่ยง

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายลดการเกิดโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงในกลุ่มเสี่ยง

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 1. กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : 2. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมด้วยหลัก 3อ 2ส

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : 3. เพื่อลดการเกิดโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงในกลุ่มเสี่ยง

รวม 0 0.00 0 0.00

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง/โรคเบาหวาน
  2. กลุ่มเสี่ยงมีความรู้ ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพเบื้องต้น/ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพอย่างเหมาะสม
  3. กลุ่มเสี่ยงมีความรู้ในการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง-เบาหวาน อย่างถูกต้องและสามารถให้คำแนะนำในการปฏิบัติตนและการรักษาได้อย่างเหมาะสม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ก.พ. 2568 16:12 น.