โครงการส่งเสริมโภชนาการ ในหญิงตั้งครรภ์และเด็กปฐมวัย
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมโภชนาการ ในหญิงตั้งครรภ์และเด็กปฐมวัย |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลบางกล่ำ |
วันที่อนุมัติ | 7 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2568 - 30 มิถุนายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 40,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวยุฑามาส วันดาว |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลท่าช้าง อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.04528215,100.3926905place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน | 100 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด | 60 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ภาวะโลหิตจางเป็นความผิดปกติทางระบบเลือดที่ส่งผลให้การสร้างเม็ดเลือดแดงน้อยลง เกิดจากหลายสาเหตุทั้งความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ ภาวะขาดสารอาหารและโรคติดเชื้อ โดยพบบ่อยที่สุดในหญิงตั้งครรภ์ สาเหตุสำคัญของภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ คือ การขาดสารอาหารจากธาตุเหล็กและกรดโฟลิก ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนของมารดาและทารก เช่น มารดาเสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอด ทารกเสี่ยงต่อคลอดก่อนกำหนด ทารกแรกคลอดมีน้ำหนักต่ำกว่า 2,500 กรัม หญิงตั้งครรภ์ที่่มีภาวะโลหิตจางอย่างรุนแรงจะมีโอกาสเสี่ยงต่อการตกเลือดในระหว่างคลอด และมีโอกาสติดเชื้อในระยะหลังคลอดสูง พัฒนาการไม่สมบูรณ์ และภาวะตายในครรภ์ ฯลฯ จากรายงานของงานอนามัยแม่และเด็ก พบว่าสาเหตุการตายของมารดา อันดับหนึ่ง คือ ภาวะตกเลือดหลังคลอด ซึ่งปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย ผลสำรวจภาวะโลหิตจางในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ พบว่ามีแนวโน้มสูงขึ้น กระทรวงสาธารณสุขจึงได้กำหนดให้มีการตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ทุกราย ให้ยาบำรุงเสริมธาตุเหล็กและให้ความรู้เรื่องการบริโภคอาหาร การดูแลและการส่งเสริมสุขภาพในหญิงตั้งครรภ์ โดยแนวปฏิบัตินี้ได้ถูกกำหนดให้มีการดำเนินงานในสถานบริการสาธารณสุขปฐมภูมิทุกแห่งทั่วประเทศ
จากการดำเนินงานอนามัยและเด็ก ของคลินิกชุมชนโคกเมา ปี 2565-2567 พบปัญหาภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ร้อยละ 17,18, 16 ตามลำดับ ซึ่งจะส่งผลต่อความปลอดภัยในการคลอดและความสมบูรณ์ของทารก และภาวะซีดในเด็ก 0-5 ปีตามมา ปัจจุบันการดำเนินงานส่งเสริมโภชนาการ เพื่อป้องกันภาวะซีดในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์และทารก
0-5 ปี เป็นแนวทางปฏิบัติที่มีการส่งเสริมให้หน่วยบริการปฐมภูมิมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ระยะก่อนคลอดถึงหลังคลอด และในเด็ก 0-5 ปี ดังนั้น คลินิกชุมชนโคกเมาจึงเห็นควรส่งเสริมโภชนาการในกลุ่มวัยนี้เพื่อให้มารดาคลอดปลอดภัยและเด็ก 0-5 ปีไม่มีภาวะซีด
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.เพื่อส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์มีโภชนาการที่ เหมาะสม 2. เพื่อเฝ้าระวังด้านโภชนาการในเด็ก 0-5 ปี
|
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 1.เพื่อส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์มีโภชนาการที่ เหมาะสม 2. เพื่อเฝ้าระวังด้านโภชนาการในเด็ก 0-5 ปี |
||||||
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | ||
ไม่ระบุวัตถุประสงค์ |
||||||
27 ก.พ. 68 | 1.ตรวจคัดกรองภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์และเด็ก 0-5 ปี 2.จัดทำทะเบียนกลุ่มเสี่ยงที่มีภาวะซีด 3.ให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดในคลินิกฝากครรภ์ และให้ความรู้ผู้ปกครองเด็กที่มีภาวะซีดในคลินิกวัคซีนประจำเดือน 4.ติดตามผลภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์และเด็ก 0-5 ปี | 0.00 | 0.00 | - |
หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้
- หญิงตั้งครรภ์ไม่มีภาวะซีดและคลอดปลอดภัย
- เด็ก 0-5 ปีมีภาวะโภชนาการที่เหมาะสม
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2568 09:48 น.