กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการแพทย์แผนไทยสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ
รหัสโครงการ 68 - L5194 - 2 - 07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมแพทย์แผนไทย
วันที่อนุมัติ 19 กุมภาพันธ์ 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 15 สิงหาคม 2568
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวจรรยา เพ็ญสุข
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะกอม อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.88,100.818place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล
    ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย เป็นการดูแลสุขภาพในชุมชนแบบพื้นบ้านดั้งเดิมที่อยู่คู่กับประเทศไทยมาตั้งแต่ก่อนสมัยกรุงสุโขทัย ซึ่งมีความหลากหลายและเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันไปตามแต่ละสังคม วัฒนธรรม กลุ่มชาติพันธุ์ และรูปแบบการรักษามีทั้งการใช้ยาสมุนไพร การนวด การผดุงครรภ์ ตลอดจนการรักษาทางจิตใจโดยใช้พิธีกรรมหรือคาถาต่างๆ ซึ่งสามารถตอบสนองต่อความต้องการทางด้านการรักษาสุขภาพ และความเจ็บป่วยของประชาชนได้เป็นอย่างดี แต่จากการพัฒนาในทุกด้านที่ยึดการพัฒนาตามระบบทุนนิยม ทำให้ชุมชนมีค่านิยมตามแนวทางของตะวันตกเป็นหลัก โดยเฉพาะด้านการจัดการสุขภาพที่เน้นการพึ่งพิงจากภายนอกเป็นส่วนใหญ่ สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้ภูมิปัญญาและองค์ความรู้การดูแลสุขภาพเดิมที่มีอยู่ในชุมชนไม่ได้รับการพัฒนาและถูกทอดทิ้งจากคนรุ่นใหม่ ขาดการสืบทอดและผู้รู้ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุซึ่งนับวันจะมีจำนวนลดลง ทำให้ชุมชนรับประโยชน์จากภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ทั้ง ๆ ที่ความรู้เหล่านี้สามารถช่วยดูแลรักษาความเจ็บป่วยให้กับชาวบ้านได้ อีกทั้งองค์ความรู้ทางการแพทย์พื้นบ้านไทย ทั้งที่เป็นตัวหมอพื้นบ้าน ตำรา พันธุ์พืชที่ใช้เป็นยา สมุนไพร วิธีการการรักษาโรค ตลอดจนสังคมวัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิต ฯลฯ มีความสำคัญและเป็นสิ่งล้ำค่าที่ควรจะเก็บรวบรวม อนุรักษ์ ฟื้นฟูภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านไทยให้อยู่คู่กับประเทศไทย เพื่อเป็นมรดกต่อลูกหลานในการสืบทอดองค์ความรู้
  ชมรมแพทย์แผนไทยจึงได้ให้ความสำคัญและได้ดำเนินโครงการที่เกี่ยวเนื่องกับการสืบทอด ฟื้นฟู อนุรักษ์ และพัฒนาภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย-การแพทย์พื้นบ้านมาอย่างต่อเนื่อง ได้ดำเนินการจัดตั้งฐานการเรียนรู้ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย-หมอพื้นบ้านขึ้น และมีการดำเนินกิจกรรมไปแล้วบางส่วน ในการนี้ เพื่อให้ฐานการเรียนรู้ฯ ที่ตั้งขึ้นมีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง และเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในชุมชนบ้านท่าแมงลักเห็นคุณค่าและความสำคัญของฐานการเรียนรู้ จึงได้จัดทำโครงการสืบสานภูมิปัญญาพืชสมุนไพรพื้นบ้าน เพื่อพัฒนาสู่ฐานการเรียนรู้ที่ดูแลสุขภาพของคนในชุมชนอย่างยั่งยืนขึ้น เพื่อสนับสนุนให้ฐานการเรียนรู้ฯ กลายเป็นศูนย์กลางในการรวบรวมองค์ความรู้ การสร้างกระบวนการเรียนรู้ การอนุรักษ์ การสืบทอด การฟื้นฟู และการพัฒนาภูมิปัญญาการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรตามตำราแพทย์แผนไทย-การแพทย์พื้นบ้านอย่างครบวงจร ซึ่งนอกจากจะเป็นแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียนที่สำคัญให้กับนักเรียน นักศึกษา และประชาชนที่สนใจอีกด้วย ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยเหล่านี้จ ะสามารถพัฒนาต่อยอด และเข้าไปเชื่อมต่อกับการแพทย์กระแสหลักในการดูแลรักษาสุขภาพกายและจิตของประชาชนในหมู่ที่ ๕บ้านท่าแมงลัก และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้มีความรู้เกี่ยวกับประโยชน์และสรรพคุณของพืชสมุนไพรพื้นบ้าน

ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับประโยชน์และสรรพคุณของพืชสมุนไพรพื้นบ้าน

2 2.เพื่อส่งเสริมให้มีการใช้พืชสมุนไพรในท้องถิ่นอย่างแพร่หลายเพิ่มขึ้น

ประชาชนในชุมชนใช้พืชสมุนไพรในท้องถิ่นเพิ่มขึ้น

3 3.เพื่อพัฒนาฐานการเรียนรู้แบบมีชีวิตสำหรับใช้ในการถ่ายทอดภูมิปัญญาเกี่ยวกับพืชสมุนไพรให้กับนักเรียน นักศึกษา ประชาชนที่สนใจ ตลอดจนให้บริการองค์ความรู้ทางด้านสมุนไพรแก่ประชาชนที่สนใจในพื้นที่

มีฐานการเรียนรู้แบบมีชีวิตสำหรับใช้ในการถ่ายทอดภูมิปัญญาเกี่ยวกับพืชสมุนไพรให้กับนักเรียน นักศึกษา ประชาชนที่สนใจ ตลอดจนให้บริการองค์ความรู้ทางด้านสมุนไพรแก่ประชาชนที่สนใจในพื้นที่

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 1.เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้มีความรู้เกี่ยวกับประโยชน์และสรรพคุณของพืชสมุนไพรพื้นบ้าน

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : 2.เพื่อส่งเสริมให้มีการใช้พืชสมุนไพรในท้องถิ่นอย่างแพร่หลายเพิ่มขึ้น

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : 3.เพื่อพัฒนาฐานการเรียนรู้แบบมีชีวิตสำหรับใช้ในการถ่ายทอดภูมิปัญญาเกี่ยวกับพืชสมุนไพรให้กับนักเรียน นักศึกษา ประชาชนที่สนใจ ตลอดจนให้บริการองค์ความรู้ทางด้านสมุนไพรแก่ประชาชนที่สนใจในพื้นที่

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

1 มิ.ย. 68 กำหนดรูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว 0.00 0.00 -
16 มิ.ย. 68 - การประชุมอบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดความรู้การใช้พืชสมุนไพรมาใช้ในการดูแลสุขภาพกับประชาชนทั่วไป -จัดอบรมรุ่นที่ 1 จำนวน 3๐ คน 30.00 3,000.00 -
23 มิ.ย. 68 การประชุมอบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดความรู้การใช้พืชสมุนไพรมาใช้ในการดูแลสุขภาพกับนักเรียน -จัดอบรมรุ่นที่ 2 จำนวน 3๐ คน 30.00 3,000.00 -
25 มิ.ย. 68 จัดกิจกรรมค่าจัดหาวัสดุการแพทย์แผนไทยประกอบฐานการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพสำหรับการทำยาสมุนไพรไว้ใช้เองในครัวเรือน 0.00 2,950.00 -
25 มิ.ย. 68 ค่าจัดทำหนังสือรวมพันธุ์พืชสมุนไพรที่ใช้ในการดูแลสุขภาพของคนในชุมชน 0.00 1,050.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 ประชาชน มีความรู้เกี่ยวกับประโยชน์และสรรพคุณของพืชสมุนไพรพื้นบ้าน 2 ประชาชนมีการใช้พืชสมุนไพรในท้องถิ่นอย่างแพร่หลายเพิ่มขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ก.พ. 2568 10:17 น.