โครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปากและสุขภาพอนามัย (กำจัดเหา) เด็กวัยเรียน
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปากและสุขภาพอนามัย (กำจัดเหา) เด็กวัยเรียน |
รหัสโครงการ | 68-L8404-01-7 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าจีน |
วันที่อนุมัติ | 27 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | - |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 8,298.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวดวงพร นิ่มนวล |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลน้ำน้อย อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.103980973,100.5269584place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 มี.ค. 2568 | 30 ก.ย. 2568 | 8,298.00 | |||
รวมงบประมาณ | 8,298.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ฟันและอวัยวะในช่องปากเป็นด่านแรกของระบบย่อยอาหาร และมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโต ในทุกด้านของเด็ก หากเด็กไม่มีฟันที่จะสามารถเคี้ยวอาหารได้ดีแล้ว ร่างกายก็จะได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโต และ พัฒนาการด้านร่างกายก็จะไม่เป็นไปตามวัย อีกทั้งยังส่งผลทางด้านจิตใจได้อีกด้วย เมื่อเกิดการเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากฟันผลกระทบที่เกิดขึ้นนอกจากส่งผลทางด้านการเจริญเติบโตทางร่างกายที่เห็นได้ชัดแล้ว การเรียนรู้ก็จะลดลงเนื่องจากถูกรบกวนด้วยการเจ็บป่วยนี้ และจากการสำรวจสภาวะช่องปากของเด็กนักเรียนประถมศึกษาตามระบบรายงานเฝ้าระวังและ ส่งเสริมทันตสุขภาพปีงบประมาณ 2566 - 2567 พบว่า เด็กนักเรียนมีสภาวะฟันแท้ผุเพิ่มขึ้นและคาดการณ์ว่ามีแนวโน้มของการมีสภาวะฟันแท้ผุเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ปัจจัยการมีสภาวะฟินแท้ผุเพิ่มขึ้นนี้ มาจากนักเรียนขาดความรู้ ทักษะในการดูแล สุภาพในช่องปาก และพฤติกรรมการดื่มน้ำอัดลม เครื่องดื่มรสหวาน ลูกอม ขนมกรุบกรอบ และอีกหนึ่งปัญหาในเด็กวันเรียนคือ การดูแลความสะอาดของร่างกายในเด็กวัยเรียนซึ่งเป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งความสะอาดบริเวณศีรษะ ซึ่งเหาจัดเป็นแมลงขนาดเล็กไม่มีปีก เป็นตัวเบียดเบียนกัดหนังศีรษะ และดูดเลือดเป็นอาหารโดยอาศัยบนศีรษะที่ไม่สะอาด เหามักจะระบาดและแพร่กระจายในกลุ่มนักเรียนก่อนประถมและประถมศึกษา ซึ่งอยู่ในช่วงอายุระหว่าง 4-14 ปี เหาเป็นโรคที่ก่อให้เกิดความรำคาญทำให้ขาดสมาธิในการเรียนและเป็นที่น่ารังเกียจของสังคมรวมทั้งก่อให้เกิดภาวะโลหิตจางได้ด้วย โดยมากนักเรียนที่เป็นเหามักเป็นผู้ที่มีสุขวิทยาส่วนบุคคลไม่ถูกต้อง เหาเป็นโรคที่รักษาได้ง่ายด้วยการดูแลรักษาความสะอาดของศีรษะอย่างสม่ำเสมอ แต่เนื่องจากเหาสามารถติดต่อกันได้ง่าย ทั้งระหว่าง นักเรียนด้วยกันและนักเรียนกับบุคคลในครอบครัว การแก้ปัญหาเพื่อตัดวงจรการระบาดของโรคเหาในโรงเรียน คือต้องกำจัดเหาและปฏิบัติตนเองอย่างถูกต้องจริงจัง เกี่ยวกับการรักษาความสะอาดของเส้นผมและหนังศีรษะ จากผลการดำเนินงานตรวจสุขภาพนักเรียนในปี 2567 พบว่านักเรียนหญิงเป็นเหาเกือบๆครึ่งหนึ่งของนักเรียนหญิงทั้งหมดในโรงเรียนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าจีน จึงเห็นความสำคัญในการดูแลสุขภาพช่องปาก รวมถึงสุขภาพอนามัยของนักเรียน โดนเฉพาะปัญหาเรื่องการกำจัดเหาเด็กวัยโรงเรียน และเป็นการส่งเสริมและให้สุขศึกษาแก่นักเรียน เพื่อ สุขอนามัยที่ดี จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปากและสุขภาพอนามัย(กำจัดเหา)เด็กวัยเรียน ขึ้น เพื่อมุ่งหวังให้นักเรียนกลุ่มเป้าหมายเห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพช่องปาก และสุขภาพอนามัยของตนเองให้ดีขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการแปรงฟันด้วยเม็ดสี ย้อมฟันกลุ่มเด็กวัยเรียน
|
||
2 | เพื่อให้กลุ่มวัยเรียน มีความรู้ในการดูแล ความสะอาดและการกำจัดเหา
|
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
1.นักเรียนสามารถแปรงฟันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้ แปรงฟันได้สะอาดทุกซี่ทุกด้าน
2.นักเรียนโรงเรียน มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษาความสะอาดร่างกายและศีรษะ และรู้จักการป้องกันการกำจัดเหา
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ก.พ. 2568 15:29 น.