โครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยด้วยจักรยานขาไถของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโคกหาร
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยด้วยจักรยานขาไถของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโคกหาร |
รหัสโครงการ | 68-L8404-03-03 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโคกหาร |
วันที่อนุมัติ | 27 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กุมภาพันธ์ 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 25,072.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายอัตกานต์ วัฒนธีรางกูร |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลน้ำน้อย อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.103980973,100.5269584place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 ก.พ. 2568 | 30 ก.ย. 2568 | 25,072.00 | |||
รวมงบประมาณ | 25,072.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ด้วยศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโคกหาร มีความประสงค์จะจัดทำโครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยด้วยจักรยานขาไถของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโคกหาร โดยขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลน้ำน้อยนั้น เนื่องจากการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ในเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียนมีความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงแรกเกิด -๕ ปีซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการ พัฒนาในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านร่างกายสติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม เด็กในวัยนี้ถ้าจะ ได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม มีการตอบสนองความต้องการ ขั้นพื้นฐาน และมีการส่งเสริมพัฒนาการที่ดีในแต่ละด้านก็จะทำให้เด็กนั้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต ซึ่งพัฒนาการเด็กเกิดจากการเปลี่ยนแปลงหลายด้านผสมผสานกันโดยพัฒนาการทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกายสติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม ล้วนมี ความสำคัญและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหมดการเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการ ด้านหนึ่งย่อมมีผลให้พัฒนาการอีกด้านหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปด้วย เช่น เด็กที่มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์มักเคลื่อนไหวคล่องแคล่ว สามารถช่วยเหลือ ตนเองได้ มีอารมณ์แจ่มใส่รู้จักควบคุมอารมณ์เข้ากับผู้อื่นได้ดี ดังนั้น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก บ้านโคกหาร จึงเห็นความสำคัญในการที่จะจัดโครงการในครั้งนี้ขึ้นเพื่อส่งเสริมพัฒนาในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม ตามที่กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น มีนโยบายในการส่งเสริมและสนับสนุนให้ศูนย์เด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีพัฒนาการทางด้านร่างกายที่แข็งแรง และจิตใจ อารมณ์ มีความเบิกบาน มีความกล้าหาญ มีวินัย มีน้ำใจนักกีฬา รู้จักแพ้รู้จักชนะ เคารพกฎระเบียบ กติกาด้วยกิจกรรมจักรยานขาไถ Balance Bike เพราะช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็กได้ทุกด้าน ทั้งการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กมัดใหญ่ให้แข็งแรง เป็นการฝึกการทรงตัว รวมทั้งช่วยฝึกสายตา การแยกแยะสี การประเมินระยะทาง การใช้มือและแขนเพื่อบังคับทิศทาง และการใช้กล้ามเนื้อขาที่ออกแรงเดิน เพื่อให้เด็กปฐมวัยเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ - จิตใจ ด้านสังคม และสติปัญญาให้เหมาะสมกับช่วงวัย ตามเกณฑ์การเฝ้าระวัง และส่งเสริม พัฒนาการ เด็กปฐมวัย (DSPM)
|
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ - จิตใจ ด้านสังคม และสติปัญญาให้เหมาะสมกับช่วงวัย ตามเกณฑ์การเฝ้าระวัง และส่งเสริม พัฒนาการ เด็กปฐมวัย (DSPM) |
||||||
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 |
หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้
- เด็กปฐมวัย มีพัฒนาการที่สมวัยทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ - จิตใจ สังคม และสติปัญญาเหมาะสม กับ ช่วงวัยตามเกณฑ์การเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) ร้อยละ 90%
- เด็กปฐมวัยมีสมรรถนะ ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหวตามเกณฑ์ (DSPM) ร้อยละ 90% มีสุขภาพแข็งแรงเติบโตสมวัย มีวินัยและมีน้ำใจนักกีฬา
- เด็กปฐมวัยมีความรู้ ความเข้าใจ การใช้จักรยานขาไถที่ถูกต้อง ให้สอดคล้องตามเกณฑ์การเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) ร้อยละ 80% และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ก.พ. 2568 15:38 น.