โครงการช่วยกันเเยก ช่วยกันลด หมดปัญหาขยะตำบลลุโบะบือซา
ชื่อโครงการ | โครงการช่วยกันเเยก ช่วยกันลด หมดปัญหาขยะตำบลลุโบะบือซา |
รหัสโครงการ | 68-L2501-2-02 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลลุโบะบือซา |
วันที่อนุมัติ | 16 มกราคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2567 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 50,720.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายสะมาแอ ตูแป |
พี่เลี้ยงโครงการ | นางสาวฟิรดาวซ์ เจ๊ะโซ๊ะ |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลลุโบะบือซา อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.43,101.725place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มวัยทำงาน | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ขยะนับเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีความสำคัญที่ทุกฝ่าย ทั้งภาครัฐ ภาคประชาสังคม ลาคเอกชนต้องร่วมมือกันแก้ปัญหา นับวันประชากรตำบลลุโบะบือซามีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ปัญหาที่ตามมาก็คือปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้นตามจำนวนประชากรเช่นกัน แต่การบริหารจัดการขยะยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร เนื่องจากไม่มีการจัดการเก็บขยะในพื้นที่จัดการขยะจากต้นทาง แต่ประชาชนยังขาดความรู้ในการจัดการขยะอย่างถูกต้อง ส่งผลให้เกิดผลกระทบต้องสิ่งแวดล้อมตามมา ดังนั้นการรณรงค์ให้ความรู้แก่เด็ก ยาวชน และประชาชนทั่วไปในชุมชนเกี่ยวกับการคัดแยกขยะที่ถูกต้องเหมาะสมเป็นกลวิธีอย่างหนึ่งที่มีความสำคัญที่ทำให้เกิดจิตสำนึกในการคัดแยกขยะและรักษาสิ่งแวดล้อมจนสามารถแก้ไขปัญหาขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2552 องค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ต้องทำในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ตามมาตรา 67 ข้อ 2 รักษาความสะอาดถนน ทางน้ำ ทางเดิน และที่สาธารณะรวมทั้งกำจัดมูลฝอย และสิ่งปฏิกูล ข้อ 7 คุ้มครองดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปัญหาจากขยะมูลฝอยเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ เนื่องจากขยะมูลฝอยส่งผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมอย่างเห็นได้ชัด เพื่อลดปัญหาการเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะและขยะตกค้างจึงต้องมีการคัดแยกขยะให้ถูกประเภทเพื่อสะดวกในการจัดการ เช่น ขยะย่อยสลายได้ก็นำไปทำปุ๋ยหมัก ขยะอันตรายก็นำเข้าสู่ระบบการทำงานที่ปลอดภัย ส่วนขยะรีไซเคิลได้ก็นำรวบรวมเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ใหม่ ส่วนขยะทั่วไปก็นำไปทิ้งหรือนำไปกำจัดอย่างถูกวิธีและตามหลักสุขาภิบาลต่อไป เมื่อเราทราบว่าขยะรีไซเคิล มีชนิดใดบ้าง ก็สามารถแยกชนิดได้อย่างละเอียดตั้งแต่ในครัวเรือน เมื่อนำไปขายก็จะเพิ่มมูลค่าของขยะรีไซเคิลให้มากขึ้นและง่ายต่อการนำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลประเทนั้นๆ ขยะมูลฝอยในครัวเรือนโดยทั่วไปสามารถแยกออกเป็นวัสดุรีไซเคิลเป็น 4 ประเภท คือ แก้ว กระดาษ พลาสติก โลหะ/อโลหะ ซึ่งเมื่อแยกออกเป็นประเภทต่างๆแล้วมักจะเรียกว่าวัสดุรีไซเคิล การบริหารจัดการขยะและการคัดแยกขยะก่อนทิ้งในครัวเรือน จะช่วยลดปริมาณขยะในครัวเรือนและลดปัญหาขยะที่ตกค้างตามชุมชนทำให้สิ่งแวดล้อมสะอาดได้เป็นอย่างมาก อีกทั้งยังเป็นการ ลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ลดการใช้พลังงานและลดมลพิษที่จะเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ประชาชนจะร่วมมือกันลดและแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้น ด้วยการคัดแยกขยะให้ถูกประเภทและนำวัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลเพื่อใช้ทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างคุ้มค่าและยั่งยืนต่อไป ประกอบกับจังหวัดนราธิวาส ได้ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” ประจำปี 2565 ภายใต้(ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะของประเทศ (พ.ศ.2565-2570) โดยดำเนินการตั้งแต่ระดับจังหวัด อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หมู่บ้านและชุมชน โดยใช้หลักการ 3 ช. : ใช้น้อย ใช้ซ้ำและนำกลับมาใช้ใหม่ ภายใต้กรอบการดำเนินงาน 3 ระยะ ตั้งแต่ ต้นทาง กลางทางและปลายทาง เพื่อลดปริมาณขยะและส่งเสริมการคัดแยกขยะที่ต้นทาง การจัดทำระบบเก็บขนอย่างมีประสิทธิภาพและขยะมูลฝอยได้รับการกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ องค์การบริหารส่วนตำบลลุโบะบือซา ได้เล็งเห็นความสำคัญในการส่งเสริมความรู้ให้แก่ประชาชนในการจัดการขยะ สร้างจิตสำนึกในการดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในตำบล จึงได้จัดทำโครงการช่วยกันแยก ช่วยกันลด หมดปัญหาขยะ โดยมุ่งเน้นการอบรมให้ความรู้ และเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามาบริหารจัดการขยะมูลฝอยในชุมชน เพื่อดำเนินการตามนโยบายจังหวัดสะอาด ดังนั้น งานสาธารณสุข องค์การบริหารส่วนตำบลลุโบะบือซา จึงขอรับเงินสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลลุโบะบือซา ต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.เพื่อให้ประชาชนได้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการคัดแยกขยะ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆได้ 2.เพื่อสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนได้ตระหนักถึงปัญหาขยะที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 3.เพื่อให้ประชาชนลดการใช้วัสดุที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและการคัดแยกขยะก่อนทิ้ง 4.เพื่อให้ประชาชนนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในการบริหารจัดการขยะในชุมชนได้อย่างถูกต้อง 5.เพื่อให้ประชาชนนำขยะรีไซเคิลมาใช้ประโยชน์และมีรายได้เสริมจากการคัดแยกขยะ
|
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 1.เพื่อให้ประชาชนได้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการคัดแยกขยะ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆได้ 2.เพื่อสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนได้ตระหนักถึงปัญหาขยะที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 3.เพื่อให้ประชาชนลดการใช้วัสดุที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและการคัดแยกขยะก่อนทิ้ง 4.เพื่อให้ประชาชนนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในการบริหารจัดการขยะในชุมชนได้อย่างถูกต้อง 5.เพื่อให้ประชาชนนำขยะรีไซเคิลมาใช้ประโยชน์และมีรายได้เสริมจากการคัดแยกขยะ |
||||||
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 |
หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้
1.ประชุมชี้แจงนโยบายผู้บริหาร พร้อมแนวทางปฏิบัติในการดำเนินงานตามโครงการ 2.จัดทำโครงการเสนอขออนุมัติงบประมาณ 3.ประชาสัมพันธ์ขอความร่วมมือหน่วยงานในพื้นที่ 4.ชี้แจงและประสานในหมู่บ้าน 5.ดำเนินการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานตามโครงการ 6.ดำเนินการตามโครงการ 7.รายงานผลการดำเนินโครงการ
1.ทำให้ประชาชนได้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการคัดแยกขยะ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆได้ 2.ทำให้ประชาชนได้มีความตระหนักถึงปัญหาขยะที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 3.ทำให้ประชาชนลดการใช้วัสดุที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและการคัดแยกขยะก่อนทิ้ง 4.ทำให้ประชาชนนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในการบริหารจัดการขยะในชุมชนได้อย่างถูกต้อง 5.ทำให้ประชาชนนำขยะรีไซเคิลมาใช้ประโยชน์ และมีรายได้เสริมจากการคัดแยกขยะ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 มี.ค. 2568 10:39 น.