กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอาหารเช้าเพื่อน้อง โรงเรียนบ้านโคกหมัก
รหัสโครงการ 68-L8421-02-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านโคกหมัก
วันที่อนุมัติ 2 กุมภาพันธ์ 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 กุมภาพันธ์ 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 29,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายจรุง แสงทอง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ โรงเรียนบ้านโคกหมัก ตำบลดาโต๊ะ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การพัฒนาชาติที่สำคัญคือ การพัฒนาคนให้มีคุณภาพ มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ ตลอดจน มีความสามารถในการเรียนรู้ เพื่อให้มีศักยภาพสูงสุดอันเป็นปัจจัยหลักในการพัฒนาชาติอย่างยั่งยืน อันดับแรกของการ พัฒนาคน คือการพัฒนาด้านสุขภาพอนามัย เพราะเป็นพื้นฐานของการพัฒนาด้านจิตใจ อารมณ์ สังคม สติปัญญาตลอดจนคุณธรรมและจริยธรรมของเด็ก อาหารนับว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญในการดำรงชีวิตของเด็ก ถ้าเด็กได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ก็จะทำให้ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ไม่มีอุปสรรคต่อการเรียนรู้ และการเจริญเติบโตของร่างกายเมื่อท้อง อิ่ม จิตใจก็แจ่มใส พร้อมเปิดรับกับการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อาหารเช้าจึงสำคัญการทานอาหารเข้าที่ส่งผลดีต่อทั้งสุขภาพกาย สุขภาพจิต และพลังสมองของเด็กๆ เพราะการที่เด็กนักเรียนได้รับประทานอาหารเช้าอย่างเพียงพอและมีคุณภาพเป็นประจำ จะมีสมาธิ และสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้ดีกว่าเด็กที่ไม่กินอาหารเช้า และจะทำให้เป็นเด็กฉลาดและเก่งขึ้นเพื่อให้นักเรียนมีสุขภาพ ที่ดีอันจะนำไปสู่สถานศึกษามีคุณภาพ ดังนั้นอาหารมื้อเช้าจึงเป็นอาหารมื้อแรกของวันที่สมควรได้รับ แต่ด้วยปัจจุบันการใช้ชีวิตที่เร่งรีบของผู้ปกครอง ทำให้อาหารเช้ากลับกลายเป็นอาหารมื้อที่ถูกละเลย เนื่องจาก ผู้ปกครองของนักเรียนบ้านโคกหมักส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง ซึ่งผู้ปกครองต้องออกไปทำงานตั้งแต่เช้ามืดจึงไม่มีเวลาเตรียมอาหารเช้าให้กับนักเรียนคิดเป็นประมาณร้อยละ๘๐ และนักเรียนที่กำพร้าไม่ได้รับประทานอาหารเช้าคิดเป็นประมาณร้อยละ๒๐ มื้อเช้าของเด็กๆ คือขนม จากร้านในหมู่บ้าน ซึ่งไม่มีประโยชน์ และไม่เหมาะสำหรับเด็กวัยกำลังเจริญเติบโต ทำให้มีเด็กมีปัญหาเรื่องภาวะโภชนาการที่ไม่สมวัย เนื่องจากขาดอาหารสำคัญมื้อแรก จากปัญหาดังกล่าวโรงเรียนบ้านโคกหมักเห็นความสำคัญในเรื่องของสุขภาพอนามัย ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของเด็กในโรงเรียนบ้านโคกหมักให้สามารถมีคุณภาพที่ดี จากการสำรวจสุขภาพนักเรียนพบว่านักเรียนโรงเรียนบ้านโคกหมักมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 50 คน ซึ่งเป็นนักเรียนที่ไม่ได้รับประทานทานอาหารเข้า และได้รับประทานอาหารเช้าไม่สม่ำเสมอ ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาทางด้านต่างๆ ของนักเรียน โรงเรียนบ้านโคกหมัก จึงจัดทำโครงการอาหารเช้าเพื่อน้อง เพื่อให้เด็กนักเรียนในโรงเรียนบ้านโคกหมักได้รับประทานอาหารเช้า ที่มีสารอาหารครบทุกหมู่เพื่อสุขภาพและร่างกายเจริญเติบโตสมวัย มีสมาธิเกิดความพร้อมในการเรียนรู้ สู่การเป็นเด็กที่มีสติปัญญาฉลาดสมวัย ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนได้รับประทานอาหารเช้า

นักเรียนจำนวน 50 คน ได้รับประทานอาหารเช้าอย่างมีคุณภาพ

50.00 40.00
2 เพื่อให้นักเรียนมีน้ำหนัก - ส่วนสูงเพิ่มมากขึ้น

นักเรียนมีน้ำหนัก - ส่วนสูงเพิ่มมากขึ้น

50.00 40.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 29,900.00 0 0.00
1 - 30 พ.ค. 68 ประชุมแต่งตั้งคณะดำเนินงาน 0 0.00 -
1 - 30 พ.ค. 68 นำนักเรียนชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูง 0 0.00 -
1 พ.ค. 68 - 29 ส.ค. 68 ประชุมชี้แจงโครงการให้แก่นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนที่มีปัญหาน้ำหนัก-ส่วนสูงน้อย 0 0.00 -
1 พ.ค. 68 - 29 ส.ค. 68 จัดอาหารเช้าให้แก่นักเรียนที่มีปัญหาน้ำหนัก-ส่วนสูงน้อย 0 29,900.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

นักเรียนที่มีน้ำหนักส่วนสูงน้อย ได้รับประทานอาหารเช้าที่มีประโยชน์ มีสุขนิสัยในการรับประทานอาหารอย่างถูกต้อง นักเรียนมีน้ำหนัก-ส่วนสูงเพิ่มขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 มี.ค. 2568 10:41 น.