กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุกเพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนดของหญิงวัยเจริญพันธุ์ตำบลลุโบะบือซา ประจำปีงบประมาณ 2568
รหัสโครงการ 68-L2501-2-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลลุโบะบือซา
วันที่อนุมัติ 16 มกราคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2567 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 22,820.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวฟิรดาวซ์ เจ๊ะโซ๊ะ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวพาตีเม๊าะ ซะรีเเลเเม
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลุโบะบือซา อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.43,101.725place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การฝากครรภ์เป็นจุดเริ่มต้นแห่งการพัฒนาคุณภาพประชากร เริ่มตั้งแต่อยู่ในครรภ์จนคลอด เพื่อการตั้งครรภ์และการคลอดที่เป็นไปด้วยความราบรื่น มารดาและทารกปลอดภัย ปราศจากภาวะแทรกซ้อนและมีสุขภาพแข็งแรง การดูแลสตรีตั้งครรภ์ทั่วไปที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน ผลการศึกษาพบว่าการดูแลสตรีตั้งครรภ์แนวใหม่ไม่เพิ่มความเสี่ยงต่อมารดาและทารก ยังช่วยลดจำนวนครั้งการฝากครรภ์เหลือเพียง 4 ครั้ง จากมาตรฐานที่กำหนดประมาณ 8-12 ครั้ง ลดทรัพยากรที่ไม่จำเป็นของสตรีตั้งครรภ์ อีกทั้งการดูแลสตรีตั้งครรภ์แนวใหม่กับการดูแลตามมาตรฐานเดิมที่ไม่มีความแตกต่างกัน ในเรื่องภาวะโลหิตจางอย่างรุนแรง ความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ หรือทารกแรกเกิดที่น้ำหนักน้อย สตรีตั้งครรภ์จะได้รับการประเมินภาวะเสี่ยงจะได้รับการดูแลตามระบบการดูแลสตรีตั้งครรภ์ การนัดตรวจจะกำหนดบริการพื้นฐานที่จำเป็นและเป็นประโยชน์ต่อสตรีตั้งครรภ์ มีการคัดกรองปัญหาสุขภาพที่ส่งผลเสียต่อการตั้งครรภ์ทุกครั้งที่มาฝากครรภ์ให้คำแนะนำรักษา ให้ตระหนักและเฝ้าระวังปัญหาฉุกเฉินระหว่างตั้งครรภ์ และการแก้ไขทีช่องทางในการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ให้และผู้รับบริการที่สะดวกรวดเร็วจึงได้จัดโครงการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์เชิงรุกเพื่อลดาวะคลอดก่อนกำหนดของหญิงวัยเจริญพันธุ์ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้รับบริการมาดูแลครรภ์อย่างต่อเนื่อง จากการศึกษาข้อมูลงานวิจัยพบว่าหญิงเจ็บครรภ์ก่อนกำหนดเป็นหญิงกลุ่มวัยทำงาน เช่น ค้าขาย เกษตรกรรม รับจ้าง และต้องทำหน้าที่เป็นแม่บ้านอีกด้วย เช่น ล้างจาน ทำความสะอาดบ้าน ทำกับข้าว ซักผ้าและรีดผ้า ซึ่งพฤติกรรมบางอย่างส่งผลต่อการทำให้เกิดคลอดก่อนกำหนด อย่างเช่น ท่านั่งยอง เดินขึ้นบันไดหลายครั้งต่อวัน การเดินทางด้วยยานพาหนะต่างๆ หากการเดินทางนั้นต้องเกร็งบริเวณหน้าท้องบ่อยอาจเกิดการกระทบกระเทือนต่อบุตรที่อยู่ในครรภ์ก่อให้เกิดอาการเจ็บครรภ์ก่อนกำหนด ร่วมกับพฤติกรรมขณะทำงาน เช่น การกลั้นปัสสาวะ การนั่งหรือยืนทำงานนานๆ อารมณ์หดหู่ เครียด หงุดหงิด เป็นต้น นำไปสู่การแท้งและคลอดก่อนกำหนด ทารกน้ำหนักน้อย และจากการศึกษาหญิงคลอดบุตรก่อนกำหนดเนื่องจากไม่เคยมีความรู้เรื่องภาวะคลอดก่อนกำหนดมาก่อน และเมื่อมีอาการเจ็บครรภ์ก่อนกำหนดหรือมีอาการผิดปกติอื่นๆมักเดินทางเข้ามารับการรักษาที่โรงพยาบาลล่าช้า จนมีอาการเจ็บครรภ์รุนแรงมากขึ้นจึงตัดสินใจเข้ามารับการรักษาทำให้ไม่สามารถยับยั้งได้ หาดมาเร็วและไม่มาวะแทรกซ้อนขณะนั้น แพทย์สามารถรักษาต่อจนสามารถตั้งครรภ์จนครบกำหนดคลอดได้ งานสาธารณสุข องค์การบริหารส่วนตำบลลุโบะบือซา ได้ตระหนักถึงความสำคัญของหญิงตั้งครรภ์จึงได้จัดโครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุกเพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนดของหญิงวัยเจริญพันธุ์ตำบลลุโบะบือซาเพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้มีความรู้ในการดูแลครรภ์และสามารถยับยั้งการคลอดก่อนกำหนดได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อจัดทำทะเบียนฐานข้อมูลหญิงตั้งครรภ์ 2. เพื่ออบรมให้ความรู้หญิงวัยเจริญพันธุ์และหญิงตั้งครรภ์ในเขตความรับผิดชอบของตำบลลุโบะบือซา 3. เพื่อประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในรูปแบบต่างๆ

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1 ศึกษาข้อมูลจากหญิงวัยเจริญพันธุ์ในเขตตำบลลุโบะบือซา 2 ประชาสัมพันธ์เพื่อหาหลุ่มเป้าหมายในเขตตำบลลุโบะบือซา 3 ติดตั้งป้ายประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในเขตตำบลลุโบะบือซาจำนวน 6 จุด 4 ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานต่างๆและบุคคลที่เกี่ยวข้อง 5 ดำเนินงานตามกิจกรรมของโครงการ 6 ติดตามประเมินผลและรายงานผลตามโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 สตรีและหญิงตั้งครรภ์ได้รับความรู้ สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ 2 สตรีและหญิงตั้งครรภ์สามารถลดาวะคลอดก่อนกำหนดได้ 3 สตรีและหญิงตั้งครรภ์สามรถดูแลตนเองและป้องกันตนเองจากภาวะแทรกซ้อนได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 มี.ค. 2568 10:52 น.