โครงการ How to ทิ้งปัญหากลิ่นตัวและโรคผิวหนัง
ชื่อโครงการ | โครงการ How to ทิ้งปัญหากลิ่นตัวและโรคผิวหนัง |
รหัสโครงการ | 68 – L5194 – 2 - 13 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงเรียนบ้านเขาน้อย |
วันที่อนุมัติ | 20 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มิถุนายน 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 15 สิงหาคม 2568 |
งบประมาณ | 10,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาววทันยา วิทยาสุนทร |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลสะกอม อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.88,100.818place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 78 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มวัยทำงาน | 22 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล
โรงเรียนบ้านเขาน้อยมีความมุ่งหวังในการส่งเสริมให้นักเรียนมีสุขภาพดี ร่างกายแข็งแรง มีพฤติกรรมในการดูแลอนามัยของตนเองอย่างถูกวิธี เพื่อนำไปสู่การมีสุขภาพที่แข็งแรงห่างไกลจากโรค อีกทั้งการมีสุขภาพที่แข็งแรงสมวัยเป็นส่วนสำคัญต่อการเรียนรู้และพัฒนาการตามระดับช่วงวัย อันทำให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งทางโรงเรียนได้มีกรอบเป้าหมายในการดำเนินงานเกี่ยวกับการให้นักเรียนเติบโตเป็นบุคคลที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี
ซึ่งปัญหากลิ่นตัว ผื่นคัน โรคผิวหนัง กลากเกลื้อน เป็นสิ่งหนึ่งที่มักพบในตัวนักเรียน ซึ่งอาจเกิดจากความร้อนและความชื้นเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ในตัวนักเรียนหลายคน เนื่องจากกลิ่นตัวเกิดจากการสะสมของแบคทีเรียจากเหงื่อ จากเชื้อโรค เชื้อแบคทีเรีย เชื้อราตามผิวหนังและเสื้อผ้า บวกกับอากาศร้อน ๆ และความอับชื้นในอากาศ เชื้อแบคทีเรียที่รวมกับเหงื่อไคลของเราก็ยิ่งหมักหมนจนส่งกลิ่นไม่พึงประสงค์ออกมา นับว่าเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของนักเรียนในห้องเรียน อีกทั้งยังลดความมั่นใจในตัวของนักเรียนที่มีกลิ่นนั้นด้วย
ทางโรงเรียนบ้านเขาน้อย ได้เห็นถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพของนักเรียนที่มีกลิ่นตัวและ เป็นโรคผิวหนัง จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อหาวิธีการป้องกันและแก้ปัญหานักเรียนที่มีปัญหาเหล่านี้ ทางโรงเรียน เห็นว่าสบู่สมุนไพรก็เป็นส่วนหนึ่งที่สามารถลดและแก้ปัญหากลิ่นตัวและโรคผิวหนังของนักเรียนได้ นอกจากสบู่สมุนไพรจะช่วยลดแบคทีเรีย ช่วยขจัดสิ่งสกปรกได้แล้วนั้น สบู่สมุนไพรยังสามารถช่วยลดอาการละคายเคืองที่เกิดจากการใช้สารเคมีได้อีกด้วย อีกทั้งการให้ความรู้ด้านสุขอนามัยส่วนบุคคลเป็นสิ่งสำคัญที่สามารถช่วยให้นักเรียนดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข ทั้งนี้ให้นักเรียนที่เข้ารับการอบรมได้นำความรู้ไปเผยแพร่สู่ชุมชนต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้นักเรียนมีความรู้เรื่องการดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล ร้อยละ 80 ของนักเรียนมีทักษะการดูแลสุขภาพอนามัยส่วนบุคคล |
||
2 | เพื่อให้นักเรียนมีความรู้เรื่องการทำสบู่กำจัดกลิ่นจากสมุนไพร ร้อยละ 80 ของนักเรียนมีทักษะการทำสบู่กำจัดกลิ่น |
||
3 | เพื่อให้นักเรียนได้ปฏิบัติการทำสบู่กำจัดกลิ่นสมุนไพร ร้อยละ 100 ของนักเรียนได้ลองทำสบู่กำจัดกลิ่นจากสมุนไพร |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 100 | 10,000.00 | 0 | 0.00 | 10,000.00 | |
1 มิ.ย. 68 | ประชุมวางแผน | 0 | 0.00 | - | - | ||
1 มิ.ย. 68 - 31 ก.ค. 68 | กิจกรรมอบรมให้ความรู้ | 100 | 10,000.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 100 | 10,000.00 | 0 | 0.00 | 10,000.00 |
นักเรียนโรงเรียนบ้านเขาน้อยทุกคน มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการดูแลรักษาสุขอนามัยของตนเองให้ปราศจากกลิ่นตัว และโรคผิวหนัง มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำสบู่กำจัดกลิ่นจากสมุนไพร
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 มี.ค. 2568 11:07 น.