กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบรรเทาอาการปวดเข่าด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทย ปีงบประมาณ 2568
รหัสโครงการ 68-L2502-1-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกาลิซา
วันที่อนุมัติ 11 กุมภาพันธ์ 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 46,330.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมูฮัมหมัด อิบรอเห็น
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกาลิซา อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.225,101.661place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันอัตราการเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมมีจำนวน เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยโรคนี้ส่วนใหญ่จะพบในผู้สูงอายุ ซึ่งมีลักษณะทางคลินิกที่สำคัญ ได้แก่ ปวดข้อ ข้อฝืด มีปุ่มกระดูกงอกบริเวณข้อ การทำงานของข้อเสียไป และการเคลื่อนไหวลดลง ส่งผลให้เกิดโรคเรื้อรังที่มีสาเหตุมาจากความเสื่อมของร่างมากขึ้น ถ้าเกิดอาการเรื้อรัง กระดูกจะมีการซ่อมแซมตัวเองจนเกิดเป็นกระดูกงอกขรุขระขึ้นภายในข้อ ก็จะทำให้การเคลื่อนไหวติดขัด และมีเสียงดัง ในผู้ป่วยที่มีอาการมากแล้วจะมีแนวแกนขาผิดปกติ ขาโก่งเข้าด้านในหรือบิดออกนอก และทำให้การรับน้ำหนักของข้อเข่าผิดปกติได้ ทำให้ผู้ป่วยต้องมีชีวิตอยู่อย่างไร้สมรรถภาพในการประกอบอาชีพ หรือการใช้ชีวิตประจำวันได้
จากสถิติผู้มารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกาลิซา มีผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับข้อเข่าเสื่อมคิดเป็นร้อยละ 5.2 ของประชากรในพื้นที่ พบว่าผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมในชุมชนยังไม่ทราบวิธีการดูตนเอง การชะลอการดำเนินการของโรค และการออกกำลังกายเพื่อบริหารกล้ามเนื้อรอบๆ เข่า แนวทางปฏิบัติทางคลินิกในการดูแลรักษาผู้ป่วยของราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย ประกอบด้วยการบำบัดโดยไม่ใช้ยา (non-pharmacological therapy) การบำบัดด้วยการใช้ยา (pharmacological therapy) และการบำบัดโดยการผ่าตัด (surgical treatment) นอกจากการดูแลรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยการแพทย์แผนปัจจุบันแล้ว ยังมีการนำแพทย์แบบผสมผสานมาใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วยมากขึ้น ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกาลิซา ได้จัดทำโครงการครั้งนี้ขึ้น เพื่อใช้การแพทย์แผนไทยในการดูแลผู้ป่วยเข่าเสื่อมด้วยการพอกเข่าด้วยสมุนไพรรักษา และเพื่อเป็นการส่งเสริมให้มีการใช้สมุนไพรไทยเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการดูแลสุขภาพของตนเอง อีกทั้งยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษา และลดการพึ่งพาการใช้ยาแผนปัจจุบัน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้การดูแลตนเองด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทย

กลุ่มเป้าหมายที่มีอาการปวดเข่าได้รับความรู้การดูแลตนเองด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทย
ร้อยละ 90

2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่มีอาการปวดเข่าได้รับการพอกเข่าเพื่อบรรเทาและรักษาอาการปวดเข่า

กลุ่มเป้าหมายที่มีอาการปวดเข่าได้รับการพอกเข่าเพื่อลดอาการปวด ร้อยละ 95

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 กลุ่มเป้าหมายสามารถนำสมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาใช้ในการรักษาอาการปวดเข่าได้ 2 ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมมีอาการปวดเข่าทุเลาลง การรักษาด้วยหัตถการด้านการแพทย์แผนไทยด้วยวิธีการพอกเข่าเป็นที่รู้จักแพร่หลายมากขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 มี.ค. 2568 13:42 น.