กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมพัฒนาศักยภาพ อสม.ตำบลท่าพญา ในการคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ ปี 2568
รหัสโครงการ 68-L1481-2-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลท่าพญา
วันที่อนุมัติ 18 กุมภาพันธ์ 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 4,610.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลท่าพญา
พี่เลี้ยงโครงการ นายจรูญ นาคพล
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าพญา อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.354,99.674place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 620 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่าสถิติจำนวนผู้สูงอายุสัญชาติไทย พ.ศ. 2567 ข้อมูล ณ วันที่ 30 มิ.ย. 2567 พบว่ามีจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมด 13,450,391 คน จากจำนวนประชากรไทยทั้งหมด 64,989,504 คน หรือร้อยละ 20.70 ของจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมด ตามที่ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมสูงอายุ (Aging Society) มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2548 จากการที่มีสัดส่วนประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป มีมากเกิน 10% ของประชากรทั้งประเทศ และต่อมาในปี พ.ศ. 2564 ไทยได้ก้าวเข้าสู่ "สังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบ" (Aged Society) เมื่อสัดส่วนประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้นถึง 20% ของประชากรทั้งหมดในประเทศ จวบจนถึงปัจจุบันและยังคงมีแนวโน้มว่าจำนวนผู้สูงอายุจะเพิ่มมากขึ้นทุกปี สวนทางกับอัตราการเกิดที่มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้เกิดการคาดการณ์ว่าประเทศไทยจะขยับเป็นสังคมสูงอายุแบบสุดยอด (Super Aged Society) มีผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 30 ในปี พ.ศ.2576 ที่จะถึงนี้
    ตำบลท่าพญา อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง มีจำนวนประชากรทั้งหมด 2,111 คน โดยมีจำนวนผู้สูงอายุ จำนวน 620 คน (แบ่งเป็นเพศชาย จำนวน 262 คน และ เพศหญิง จำนวน 358 คน) คิดเป็นร้อยละ 29.37 จากจำนวนประชากรทั้งหมด ซึ่งจัดเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged society) เนื่องจากมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 20 จากจำนวนประชากรทั้งหมด     ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลท่าพญา ได้ดำเนินการคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุในทุกๆปี    โดยในปีงบประมาณ2567 ที่ผ่านมา ได้มีการคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุจำนวน 609 คน สามารถจำแนกผู้สูงอายุเป็น    3 กลุ่ม โดยใช้แบบประเมินความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน (ADL) ได้แก่ ผู้สูงอายุติดสังคม จำนวน 577 คน ผู้สูงอายุติดบ้าน จำนวน 28 คน และผู้สูงอายุติดเตียง จำนวน 4 คน ซึ่งหลังจากคัดกรองเรียบร้อย ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพึงทั้งติดบ้านและติดเตียงได้เข้าสู่ระบบการดูแลระยะยาว(Long–term care)ต่อไป และเพื่อป้องกันการเสียสิทธิประโยชน์ด้านการได้รับความช่วยเหลือจากกองกองทุนดูแลผู้งอายุและผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง เนื่องจากการคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุที่ผิดพลาด ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลท่าพญา จึงได้จัดทำโครงการ “อบรมพัฒนาศักยภาพอสม.ตำบลท่าพญา ในการคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ ปี2568” เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาตั้งแต่ต้นทาง โดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลท่าพญาได้พัฒนาศักยภาพด้านการคัดกรองผู้สูงอายุ ทำให้ได้ข้อมูลจากการคัดกรองที่มีความถูกต้องยิ่งขึ้น สามารถนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดยิ่งขึ้นตามมาอีกด้วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้อสม.มีองค์ความรู้ในเรื่องการคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ 9 ด้าน และประเมินความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน (ADL) ของผู้สูงอายุ ได้อย่างถูกต้อง

ผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 56 คน มีความรู้ที่ถูกต้องในเรื่องการคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ 9 ด้าน และประเมินค่า ADL ของผู้สูงอายุได้ โดยสามารถวัดได้จากการทำแบบประเมินความรู้หลังอบรมผ่านเกณฑ์ร้อยละ60 ขึ้นไป จากคะแนนเต็มของแบบประเมิน เป็นจำนวนนอย่างน้อย 45 คน คิดเป็นร้อย 80 ขึ้นไป

2 เพื่อให้อสม.คัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ 9 ด้าน และประเมินความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน (ADL) ของผู้สูงอายุ ในพื้นที่ตำบลท่าพญาได้ครบถ้วน

ผู้สูงอายุในพื้นที่ตำบลท่าพญา จำนวน 620 คน 9 ด้าน และประเมินความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน (ADL)  ทุกคน คิดเป็นร้อยละ 100

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00
  1. ประชุมอสม.ตำบลท่าพญาเพื่อกำหนดเป้าหมายและแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน
    1. ประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน เพื่อวางแผนการดำเนินงานและมอบหมายงาน
    2. ประสานงานกับวิทยากร/เจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
    3. จัดทำโครงการและกำหนดการ
    4. เสนอขออนุมัติโครงการ ฯ ทำหนังสือเชิญวิทยากร
    5. จัดเตรียมสถานที่ จัดหาวัสดุอุปกรณ์ใช้ในการดำเนินงาน
    6. ดำเนินโครงการตามแผนการดำเนินงานที่กำหนด
    7. ประเมินผลการทำกิจกรรมโครงการ และปัญหา/อุปสรรค
    8. จัดทำรายงานสรุปผลกิจกรรมเสนอกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลท่าพญา
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้และทักษะที่ได้รับจากการอบรม ไปใช้ในการลงพื้นที่คัดกรองสุขภาพ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. ผู้สูงอายุทุกคนในพื้นที่ตำบลท่าพญาได้รับการคัดกรองสุขภาพ โดยผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพึงทั้งติดบ้านและติดเตียงได้เข้าสู่ระบบการดูแลระยะยาว(Long–term care)ต่อไป
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 มี.ค. 2568 15:57 น.