กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ในเขต รพ.สต.บ้านป่าบาก ประจำปีงบประมาณ 2568
รหัสโครงการ 68-L3341-02-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มเครือข่ายเฝ้าระวังการเกิดโรคไม่ติดต่อ รพ.สต.บ้านป่าบาก
วันที่อนุมัติ 18 มีนาคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 18 มีนาคม 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 12,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ 1.นางดารา ทองอินทร์ 2.นางอุดมวรรณ ทองอินทร์ 3.นางทัศนีย์ ดำชุม 4.นางภัทรา ศรีชูทอง 5.นางเจริญ คงสม
พี่เลี้ยงโครงการ นายเสงี่ยม ศรีทวี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งนารี อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภาวะหัวใจหยุดเต้นและ/หรือหยุดหายใจ เป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ที่มีความสำคัญ โดยมีอุบัติการณ์ของการเกิดแตกต่างกันมาก คน ไทยเสียชีวิตจากภาวะหัวใจหยุดเต้นฉับพลันกว่า ๕๔,๐๐๐ ราย/หรือเฉลี่ย ๖ ราย/ชั่วโมง ซึ่งปัจจัยเรื่องของเวลามีความสำคัญมาก การรักษาที่ล่าช้าจะทำให้ โอกาสที่ผู้ป่วยรอดชีวิตและกลับมาดำเนินชีวิตได้ตามปกติก็จะลดลงเรื่อยๆ หรือไม่มีเลย ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยได้แก่ ระยะเวลาตั้งแต่เกิด ภาวะหัวใจหยุดเต้นจนถึงได้รับการช่วยเหลือ การกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้าทำได้ภายใน ๔ นาที และการช่วยฟื้นคืนชีพชั้นสูง ทำได้ภายในเวลา ๘ นาที รวมถึงประสิทธิภาพของการกดหน้าอกหรือการนวดหัวใจด้วย นอกจากนี้อัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยยังขึ้นอยู่กับระบบและความพร้อมของการ ปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพด้วย ความรู้หรือข้อมูลเกี่ยวกับการช่วยฟื้นคืนชีพมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยทั่วไปจะแบ่งเป็น การช่วยฟื้นคืนชีพ ออกเป็น ๒ ขั้นตอนคือ การช่วยชั้นพื้นฐาน และการช่วยชั้นสูง ซึ่งการช่วยชั้น พื้นฐาน และใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ(AED) ประชาชนทั่วไปสามารฝึกและปฏิบัติได้ หากผู้ป่วยได้รับการการช่วยชีวิต ขั้นพื้นฐานอย่างถูกต้อง และใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ(AED) ภายในระยะเวลา 4 นาทีหลังจากหัวใจหยุดเต้นจะเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตจาก ภาวะหัวใจหยุดเต้นฉับพลันได้ ในปัจจุบันสาเหตุการเสียชีวิตของประชากรในประเทศไทยโดยส่วนใหญ่เกิดจาก โรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจและหลอดเลือด โรคหัวใจ ความดันโลหิต และอุบัติเหตุ ผู้ป่วยหรือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บเหล่านี้อาจมีอาการที่ผิดปกติเกิดขึ้นกับร่างกาย หรือบางรายอาจมีภาวะการหยุดหายใจกะทันหันถ้าปล่อยไว้นานเกิน 4 นาที แม้จะช่วยให้ฟื้นคืนชีพกลับมาได้ ก็จะเกิดสภาวะการตายของสมองอย่างถาวร ดังนั้นการได้รับการช่วยเหลือเบื้องต้นอย่างทันท่วงทีและถูกต้อง และมีการส่งต่อผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บต่อไปยังแพทย์หรือสถานพยาบาลอย่างเหมาะสมรวดเร็วและถูกวิธีจะทำให้ผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บมีโอกาสรอดชีวิตและกลับคืนมาใช้ชีวิตเป็นปกติได้ การอบรมหลักสูตรปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน จึงเป็นหลักสูตรที่สำคัญซึ่งจะทำให้ผู้เข้าอบรมได้รับความรู้ที่ถูกต้องและได้รับการฝึกฝนอย่างชำนาญ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการช่วยเหลือผู้อื่นได้ กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข รพ.สต.บ้านป่าบาก ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าวในข้างต้น จึงจัดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน(CPR) แก่เยาวชน/กลุ่มวัยทำงานในเขต รพ.สต.บ้านป่าบาก ประจำปีงบประมาณ 2568 ขึ้น เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้และทักษะในการปฐมพยาบาล สามารถช่วยเหลือในเบื้องต้นได้อย่างถูกต้องก่อนนำส่งสถานพยาบาลต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ทักษะการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานได้อย่างถูกต้องตามมาตรฐาน และมีประสิทธิภาพในการช่วยชีวิตกับบุคคลที่เกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน
  1. กลุ่มเป้าหมายเข้ารับการอบรมและมีส่วนร่วมในการจัดกระบวนการเรียนรู้ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90
  2. กลุ่มเป้าหมายเข้ารับการอบรมความรู้หลังการอบรมเพิ่มขึ้น
50.00 90.00
2 2. เพื่อให้แต่ละหมู่บ้านมีทีมกู้ชีพที่มีความรู้ด้านกู้ชีพ เบื้องต้น ในชุมชน

มีทีมกู้ชีพชุมชนที่มีความรู้ด้านกู้ชีพเบื้องต้น หมู่บ้านละ 1 ทีม
จำนวน 3 หมู่บ้าน ร้อยละ100

50.00 100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ทักษะการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานได้อย่างถูกต้องตามมาตรฐาน และมีประสิทธิภาพในการช่วยชีวิตกับบุคคลที่เกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : 2. เพื่อให้แต่ละหมู่บ้านมีทีมกู้ชีพที่มีความรู้ด้านกู้ชีพ เบื้องต้น ในชุมชน

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

1 พ.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 จัดอบรมให้ความรู้การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานและการใช้เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจชนิดอััตโนมัติ ด้วยวิธีการบรรยายเชิงทฤษฎีและฝึกการปฏิบัติ 12,200.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเป้าหมายเข้ารับการอบรมและมีส่วนร่วมในการจัดกระบวนการเรียนรู้ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90
  2. กลุ่มเป้าหมายเข้ารับการอบรมความรู้หลังการอบรมเพิ่มขึ้น
  3. มีทีมกู้ชีพชุมชนที่มีความรู้ด้านกู้ชีพเบื้องต้น หมู่บ้านละ 1 ทีม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 มี.ค. 2568 00:00 น.