โครงการอบรมการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานในโรงเรียนเขตพื้นที่ รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าแมงลัก
ชื่อโครงการ | โครงการอบรมการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานในโรงเรียนเขตพื้นที่ รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าแมงลัก |
รหัสโครงการ | 68 - L5194 – 1 - 02 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าแมงลัก |
วันที่อนุมัติ | 20 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤษภาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 15 สิงหาคม 2568 |
งบประมาณ | 17,950.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางนวนจิลา บัวศรี |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลสะกอม อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.88,100.818place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มวัยทำงาน | 45 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : ระบุ |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล
โรงเรียนนับว่าเป็นสถานที่รวมของคนจำนวนมาก ประกอบด้วยนักเรียน ครู และบุคลากรอื่นๆ โดยเฉพาะเด็ก นักเรียนที่มีจำนวนมากซึ่งมาจากที่ต่างๆกัน มีฐานะทางเศรษฐกิจสังคมสภาพแวดล้อมและพฤติกรรมอนามัยที่แตกต่างกันไป ทำให้สามารถพบการเจ็บป่วยที่แตกต่างกันในเด็กนักเรียนซึ่งมีตั้งแต่อาการเจ็บป่วยเล็กๆน้อยๆไปจนถึงขั้นรุนแรงและ อุบัติเหตุต่างๆอาจเกิดขึ้นได้เสมอในโรงเรียนการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานเป็นความรู้ที่มี
ความสำคัญและจำเป็นสำหรับตัวนักเรียนเพื่อที่จะสามารถนำมาใช้ในการช่วยเหลือตนเอง และคนรอบข้างได้อย่างถูกต้อง และทันท่วงทีเมื่อมีการเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุเกิดขึ้นอย่างฉุกเฉินในโรงเรียนการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยชีวิตขั้น พื้นฐานอย่างถูกต้องเป็นการช่วยรักษาชีวิตของผู้ป่วยเพราะการปฐมพยาบาลที่ถูกต้องและรวดเร็วสามารถช่วยลดอันตรายที่ รุนแรงหรือลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ เช่น การช่วย ผายปอดผู้ที่หยุดหายใจ การห้ามเลือด เป็นต้น ช่วยป้องกันไม่ให้ ผู้ป่วยได้รับอันตรายมากขึ้น ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด ทั้งยังช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวและกลับสู่สภาพเดิมโดยเร็ว หากได้รับการ ปฐมพยาบาลเบื้องต้นและช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานอย่างถูกต้องนอกจากจะช่วยผู้ป่วยในเรื่องต่างๆ ดังกล่าวมาแล้วนั้น ยังส่งผลดี ต่อการรักษาพยาบาลในขั้นต่อไปได้อีกเช่นกัน สถิติข้อมูลจากสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ในการรับแจ้งทางเบอร์โทร ๑๖๖๙ เกี่ยวกับอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับเด็ก ในปี ๒๕๖๕ พบว่ามีจำนวนทั้งหมด ๒๔,๙๓๓ ครั้ง จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่าการเจ็บป่วยฉุกเฉินในเด็กยังคงเป็นปัญหาที่เกิดได้เสมอบางครั้งอาจเป็นเพียงอาการเล็กน้อยไม่รุนแรงบางครั้งก็เป็นอาการ เจ็บป่วยขั้นรุนแรงและถึงขั้นเสียชีวิตได้ในบางครั้งและเป็นไปได้ว่าอาการเจ็บป่วยฉุกเฉินในเด็กดังกล่าวอาจเกิดขึ้นในขณะที่ เด็กอยู่ที่โรงเรียน การเตรียมให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานโดย ได้รับการถ่ายทอดจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ที่มีความรู้ ประสบการณ์และความชำนาญเป็นอย่างดีจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง ที่จะสามารถช่วยให้นักเรียนสามารถช่วยเหลือตนเองและสามารถช่วยเหลือคนรอบข้างได้อย่างถูกต้องในกรณีเจ็บป่วย เล็กน้อยหรือสามารถปฐมพยาบาลเบื้องต้นและช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานได้อย่างถูกต้องและทันท่วงทีระหว่างการรอความ ช่วยเหลือจากผู้อื่นหรือระหว่างรอการส่งต่อโรงพยาบาลในกรณีการเจ็บป่วยชั้นรุนแรง ซึ่งความรู้ในเรื่องการปฐมพยาบาล เบื้องต้นและการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานนี้นอกจากนักเรียน จะสามารถนำไปใช้เมื่อเกิดอาการเจ็บป่วยกับตนเองและคนรอบข้าง ในโรงเรียน ยังสามารถนำไปใช้เมื่อตนเองหรือคนรอบข้างเกิดอาการเจ็บป่วยเมื่ออยู่ที่บ้านหรือในชุมชน ตลอดจนสามารถน้า ความรู้เรื่อง การปฐมพยาบาลเบื้องต้นและช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานเหล่านี้ไปช่วยเหลือผู้อื่นต่อไปได้อีกด้วย กองสาธารณสุขและ สิ่งแวดล้อมเทศบาลจึงเล็งเห็นความสำคัญในการเสริมความรู้และทักษะในการปฐมพยาบาลเบื้องต้นในโรงเรียนโดยให้ กลุ่มเป้าหมายเป็นแกนนำนักเรียนในโรงเรียน เพื่อเสริมความรู้และทักษะเบื้องต้นในการช่วยเหลือการปฐมพยาบาลและการ ช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานได้ถูกต้อง
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำ หมู่บ้าน รพ.สต.ท่าแมงลัก ให้มีความรู้ ความเข้าใจ มี ทักษะในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น สามารถช่วยเหลือตนเองและบุคคลใกล้ตัวได้อย่างปลอดภัย เข้ารับการฝึกอบรมปฏิบัติการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ได้ ถูกต้องตามมาตรฐานสากล |
||
2 | เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตและลด ค่าใช้จ่ายในด้านการรักษา ให้กับคนในครอบครัว ชุมชน สังคม ผู้ร่วมโครงการผ่านทักษะปฏิบัติการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน สามารถปฏิบัติผ่านได้ ๑๐๐% |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำ หมู่บ้าน รพ.สต.ท่าแมงลัก ให้มีความรู้ ความเข้าใจ มี ทักษะในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น สามารถช่วยเหลือตนเองและบุคคลใกล้ตัวได้อย่างปลอดภัย |
||||||
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | ||
วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตและลด ค่าใช้จ่ายในด้านการรักษา ให้กับคนในครอบครัว ชุมชน สังคม |
||||||
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | ||
ไม่ระบุวัตถุประสงค์ |
||||||
1 พ.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | ๑. กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ ๑.๑ กิจกรรมอบรมการปฐมพยาบาลเบื้องต้น จำนวน ๙๕ คน | 95.00 | 17,950.00 | - | ||
20 พ.ค. 68 | กิจกรรมฝึกปฏิบัติการปฐมพยาบาลการช่วยชีวิต ขั้นพื้นฐาน (CPR) จำนวน ๙๕ คน | 0.00 | 0.00 | - |
หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้
๑. แกนนำนักเรียน และคุณครูมีความรู้ความเข้าใจและเกิดทักษะในการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน มากขึ้น ๒.แกนนำนักเรียนสามารถนำความรู้จากอบรมไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการปฐมพยาบาลเบื้องต้นแก่ตนเองหรือช่วยเหลือคน รอบข้างเมื่อเกิดการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บ ตลอดจนสามารถช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานแก่บุคคลที่หมดสติหัวใจหยุดเต้นได้
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 มี.ค. 2568 09:32 น.