โครงการพัฒนาศักยภาพและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ประจำปีงบประมาณ 2568
ชื่อโครงการ | โครงการพัฒนาศักยภาพและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ประจำปีงบประมาณ 2568 |
รหัสโครงการ | L8279-68-01 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลบาเจาะ |
วันที่อนุมัติ | 30 มกราคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 8 เมษายน 2568 - 15 เมษายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 25,200.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลบาเจาะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบาเจาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.514,101.636place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 70 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ประเทศไทยกำหนดนิยาม “ผู้สูงอายุ” ไว้ในพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 มาตรา 3 หมายความว่า “บุคคลซึ่งมีอายุเกินหกสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไปและมีสัญชาติไทย” ส่วนประชากรสูงอายุ หมายถึงประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป และอัตราผู้สูงอายุ หมายถึง ร้อยละของผู้สูงอายุต่อประชากรทั้งหมดประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2548 มีประชากรผู้สูงอายุ คิดเป็นร้อยละ 10 เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยในปี 2562 จะเป็นครั้งแรกที่ประชากรผู้สูงอายุแซงหน้าประชากรเด็ก ปี 2564 มีประชากรผู้สูงอายุ คิดเป็นร้อยละ 20 เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ และคาดการณ์ว่า ในปี พ.ศ. 2574 มีประชากรผู้สูงอายุ คิดเป็นร้อยละ 28 เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด (มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย,2562) ประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงอายุ (Ageing Society) นับแต่ปี พ.ศ. 2553 เป็นต้นมา โดย 1 ใน 10 ของประชากรไทยเป็นประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป และประเทศไทยเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Complete Aged Society) ในปี พ.ศ. 2564 คือ ประชากรสูงอายุจะมีถึง 1 ใน 5 และเป็น “สังคมสูงวัยระดับสุดยอด” (Super Aged Society) ในอีก 20 ปี (พ.ศ. 2578) โดยประมาณการว่าจะมีประชากรผู้สูงอายุเพิ่มเป็นร้อยละ 30 ของจานวนประชากรทั้งหมด (คณะกรรมการปฏิรูประบบรองรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย, 2559) จากสถานการณ์โครงสร้างผู้สูงอายุทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทยได้เข้าสู่ประชากรผู้สูงอายุ (Aging Population) อันเป็นผลจากความก้าวหน้าทางการแพทย์และสาธารณสุขเป็นผลให้ประชากรมีอายุยืนยาวขึ้นส่งผลให้มีประชากรที่เป็นผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ มักมีปัญหาด้านสุขภาพและมีความสามารถในการช่วยเหลือตนเองในการดำรงชีวิตประจำวันลดลง เนื่องจากความเสื่อมของร่างกายตามสภาพอายุที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ การเตรียมการเพื่อรองรับสถานการณ์สังคมสูงอายุจึงเป็นประเด็นที่สำคัญเนื่องจากผู้สูงอายุเป็นกลุ่มเสี่ยงด้านสุขภาพ ซึ่งกระทบต่องบประมาณด้านการรักษาพยาบาล โดยสำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย ได้คาดประมาณการด้านงบประมาณ
ในการดูแลระยะยาวสาหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงเฉลี่ยประมาณ 15,000 ล้านบาทต่อปี (กระทรวงสาธารณสุข, 2565)
การที่ประชากรผู้สูงอายุเพิ่มสูงขึ้น ทำให้พบภาวะผิดปกติด้านสุขภาพ โดยเฉพาะกลุ่มอาการจำเพาะในผู้สูงอายุ (Geriatric syndromes) มากขึ้น ซึ่งเกิดจากภาวะถดถอยของการทำงานของอวัยวะต่างๆ
ในร่างกาย และความเสื่อมจากความชราที่เพิ่มขึ้น มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ปัจจุบันการดูแลผู้สูงอายุ มีความสลับซ้ำซ้อนมากขึ้น โดยเฉพาะการดูแลผู้สูงอายุ เพื่อป้องกันหกล้ม ไม่ลืม ไม่ซึมเศร้า บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขจะต้องทราบและเข้าใจถึงผลกระทบต่อสุขภาพของผู้สูงอายุ และต้องมีการจัดระบบบริการสุขภาพในผู้สูงอายุให้เหมาะสม และปลอดภัย เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุให้ดีขึ้น อีกทั้งกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้มีแนวคิด “ไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวอร่อย” เป็นแนวคิดที่ ใช้ดำเนินการส่งเสริมสุขภาพซึ่งประกอบไปด้วย การจัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ การประเมินภาวะหกล้ม การออกกำลังกายป้องกันภาวะหกล้ม การคัดกรองสุขภาพสายตา การฝึกสมอง การประเมินภาวะซึมเศร้า (วีรพล กิตติพิบูลย์ และนิธิรัตน์ บุญตานนท์, 2563)
จังหวัดนราธิวาส มีประชากรสูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) ย้อนหลัง 3 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2563 - 2565 เท่ากับร้อยละ 11.46 11.74 และ 12.60 ตามลำดับ และในปีงบประมาณ 2567 มีประชากรสูงอายุ จำนวน 89,985 คน (652,839) คิดเป็นร้อยละ 13.78 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าจังหวัดนราธิวาสมีประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้นทุกปี และก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และจากการดำเนินงานผู้สูงอายุของอำเภอบาเจาะ พบว่า ผู้สูงอายุอำเภอบาเจาะ (30 กันยายน 2567) มีทั้งหมด 6,091 คน คิดเป็นร้อยละ 13.31 ซึ่งถือว่าได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ในจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมดนี้ ได้รับการคัดกรองสุขภาพ 1,620 คน คิดเป็นร้อยละ 26.51 แบ่งเป็นผู้สูงอายุ กลุ่มที่ 1 (ติดสังคม) จำนวน 1,620 คน ร้อยละ 26.59 กลุ่มที่ 2 (ติดบ้าน) จำนวน 25 คน ร้อยละ 0.41 และกลุ่มที่ 3 (ติดเตียง) จำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 0.29 กลุ่มผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นนี้จะนำมาซึ่งภาวะเสี่ยงและปัญหาด้านสุขภาพ โดยเฉพาะการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังและกลุ่มอาการที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ เนื่องจากวัยสูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ จากการคัดกรองโรคและปัญหาสำคัญที่พบบ่อยในผู้สูงอายุจึงเป็นด่านแรกที่นำผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านสุขภาพเข้าสู่กระบวนการรักษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดการถดถอยของการมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป จังหวัดนราธิวาส ได้กำหนดนโยบาย “ชราธิวาส” ซึ่งเป็นแนวคิดของ นายแพทย์ชัยวัฒน์ พัฒนาพิศาลศักดิ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุให้มีสุขภาพดี ได้รับการบริการแบบไร้รอยต่อและเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุภายใต้กิจกรรมการคัดกรองภาวะ Geriatric syndrome เพื่อป้องกันปัญหาที่สำคัญ ได้แก่ ภาวะหกล้ม ภาวะสมองเสื่อม และภาวะซึมเศร้า รวมถึงกำหนดการพัฒนาคลินิกผู้สูงอายุคุณภาพในทุกสถานบริการเพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับบริการอย่างไร้รอยต่อ ใกล้บ้าน ใกล้ใจ ซึ่งเป็นกลุ่มที่จำเป็นต้องมีการส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันการเกิดภาวะพึ่งพิงและส่งผลให้เกิดภาวะทุพลภาพ รวมถึงการเสริมสร้างความรู้ให้กับผู้ดูแลมีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลผู้สูงอายุ ด้วยความสำคัญดังกล่าวทางโรงพยาบาลบาเจาะจึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ประจำปีงบประมาณ 2568 ขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อส่งเสริมและติดตามประเมินภาวะสุขภาพในกลุ่มผู้สูงอายุ
|
||
2 | เพื่อพัฒนาและฟื้นฟูสมรรถนะอสม.ผู้ดูแลผู้สูงอายุให้มีความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานเชิงรุกได้อย่างต่อเนื่อง
|
||
3 | เพื่อให้ผู้สูงอายุได้เข้าถึงบริการสุขภาพตามชุดสิทธิประโยชน์
|
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อส่งเสริมและติดตามประเมินภาวะสุขภาพในกลุ่มผู้สูงอายุ |
||||||
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | ||
วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อพัฒนาและฟื้นฟูสมรรถนะอสม.ผู้ดูแลผู้สูงอายุให้มีความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานเชิงรุกได้อย่างต่อเนื่อง |
||||||
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | ||
วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : เพื่อให้ผู้สูงอายุได้เข้าถึงบริการสุขภาพตามชุดสิทธิประโยชน์ |
||||||
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 |
หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้
1.ผู้สูงอายุได้รับการส่งเสริมสุขภาพ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี 2. ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองสุขภาพและดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่อง 3. อาสาสมัครหมู่บ้าน ได้รับการพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่อง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 มี.ค. 2568 10:11 น.