กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันการตั้งครรถ์ในวัยเด็กวัยเรียนแลัวัยรุ่น
รหัสโครงการ 68-l2515-01-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.มะนังปันยัง
วันที่อนุมัติ 6 กุมภาพันธ์ 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 10,450.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวรุสนีตา สนิทกันภัย
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสามัคคี อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.423,101.587place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 10,450.00
รวมงบประมาณ 10,450.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 35 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น หมายถึง การตั้งครรภ์ในสตรีที่มีอายุระหว่าง 10-19 ปี โดยถืออายุ ณ เวลาที่คลอด บุตร ซึ่งในบางการศึกษาจะแบ่งเป็นช่วงวัยรุ่นตอนต้น คือ อายุ 10-14 ปี และช่วงวัยรุ่น คืออายุ 15-19 ปี โดย ปัจจัยเสี่ยงของการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นนั้นเกิดจากปัจจัยหลายด้าน เช่น การคุมกำเนิดที่ไม่เหมาะสม การศึกษาต่ำการที่เริ่มมีเพศสัมพันธ์เร็ว การเข้าถึงทางการแพทย์ไม่ดี ความเชื่อทางศาสนา หรือการที่มีประวัติครอบครัว ตั้งครรภ์เมื่อวัยรุ่นข้อมูลจากกรมอนามัย ในปี พ.ศ.2563 (4) พบว่าอัตราการคลอดบุตรในกลุ่มตั้งครรภ์วัยรุ่นอยู่ที่ 28.7 ต่อ วัยรุ่นอายุ 15-19 ปีจำนวน 1,000 ราย ซึ่งมีแนวโน้มลดลงเช่นเดียวกับแนวโน้มของโลก ซึ่งสาเหตุเกิดจากการที่วัยรุ่นมีการคุมกำเนิดอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และการสอนเกี่ยวกับเรื่องเพศให้กับวัยรุ่นมากขึ้น โดยข้อมูลใน จังหวัดเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 2563 พบว่าจำนวนหญิงตั้งครรภ์ในกลุ่มอายุ 15-19 ปี มีอัตราการคลอดอยู่ที่ 28.69 ต่อวัยรุ่นอายุ 15-19 ปีจำนวน 1,000 ราย ซึ่งมีจำนวนลดลงเมื่อเทียบจากปี พ.ศ. 2561 และปี พ.ศ. 2562 อยู่ที่ 16 และ 7.8 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับข้อมูลจากทะเบียนหญิงตั้งครรภ์ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านมะนังปันยัง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565พบว่าอัตราการตั้งครรภ์และคลอดบุตรในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นอายุ 15-19 พบว่า มีหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นอยู่ที่ร้อยละ 8.33 ( 4 ราย) จากจำนวนหญิงตั้งครรภ์ทั้งหมดจำนวน 48 ราย ปีพ.ศ. 2566 พบว่าอัตราการตั้งครรภ์และคลอดบุตรในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นอายุ15-19 พบว่า มีหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นอยู่ที่ร้อยละ 7.1 ( 3 ราย) จากจำนวนหญิงตั้งครรภ์ทั้งหมดจำนวน 42 ราย ปีพ.ศ. 2567 พบว่าอัตราการตั้งครรภ์และคลอดบุตรในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นอายุ 15-19 พบว่า มีหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นอยู่ที่ร้อยละ 11.36 ( 5 ราย) จากจำนวนหญิงตั้งครรภ์ทั้งหมดจำนวน 44 ราย ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านมะนังปันยัง ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการ ป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงได้ดำเนินการจัดทำโครงการป้องกันการตั้งครรภ์ในเด็กวัยเรียนและวัยรุ่น เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ที่ถูกต้องเรื่องเพศศึกษา การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรให้แก่เยาวชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้เด็กวัยเรียน วัยรุ่นและผู้ปกครองได้มีคามรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้น จากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร 2.เพื่อให้เด็กวัยเรียน วัยรุ่นและผู้ปกครองได้เรียนรู้ถึงหน้าที่และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมและมีความรัก ความเข้าใจกันมากขี้น

1.เด็กวัยเรียน วัยรุ่น และผู้ปกครอง มีความรู้ ความเข้าใจและตระหนักถึงผลที่เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรและการตั้วครรถ์ไม่พร้อม 2.ครอบครัวมีความอบอุ่น พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ทำหน้าที่อบรมสั่งสอรนลูกหลานให้เป็นคนดี มีคุณธรรม  จริยธรรม รู้จักหน้าที่รับผิดชอบและมีพฤคิกรรมที่เหมาะสมตามวัย

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เพื่อให้เด็กวัยเรียน วัยรุ่นและผู้ปกครอง มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเพศศึกษา และการป้องกัน การตั้งครรภ์ 2.เพื่อเสริมวสร้างควาใภาคภูมิใจตนเองของวัยรุ่น และมีทักษะในการปฏิเสธต่อพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการดำรงชีวิต

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 มี.ค. 2568 10:57 น.