กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนด้วยโรคความดันโลหิตร่วมด้วย
รหัสโครงการ 61-L2534-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลสุคิริน
วันที่อนุมัติ 28 พฤศจิกายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2561 - 31 สิงหาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 28 กันยายน 2561
งบประมาณ 32,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายคมสรรค์ ชื่นรัมย์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสุคิริน อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 5.951,101.697place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

แผนยุุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีไทย พ.ศ.2554-2563 เป็นแผนยุทธศาสตร์ระดับชาติ ใช้เป็นกรอบการขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติอย่างบูรณาการ โดยมีเป้าหมายหลักในการพัฒนา คือลดปัญหาโรควิถีชีวิตที่สำคัญ 5 โรคใน 5 ด้าน คือลดการเกิดโรค ลดภาวะแทรกซ้อน ลดการพิการ ลดการตาย และลดภาระค่าใช้จ่าย เพิ่มวิถึชีวิตพอเพียงใน 3 ด้าน คือการบริโภคที่เหมาะสม การออกกำลังกายที่พอเพียง และการจัดการอารมณ์ที่ดี ซึ่งโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรัง 2 ใน 5 โรคที่ต้องลดการเกิดโรค ภาวะแทรกซ้อน ลดการพิการ ลดการตาย และลดภาระค่าใช้จ่ายด้วย จากข้อมูลของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาสตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2559-1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560 พบอัตราป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ป่วยเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงทั้งสิ้น 23,533 ราย คิดเป็นสัดส่วนเท่ากับ 2.32 ของประเทศ เป็นเพศชาย 8.961 ราย และเพศหญิง 15,617 ราย คิดเป็นอัตราส่วนระหว่างเพศชายกับเพศหญิง เท่ากับ 1.57 และเพศหญิงป่วยเป็นโรคเบาหวานมากกว่าเพศชายเป็น 2 เท่า ส่วนในอำเภอสุคิริน พบผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงทั้งสิ้น 630 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.4 ของผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในจังหวัดนราธิวาส แบ่งเป็นเพศชาย จำนวน 221 ราย เพศหญิง 409 ราย คิดเป็นอัตราส่วนระหว่างเพศชายกับเพศหญิงเท่ากับ 0.57 และพบผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่มีภาวะแทรกซ้อนแบ่งเป็นเพศชาย 217 ราย เพศหญิง 151 ราย ที่สำคัญพบว่ามีผู้ป่วยที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิตสูงไม่ได้จำนวน 430 ราย คิดเป็นสัดส่วน 14.54 % แบ่งเป็นเพศชาย 156 ราย และเพศหญิง 244 ราย ซึ่งผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิตสูงไม่ได้ มีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนทางตา ไต เท้า และเสี่ยงต่อการถูกตัดเท้าได้ เป็นอัมพฤก อัมพาต นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจ เศรษฐกิจ สังคมของผู้ป่วยโรคเบาหวานโดยรวมด้วย ดังนั้นงานสุขศึกษาประชาสัมพันธ์เห็นความสำคัญต่อการป้องกันอันตรายจากโรคที่จะเกิดขึ้น และต้องการให้ผู้ป่วยกลุ่มป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนเกิดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบเพื่อนำไปสู่การปลับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องและปลอดภัยจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อศึกษารูปแบบการดูแลสุขภาพตนเองจากกระบวน AIC มาประยุกต์ใช้ในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และมีภาวะแทรกซ้อน เป็นโรคความดันโลหิตสูงร่วมด้วย

ประสิทธิผลของรูปแบบการดูแลสุขภาพตนเองจากกระบวนการ AIC สามารถประยุกต์ใช้กับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะความดันโลหิตสูงร่วมด้วย ร้อยละ 60

60.00
2 ร้อยละของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้และมีภาวะแทรกซ้อนด้วยโรคความดันโลหิตสูงร่วมด้วยที่เข้าร่วมรูปแบบการดูแลสุขภาพตนเองสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและควบคุมความดันโลหิตสูงร่วมด้วยได้

ร้อยละ 60 ของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้และมีภาวะแทรกซ้อนด้วยโรคความดันโลหิตสูงร่วมด้วยที่เข้าร่วมรูปแบบการดูแลสุขภาพตนเองสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและควบคุมความดันโลหิตสูงร่วมด้วยได้

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 พ.ค. 61 - 31 ส.ค. 61 การอบรมให้ความรู้เรื่องพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมกับโรคเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนเป็นโรคความดันโลหิตสูงร่วมด้วย ประกอบด้วยกิจกรรมกลุ่ม การเรียนรู้ร่วมกัน 80 8,000.00 8,000.00
1 พ.ค. 61 - 31 ส.ค. 61 ติดตามพฤติกรรมสุขภาพและการเสริมทักษะการดูแลตนเอง ด้านการรับประทานอาหาร การับประทานยา การจัดการอารมณ์ การออกกำลังกาย ทักษะการเลิกบุหรี่และสุรา และการสรุปผลการเข้าร่วมกิจกรรมตลอดระยะเวลา 12 สัปดาห์นัดพบที่โรงพยาบาลเดือนละ 1 ครั้ง จำนวน 3 วัน 0 24,000.00 24,000.00
รวม 80 32,000.00 2 32,000.00

1.ขั้นเตรียมการ 1.1 ลงพื้นที่เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้และมีภาวะความดันโลหิตสูงร่วมด้วย 1.2 ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 1.3 จัดประชุมคณะทำงาน เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการดำเนินงาน 1.4 จัดทำโครงการเสนอกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลสุคิริน 1.5 ดำเนินการตามโครงการ 2.ขั้นตอนการดำเนินงาน 2.1 ประชุมคณะทำงานเพื่อชี้แจงทำความเข้าใจรูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้และมีภาวะแทรกซ้อนเป็นโรคความดันโลหิตสูงร่วมด้วย 2.2 จัดประชุมผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้และมีภาวะแทรกซ้อนเป็นโรคความดันโลหิตสูงร่วมด้วย 2.3 คัดเลือกผู้ป่วยที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการและผู้ที่ไม่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ 2.4 จัดทำเครื่องมือ เพื่อติดตามประเมินผลก่อนและหลังการทดลอง ใช้รูปแบบการดูแลสุขภาพตนเอง 2.5 วางแผนการติดตามผู้ป่วยตามรูปแบบอย่างสม่ำเสมอตามโปรแกรมที่กำหนด 3.ขั้นตอนการประเมินผล 3.1 ประเมินผลก่อนและหลังการทดลอง 3.2 ประเมินระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิตสูง 3.3 ประเมินความพึงพอใจ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีทักษะ ความรู้ และพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง สามารถดูแลสุขภาพตนเองและสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดตามเกณฑ์ได้
  2. ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีส่วนร่วมในการคิด ตัดสินใจ กำหนด และเลือกวิธีการดูแลสุขภาพร่วมกับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  3. ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรงพยาบาลสุคิริน มีรูปแบบเฉพาะต่อการดูแลสุขภาพตนเองในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ที่เกิดจากกระบวนการคิด วิเคราะห์จากกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ที่รู้และเข้าใจสภาพปัญหา เพื่อการแก้ปัญหาที่ยั่งยืน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ม.ค. 2561 10:05 น.