โครงการส่งเสริมสุขภาพเด็กตำบลดอน เก่ง ดี มีสุข ประจำปีงบประมาณ 2568
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมสุขภาพเด็กตำบลดอน เก่ง ดี มีสุข ประจำปีงบประมาณ 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L8419-01-01 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดอน |
วันที่อนุมัติ | 10 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 10 กุมภาพันธ์ 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 39,340.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวอะหลัน มะมิง |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลดอน อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน | 214 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน : |
||
กลุ่มวัยทำงาน | 80 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข ตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านสาธารณสุขโดยกำหนดยุทธศาสตร์ความเป็นเลิศไว้4 ด้าน หนึ่งในสี่ด้านนั้นคือ ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเป็นเลิศ (Prevention Promotion& Protection Excellence) โดยมีแผนงานที่สำคัญ คือ แผนงานการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไทยทุกกลุ่มวัย เด็กกลุ่มอายุ 0-5 ปี หมายถึง เด็กแรกเกิดถึง 5 ปี 11 เดือน 29 วัน ซึ่งเป็นช่วงอายุสำคัญที่สุดของมนุษย์ เพราะเป็นวัยที่มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการเร็วมาก สภาพปัญหา : จากผลการสำรวจสุขภาพเด็กปฐมวัย 0-5ปี ของตำบลดอน ในปี 2565-2567 พบว่าเด็กมีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 88.17 ,73.65 และ 62.50 ตามลำดับ (เป้าหมายไม่น้อยกว่าร้อยละ85)และจากรายงานระบบคลังข้อมูลทางการแพทย์และสุขภาพ (HDC) ในกลุ่มสตรีและเด็ก ตำบลดอน พบว่า ปี 2565-2567 ได้รับการคัดกรองพัฒนาการ ร้อยละ 89.94 ,75.45 และ63.95 (เป้าหมายไม่น้อยกว่าร้อยละ90) เด็ก 0-5 ปี มีพัฒนาการสงสัยล่าช้า ร้อยละ 24.34 ,23.81 และ 16.36 (เป้าหมายไม่น้อยกว่าร้อยละ 20) เด็ก0-5 ปี ที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้าได้รับการติดตามกระตุ้น ร้อยละ 91.89 ,90 และ100 เด็ก0-5 ปีสูงดีสมส่วน ร้อยละ 63.77 ,67.40 และ54.43และ(เป้าหมายไม่น้อยกว่าร้อยละ 66) ความเร่งด่วน / ผลที่คาดหวัง : จากผลการดำเนินงานดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงการดำเนินงานด้านสุขภาพปฐมวัย ในตำบลดอน ที่ผ่านมา เช่น การใช้คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) เป็นเครื่องมือในการคัดกรองพัฒนาการเด็ก การเฝ้าระวังการเจริญเติบโตของเด็ก ร่วมกับการพัฒนาแกนนำ ให้มีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะในการใช้เครื่องมืออย่างต่อเนื่องทำให้สามารถค้นหาเด็กที่มีปัญหาโภชนาการ และพัฒนาการได้มากยิ่งขึ้น และเมื่อเด็กที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้าได้รับการกระตุ้นพัฒนาการโดยพ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูเด็ก อสม. และครูผู้ดูแลเด็กอย่างต่อเนื่อง ภายใน 30วัน พบว่าเด็กมีพัฒนาการสมวัยมากขึ้นแต่อย่างไรก็ตามยังมีเด็กอายุ 0-5 ปี ที่ไม่ได้รับการดูแล เฝ้าระวัง กระตุ้น และส่งเสริมพัฒนาการและโภชนาการตามช่วงวัยอย่างเพียงพอและเหมาะสมทั้งจากครอบครัว ชุมชน รวมถึงหน่วยบริการที่ดูแลเด็กกลุ่มนี้ เช่น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนระดับอนุบาล เป็นต้น ดังนั้น เพื่อการแก้ปัญหาเด็กอายุ 0-5 ปี ที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้า และภาวะโภชนาการในพื้นที่ตำบลดอน โดยอาศัยกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของชุมชนที่เห็นความสำคัญและร่วมกันป้องกัน แก้ไข โดยอาศัยภาคีเครือข่ายต่างๆ ทั้งในและนอกระบบบริการสาธารณสุข เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของพ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูเด็ก ให้เกิดความรอบรู้เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็ก ให้เหมาะสมตามช่วงวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านพัฒนาการ และโภชนาการ ให้สามารถเฝ้าระวัง กระตุ้น ส่งเสริม แก้ไขปัญหา และบอกต่อกับผู้อื่นต่อไปได้ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพเด็กตำบลดอน เก่ง ดีมีสุข ประจำปีงบประมาณ 2568 ขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพื่อสร้างเสริมความรอบรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็ก โดยการให้คำแนะนำ คำปรึกษา ให้ความรู้และสาธิต ด้านการส่งเสริมภาวะโภชนาการ วัคซีน ภาวะซีด ทันตสุขภาพ พัฒนาการ และสติปัญญาในเด็ก 0-5 ปี
|
0.00 | |
2 | 2. เพื่อให้บริการเฝ้าระวัง ประเมิน คัดกรอง การเยี่ยมบ้าน และการเข้าถึงชุดสิทธิประโยชน์ ด้านภาวะสุขภาพ โภชนาการ วัคซีน ภาวะซีด ทันตสุขภาพ และพัฒนาการ ในเด็ก 0-5 ปี
|
0.00 | |
3 | 3. เพื่อให้เด็ก 0-5 ปี ที่มีภาวะทุพโภชนาการ หรือพัฒนาการสงสัยล่าช้าได้รับการดูแลช่วยเหลือและส่งต่อเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
|
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 130 | 39,340.00 | 0 | 0.00 | |
4 ก.พ. 68 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์ในการดำเนินโครงการ และสะท้อนคืนกลับข้อมูลสภาวะสุขภาพเด็กปฐมวัย ได้แก่ ข้อมูลด้าน โภชนาการ พัฒนาการ ฟัน ภาวะซีด วัคซีน และพฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็กอายุ 0-5 ปี ให้แก่ทีมแกนนำและชุมชน เพื่อสร้างการมีส่วนร่วม ไตรมาสละ 1 ครั | 50 | 5,000.00 | - | ||
4 ก.พ. 68 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมที่ 2 อบรมเพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้เรื่องพัฒนาการโดยใช้โปรแกรมการส่งเสริมพัฒนาการและสร้างวินัยเชิงบวกโดยครอบครัวมีส่วนร่วม (Triple P) ในสถานที่ที่เหมาะสมตามบริบทชุมชน จำนวน 30 คน (ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็ก/ครูศพด./แกนนำ จำนวน 30 คน) | 30 | 15,340.00 | - | ||
4 ก.พ. 68 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมที่ 3 จัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับตรวจสุขภาพเด็ก (ไม้วัดตัวแบบยืน/นอน) | 0 | 16,500.00 | - | ||
4 ก.พ. 68 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมที่ 4 ออกตรวจคัดกรองภาวะโภชนาการและพัฒนาการในเด็ก 0-5 ปี ในศพด. และชุมชน (เด็ก 40 คน ,แกนนำ 10 คน จำนวน 50 คน) | 50 | 2,500.00 | - |
- ประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์ในการดำเนินโครงการ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วม ให้คณะกรรมการระดับตำบลและผู้เกี่ยวข้องทราบพร้อมร่วมวางแผนการดำเนินงาน
- จัดเก็บข้อมูลสภาวะสุขภาพเด็กปฐมวัย ด้านการส่งเสริมภาวะโภชนาการ วัคซีน ภาวะซีด ทันตสุขภาพ และพัฒนาการ
- สะท้อนคืนกลับข้อมูลสภาวะสุขภาพเด็กปฐมวัย ได้แก่ ข้อมูลด้าน โภชนาการ พัฒนาการ ฟัน ภาวะซีด วัคซีน และพฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็กอายุ 0-5 ปี ให้แก่ทีมแกนนำและชุมชน
- อบรมพัฒนาศักยภาพครู ก ในการจัดกระบวนการเรียนรู้
4.1 ด้านพัฒนาการ ใช้โปรแกรมการส่งเสริมพัฒนาการและสร้างวินัยเชิงบวกโดยครอบครัวมีส่วนร่วม (DSPM Family – mediated Preschool parenting Program : Triple P) ซึ่งเป็นโปรแกรมที่พัฒนาโดยกรมสุขภาพจิต เพื่อให้พ่อแม่ ผู้ปกครองใช้เป็นแนวทางในการดูแล ส่งเสริมพัฒนาการบุตรหลาน ผ่านกิจกรรม กอด ร้อง เล่น เต้น วาด สร้างสมาธิ รวมถึงการสร้างวินัย และสื่อสารเชิงบวก
4.2 ด้านโภชนาการ ผ่านกระบวนการสาธิตและฝึกปฏิบัติ การชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงและแปรผลโภชนาการ การจัดเมนูอาหารเด็กปฐมวัยด้วยโมเดลอาหาร และการสาธิตการประกอบอาหารสำหรับเด็กปฐมวัย - จัดหาไม้วัดตัวแบบยืน/นอน เพื่อให้ได้มาตรฐานและมีคุณภาพในการวัดส่วนสูงเด็กในชุมชน
- ให้ความรู้และตรวจคัดกรองภาวะโภชนาการและพัฒนาการในเด็ก ศพด. และชุมชน
- ประชุมทบทวนการดำเนินงานและติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
- สรุปและรายงานผลการดำเนินงาน
- พ่อแม่ ผู้ปกครอง และเด็กอายุ 0-5 ปี ได้รับการส่งเสริมสุขภาพ เพื่อสร้างความรอบรู้ ในการดูแลสุขภาพอย่างถูกต้องและเหมาะสม
- เด็กอายุ 0-5 ปี ได้รับบริการ เฝ้าระวัง ประเมิน คัดกรอง และส่งต่อ เพื่อการดูแลอย่างเหมาะสม หากเกิดความเสี่ยงด้านสุขภาพ และได้รับบริการตามชุดสิทธิประโยชน์อย่างครอบคลุมต่อเนื่อง
- เกิดนวตกรรมเชิงกระบวนการในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน และทุกภาคส่วนอย่างยั่งยืน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ก.พ. 2568 00:00 น.