โครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปากในเด็กวัยเรียน ปีงบประมาณ 2568
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปากในเด็กวัยเรียน ปีงบประมาณ 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L1481-1-01 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าพญา |
วันที่อนุมัติ | 18 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 18,220.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางธัญญาลักษณ์ นาคบรรพ์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | นางธัญญาลักษณ์ นาคบรรพ์ |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลท่าพญา อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.354,99.674place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 90 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัญหาสุขภาพช่องปากของเด็กวัยเรียนเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพอนามัยของเด็ก ซึ่งโรคฟันผุเป็นปัญหาสุขภาพช่องปากหลักที่พบในกลุ่มเด็กวัยเรียน หากได้รับการรักษาไม่เหมาะสมหรือช้าเกินไปจะส่งผลให้เกิดการสูญเสียฟันน้ำนมก่อนเวลาอันควร จากการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 9 ประเทศไทย พ.ศ.2566 ของสำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย พบว่า เด็กอายุ 3 ปีมีฟันผุระยะเริ่มต้นร้อยละ 38.0 มีความชุกในการเกิดโรคฟันผุร้อยละ 47.0 มีค่าเฉลี่ยฟันผุถอน อุด (dmft) 2.5 ซี่ต่อคน และร้อยละ 2.6 ของเด็กอายุ 3 ปีมีประสบการณ์การสูญเสียฟันในช่องปาก ความชุกของการเกิดฟันผุในเด็กอายุ 3 ปีพบสูงสุดในภาคใต้ ร้อยละ 55.5 ค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด 3.2 ซี่ต่อคน ในกลุ่มเด็กอายุ 5 ปี พบว่ามีฟันผุระยะเริ่มต้นร้อยละ 45.5 ความชุกในการเกิดโรคฟันผุร้อยละ 72.1 มีค่าเฉลี่ยฟันผุถอน อุด 4.6 ซี่ต่อคน โดยพบสูงสุดในเขตภาคใต้ คือ ร้อยละ 79.6 ค่าเฉลี่ยฟันผุถอน อุด 5.7 ซี่ต่อคน เด็กอายุ 3 ปีและ 5 ปี มีสภาพฟันที่เสี่ยงต่อโรคฟันผุและจำเป็นต้องรับบริการเคลือบ/ทาฟลูออไรด์เพื่อป้องกันฟันผุใกล้เคียงกันคือ ร้อยละ 29.5 (เฉลี่ย 0.9 ซี่ต่อคน) และร้อยละ 32.3 (เฉลี่ย 0.9 ซี่ต่อคน) และในเด็กอายุ 12 ปี พบความชุกของโรคฟันผุร้อยละ 49.7 โดยมีค่าเฉลี่ยฟันผุถอน อุด (DMFT) เท่ากับ 1.2 ซี่ต่อคน ร้อยละ 36.6 พบฟันผุที่ยังไม่ได้รับการรักษา ร้อยละ 22.1 มีการสูญเสียฟันร้อยละ 2.7 มีเหงือกอักเสบร้อยละ 80.2 พบความชุกของโรคฟันผุ ร้อยละ 61.2 ค่าเฉลี่ยฟันผุถอน อุด ุ (DMFT) 2.1 ซี่ต่อคน ฟันดีไม่มีผุ (Cavity free) คิดเป็นร้อยละ 55.2 มีฟันใช้งาน 28 ซี่ในช่องปาก คิดเป็นร้อยละ 79.2 ซึ่งปัญหาที่สำคัญที่ส่งผลต่อการเกิดโรคฟันผุของเด็กคือ พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็ก พฤติกรรมการแปรงฟันและการใช้ยาสีฟัน พฤติกรรมการบริโภคขนมและเครื่องดื่มที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพช่องปากที่ไม่เหมาะสม ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการปรับพฤติกรรมและส่งเสริมการแปรงฟันให้เด็กอย่างถูกวิธี เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงที่นำสู่การเกิดโรคฟันผุ ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าพญา ได้เห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าวและได้ให้ความสำคัญในการเฝ้าระวังทันตสุขภาพในกลุ่มวัยเรียน จึงได้จัดโครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปากในเด็กวัยเรียน ปีงบประมาณ 2568 ขึ้น เพื่อมุ่งเน้นให้มีการพัฒนาความรู้ด้านการดูแลสุขภาพช่องปาก เพิ่มทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างถูกวิธี ก่อให้เกิดการเด็กวัยเรียนมีสุขภาพช่องปากที่ดี ห่างไกลโรคฟันผุ
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เด็กวัยเรียน ได้รับการส่งเสริมความรู้ด้านทันตสุขภาพและป้องกันโรคในช่องปาก เด็กวัยเรียน จำนวน 86 คน ได้รับการส่งเสริมความรู้ด้านทันตสุขภาพและป้องกันโรคในช่องปาก จำนวน 69 คน คิดเป็นร้อย 80 |
||
2 | เด็กวัยเรียน ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก เด็กวัยเรียน จำนวน 86 คน ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก จำนวน 69 คน คิดเป็นร้อย 80 |
||
3 | เด็กวัยเรียน ได้รับบริการทันตกรรมตามความจำเป็น เด็กวัยเรียน จำนวน 86 คน ได้รับบริการทันตกรรมตามความจำเป็น จำนวน 69 คน คิดเป็นร้อย 80 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เด็กวัยเรียน ได้รับการส่งเสริมความรู้ด้านทันตสุขภาพและป้องกันโรคในช่องปาก |
||||||
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | ||
วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เด็กวัยเรียน ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก |
||||||
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | ||
วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : เด็กวัยเรียน ได้รับบริการทันตกรรมตามความจำเป็น |
||||||
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 |
หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้
- ติดต่อประสานงานกับวิทยากร/เจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- กำหนดปฏิทินและกำหนดการการดำเนินโครงการ
- เสนอขออนุมัติโครงการ ฯ และทำหนังสือเชิญวิทยากร
- จัดซื้อ/เตรียมวัสดุอุปกรณ์ ในการดำเนินงานตามโครงการ
- จัดเตรียมสถานที่ในการดำเนินงานตามโครงการ
- ดำเนินโครงการตามแผนการดำเนินงานที่กำหนด
- ประเมินผลการทำกิจกรรมโครงการ และปัญหา/อุปสรรค
- จัดทำรายงานสรุปผลกิจกรรมเสนอกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลท่าพญา
- เด็กวัยเรียนได้รับการส่งเสริมความรู้ด้านทันตสุขภาพและป้องกันโรคในช่องปาก
- เด็กวัยเรียนได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก
- เด็กวัยเรียนได้รับบริการทันตกรรมตามความจำเป็น
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 มี.ค. 2568 13:31 น.