โครงการส่งเสริมโภชนาการ ความฉลาดทางอารมณ์ และเฝ้าระวังคัดกรองพัฒนาการในเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน ตำบลท่าพญา อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง ปีงบประมาณ 2568
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมโภชนาการ ความฉลาดทางอารมณ์ และเฝ้าระวังคัดกรองพัฒนาการในเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน ตำบลท่าพญา อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง ปีงบประมาณ 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L1481-1-03 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าพญา |
วันที่อนุมัติ | 18 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2568 - 31 สิงหาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 16,400.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางธัญญาลักษณ์ นาคบรรพ์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | นางธัญญาลักษณ์ นาคบรรพ์ |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลท่าพญา อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.354,99.674place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 65 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของชาติ ในหลายประเทศล้วนมุ่งเน้นการ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ซึ่งจะต้องเริ่มต้นจากเด็ก โดยเฉพาะเด็กในช่วงแรกเกิด – 6 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการพัฒนาในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจและสังคม เด็กในวัยนี้ถ้าได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม จะส่งผลถึงสุขภาพดีไม่เจ็บป่วย ซึ่งการรับประทานอาหารที่ถูกต้อง เหมาะสม และเพียงพอจะทำให้มีโภชนาการดีนำไปสู่การมีสุขภาพดี ในทางตรงกันข้ามหากกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ไม่เพียงพอจะทำให้ขาดขาดสารอาหารหรือถ้ากินอาหารมากเกินไป ก็จะทำให้เป็นโรคอ้วนหรือโภชนาการเกิน การตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานที่เหมาะสม และมีการส่งเสริมพัฒนาการที่ดีในแต่ละด้าน ก็จะทำให้เด็กนั้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต ซึ่งพัฒนาการเด็กเกิดจากการเปลี่ยนแปลงหลายด้านผสมผสานกัน โดยพัฒนาการทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม ล้วนมีความสำคัญและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหมด การเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการด้านหนึ่งย่อมมีผลให้พัฒนาการอีก ด้านหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปด้วย เช่น เด็กที่มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์มักเคลื่อนไหวคล่องแคล่ว สามารถช่วยเหลือตนเองได้ มีอารมณ์แจ่มใส รู้จักควบคุมอารมณ์ เข้ากับผู้อื่นได้ดี และมีความสนใจเรียนรู้สิ่งรอบตัว ในทางตรงกันข้ามเด็กที่มีสุขภาพไม่ดี มักประสบปัญญาด้านการเจริญเติบโตของร่างกายล่าช้า หรือหยุดชะงักชั่วขณะ อารมณ์หงุดหงิดง่าย มีอาการเศร้าซึม ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ยาก และขาดสมาธิในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ ซึ่งจากการสำรวจพัฒนาการในเด็กไทยพบว่า เด็กอายุ 0 – 6 ปี มีพัฒนาการล่าช้ากว่าร้อยละ ๓๐ หรือประมาณ ๔ ล้านคน
จากการประเมินพัฒนาการเด็ก ในเด็ก 0 – 6 ปี ในปี 2567 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าพญา พบเด็กที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้ารอกระตุ้น 30 วัน ร้อยละ 32.45 พัฒนาการสมวัยครั้งแรกร้อยละ 67.76 นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ปกครองเด็ก 0 – 6 ปี กว่าร้อยละ 70 ยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการประเมินพัฒนาการ และ การกระตุ้นพัฒนาการเด็กในด้านต่างๆ ในการนี้ ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าพญา ได้ให้ความสำคัญกับปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมโภชนาการ ความฉลาดทางอารมณ์ และเฝ้าระวังคัดกรองพัฒนาการใน เด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน ตำบลท่าพญา อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง ปีงบประมาณ 2568
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อพัฒนาความรู้ และทักษะ การติดตามภาวะโภชนาการ การเฝ้าระวังคัดกรองพัฒนาการสมวัยเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 0 – 6 ปี ผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 60 คน ทำแบบประเมินความรู้หลังอบรมผ่านเกณฑ์อย่างน้อย 48 คน คิดเป็นร้อยละ 80 |
||
2 | เด็กอายุ 0-6 ปี ในพื้นที่ตำบลท่าพญา ได้รับการคัดกรองพัฒนาการ เพื่อค้นหาเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าและได้รับการกระตุ้นพัฒนาการ เด็กอายุ 0-6 ปี ในพื้นที่ตำบลท่าพญา จำนวน 80 คน ได้รับการคัดกรองพัฒนาการ เพื่อค้นหาเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าและได้รับการกระตุ้นพัฒนาการทุกคน คิดเป็นร้อยละ 100 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อพัฒนาความรู้ และทักษะ การติดตามภาวะโภชนาการ การเฝ้าระวังคัดกรองพัฒนาการสมวัยเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 0 – 6 ปี |
||||||
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | ||
วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เด็กอายุ 0-6 ปี ในพื้นที่ตำบลท่าพญา ได้รับการคัดกรองพัฒนาการ เพื่อค้นหาเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าและได้รับการกระตุ้นพัฒนาการ |
||||||
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 |
หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้
ระยะเตรียมการ
1. ประชุมสมาชิกชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลท่าพญา เพื่อค้นหาปัญหา
2. สำรวจกลุ่มเป้าหมาย ในเขตที่ อสม. รับผิดชอบในแต่ละครัวเรือน
3. นำเสนอปัญหาพร้อมเขียนโครงการ/ประชาสัมพันธ์โครงการผ่านหอกระจายข่าวและอสม.
4. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินโครงการ
5. กำหนดปฏิทินการดำเนินโครงการ
6. ดำเนินการประสานงานกับวิทยากร
ระยะดำเนินการ
7. อบรมให้ความรู้/ฝึกทักษะการตรวจพัฒนาการเด็ก โดยใช้คู่มือเฝ้าระวังและพัฒนาการเด็กปฐมวัย
ระยะหลังดำเนินการ
8. ติดตามประเมินผล
9. สรุปผลการดำเนินงาน
10. ประเมินผล/สรุปโครงการ
- เด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียนได้รับการเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการให้เหมาะสมตามช่วงวัย
- เด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียนทุกคน ได้รับการตรวจประเมินคัดกรองพัฒนาการ
- เด็กที่มีพัฒนาการไม่สมวัยได้รับการแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
- เด็กมีพัฒนาการที่สมวัยทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจและสังคม
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 มี.ค. 2568 15:02 น.