โครงการชุมชนท่าพญาร่วมใจสำรวจภาชนะน้ำขัง ตัดวงจรยุงลาย
ชื่อโครงการ | โครงการชุมชนท่าพญาร่วมใจสำรวจภาชนะน้ำขัง ตัดวงจรยุงลาย |
รหัสโครงการ | 68-L1481-1-05 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าพญา |
วันที่อนุมัติ | 18 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2568 - 31 สิงหาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 15,480.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางธัญญาลักษณ์ นาคบรรพ์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | นางธัญญาลักษณ์ นาคบรรพ์ |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลท่าพญา อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.354,99.674place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 63 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อโดยมียุงลายเป็นพาหะ ที่สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากโรคนี้มีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปีและพบว่าประชากรที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มเด็กวัยเรียนที่มีอายุตั้งแต่ ๕ –๑๔ ปี แต่ปัจจุบันยังพบผู้ป่วยไข้เลือดออกในผู้ใหญ่และมีการเกิดโรคตลอดทั้งปีอีกด้วย ดังนั้นการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคและรณรงค์ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออกและร่วมมือกันเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาดของโรคนี้
ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของ โรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกันกระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน โรงเรียน ศาสนสถาน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ
ในปี 2567 ประเทศไทย มีรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 81,052 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 124.86 ต่อประชากรแสนคน พบผู้เสียชีวิต จำนวน 63 ราย คิดเป็นอัตราตาย 0.09 ต่อประชากรแสนคน อัตราป่วยตาย คิดเป็นร้อยละ 0.07 พื้นที่เขต 12 พบผู้ป่วย จำนวน 9,922 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 199.70 ต่อประชากรแสนคน พบผู้เสียชีวิต จำนวน 7 ราย (จ.สงขลา 2 ราย จ.ปัตตานี 2 ราย จ.ยะลา 2 ราย และ จ.พัทลุง 1 ราย ) คิดเป็นอัตราตาย 0.14 ต่อประชากรแสนคน อัตราป่วยตาย คิดเป็นร้อยละ 0.07 จังหวัดตรังพบผู้ป่วย จำนวน 975 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 153.21 ต่อประชากรแสนคน ไม่มีผู้เสียชีวิต (ที่มา : แพลตฟอร์มเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาในรูปแบบดิจิทัล Digital Disease Surveillance : DDS พ.ศ.2567 ข้อมูล ณ วันที่ 27 ก.ย. 2567)
อำเภอปะเหลียน พบผู้ป่วย 191 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 301.75 ต่อประชากรแสนคน ตำบลท่าพญา พบผู้ป่วย จำนวน 9 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 261.63 ต่อแสนประชากร ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต (ที่มา : งานระบาดวิทยาสำนักงานสาธารณสุขอำเภอปะเหลียน ข้อมูล ณ 7 ตุลาคม 2567)
ดังนั้นเพื่อเป็นการรับมือโรคไข้เลือดออกที่เกิดขึ้น ไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดในตำบลท่าพญา จึงต้องมีการร่วมกันสำรวจภาชนะน้ำขัง ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย โดยเน้นให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันและควบคุมโรคในชุมชน เกิดการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ถือเป็นภารกิจที่ผู้นำในชุมชนและองค์กรชุมชนต้องช่วยกันกระตุ้น ให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงได้จัดทำโครงการ “ชุมชนท่าพญาร่วมใจสำรวจภาชนะน้ำขัง ตัดวงจรยุงลาย” เพื่อป้องกันและหยุดการระบาดของโรคไข้เลือดออกในช่วงฤดูกาลก่อนการระบาดของโรค ช่วงที่มี การระบาด และหลังการระบาดของโรคไข้เลือดออก เพิ่มความครอบคลุมของการรณรงค์สำรวจภาชนะน้ำขัง กำจัดลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน วัด และชุมชน ลดความชุกชุมของลูกน้ำยุงลาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ชุมชนเกิดการดำเนินกิจกรรมสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชนอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง ชุมชนดำเนินการสำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในบ้านของตนเองร่วมกับอสม. ไม่น้อยกว่า 828 หลังคาเรือน คิดเป็นร้อยละ 90 ของจำนวนหลังคาเรือนทั้งหมด |
||
2 | เพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลายและยุงลายพาหะนำโรคในบ้านชุมชนโรงเรียน และวัด ร้อยละ 100 ของโรงเรียนและวัดที่สำรวจ มีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย CI = 0 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อให้ชุมชนเกิดการดำเนินกิจกรรมสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชนอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง |
||||||
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | ||
วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลายและยุงลายพาหะนำโรคในบ้านชุมชนโรงเรียน และวัด |
||||||
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 |
หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้
ระยะเตรียมการ
1. ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง สร้างทีมงานเป็นเครือข่าย ร่วมทำงานเป็นทีมเพื่อค้นหาปัญหา
2. นำเสนอปัญหาพร้อมเขียนโครงการ/ประชาสัมพันธ์โครงการผ่านหอกระจายข่าวและอสม.
ระยะดำเนินการ
1. ศึกษาพฤติกรรมคนในชุมชน/สภาพแวดล้อมบริเวณบ้านที่ก่อให้เกิดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
2. ประชุมชี้แจงผู้นำชุมชน/อสม./ตัวแทนกลุ่มเป้าหมายและผู้เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนแก้ไขปัญหา
3. จัดทำแบบเสนอโครงการเพื่อขอของบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ
4. ประชาสัมพันธ์/จัดทำและขออนุมัติโครงการ
5. ดำเนินกิจกรรมณรงค์สำรวจภาชนะน้ำขัง และทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน,โรงเรียน
และวัด ร่วมกับผู้นำชุมชน ,แกนนำในหมู่บ้าน และอาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.)
6. จัดทำทะเบียนข้อมูลหลังคาเรือนที่ได้ให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย
ระยะหลังดำเนินการ
1. ติดตามประเมินผล
2. สรุปผลการดำเนินงาน
3. ประเมินผล/สรุปโครงการ
1 .ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก
2.ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องโรคไข้เลือดออก
3.ประชาชนให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
4.ทำให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
5.ทำให้สามารถลดความชุกของลูกน้ำยุงลาย
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 มี.ค. 2568 15:46 น.