โครงการ อย.น้อยสุขภาพดี เริ่มที่โรงเรียน
ชื่อโครงการ | โครงการ อย.น้อยสุขภาพดี เริ่มที่โรงเรียน |
รหัสโครงการ | 68 - L5194 – 2 - 14 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงเรียนบ้านพรุหลุมพี |
วันที่อนุมัติ | 20 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2567 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 15 สิงหาคม 2568 |
งบประมาณ | 10,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางพเยาว์ จันทร์เพชรศรี |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลสะกอม อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.88,100.818place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 106 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มวัยทำงาน | 13 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล จากวิถีการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนไปจากเดิมเป็นวิถีชีวิตแบบรีบเร่ง และเอาตัวรอดมากขึ้น มีสื่อประเภทต่าง ๆ เข้ามามีบทบาทในสังคมปัจจุบัน เพิ่มมากขึ้นให้ผู้บริโภคอาจหลงเชื่อจนกระทั่งตัดสินใจ เลือกซื้อใช้ผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ซึ่งต่างจากในอดีต ประชากรมักดำรงชีวิตแบบเอื้ออาทรอีกทั้งด้านการผลิต ยังคงใช้วัสดุจากธรรมชาติเป็นส่วนประกอบมากกว่า รวมถึงมีการเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภคด้วยกลวิธีต่าง ๆ ของผู้ผลิต ยังไม่มากเช่นปัจจุบัน เด็กที่อยู่ในวัยเรียนส่วนใหญ่มักมีพฤติกรรมในการเลือกซื้อ หรือใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสีสันต้องตา หรือกำลังอยู่ในช่วงของการโฆษณา ตามสื่อประเภทต่าง ๆ โดยมิได้คำนึงถึงประโยชน์ อันตรายหรือความปลอดภัย พฤติกรรมดังกล่าวนี้อาจเกิดจากหลายสาเหตุ โดยเฉพาะหากกลุ่มเยาวชนดังกล่าวไม่ได้รับความรู้เกี่ยวกับการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ประเภทต่าง ๆ ซึ่งผู้ผลิตได้ผลิตออกมาเพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภคอย่างหลากหลาย มีทั้งผลิตภัณฑ์ที่ถูกต้องตามมาตรฐานที่กำหนด แต่ก็ยังคงมีผลิตภัณฑ์ที่ผู้ผลิตได้แอบอ้างสรรพคุณ มีการโฆษณาชวนเชื่อเกินความเป็นจริง หรืออาจมีผลิตภัณฑ์ที่มีสารปนเปื้อนในอาหาร และการอ่านดูข้อมูลโภชนาการ จากฉลากผลิตภัณฑ์ควบคู่ไปด้วย หากเยาวชนกลุ่มดังกล่าวมีความรู้และมีทักษะในการเลือกซื้อใช้ผลิตภัณฑ์ประเภทต่าง ๆ จะทำให้สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันจนสามารถทำให้ปัญหาด้านสุขภาพหรือปัญหา ด้านสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ลดน้อยลงได้ พร้อมทั้งให้ความรู้ ให้คำปรึกษาแก่บุคคลในครอบครัว หรือบุคคลทั่วไปได้อย่างมั่นใจ นอกจากนี้ หากมีการตรวจสอบคุณภาพน้ำดื่มในโรงเรียน จะทำให้นักเรียน ครูและบุคคลากรในโรงเรียนมีความมั่นใจ และเกิดความปลอดภัยต่อสุขภาพมากขึ้ โรงเรียนบ้านพรุหลุมพี เล็งเห็นความสำคัญของเด็กที่อยู่ในวัยเรียนซึ่งเป็นผู้ที่กระตือรือร้นในการทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ และเป็นผู้ที่มีศักยภาพในตัวเอง สามารถชี้นำเพื่อนและผู้ปกครองให้สนับสนุน การดำเนินงานที่ดีอย่างได้ผล จึงได้ดำเนินการจัดกิจกรรม อย.น้อย พร้อมทั้งขยายการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ไปยังเครือข่ายผู้ปกครอง และชุมชนด้วย โครงการ อย.น้อย ประกอบด้วยกิจกรรมอย่างหลากหลายเพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ และเกิดทักษะในการเลือกซื้อเลือกใช้อาหาร ยา และเครื่องสำอางที่เป็นประโยชน์ ไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ และสิ่งแวดล้อม อีกประการหนึ่งเพื่อเป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้นักเรียนแกนนำ อย.น้อย ได้รู้จักการทำงานเป็นทีมการวางแผนในการปฏิบัติงาน กล้าแสดงออกในการเผยแพร่ความรู้แก่นักเรียนเครือข่าย อย.น้อย ผู้แทนเครือข่ายผู้ปกครอง และประชาชนทั่วไปอย่างมั่นใจ
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้นักเรียนมีพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ดี เช่น ไม่บริโภคน้ำอัดลม ไม่บริโภคอาหารขยะ บริโภคอาหารที่มีประโยชน์ เช่น นม ผัก ผลไม้ การใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างถูกต้อง อ่านฉลากอาหาร ยา เครื่องสำอางก่อนใช้ นักเรียนมีพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ดี เช่น ไม่บริโภคน้ำอัดลม ไม่บริโภคอาหารขยะ บริโภคอาหารที่มีประโยชน์ เช่น นม ผัก ผลไม้ การใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างถูกต้อง อ่านฉลากอาหาร ยา เครื่องสำอางก่อนใช้ ร้อยละ 90 |
||
2 | เพื่อให้นักเรียนสามารถใช้ชุดทดสอบเบื้องต้นตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหาร ชุดทดสอบเบื้องต้นตรวจสอบสารสเตียรรอยด์ในยาชุด ยาสมุนไพร รวมทั้งเครื่องสำอางได้อย่างถูกต้อง นักเรียนสามารถใช้ชุดทดสอบเบื้องต้นตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหาร ชุดทดสอบเบื้องต้นตรวจสอบสารสเตียรรอยด์ในยาชุด ยาสมุนไพร รวมทั้งเครื่องสำอางได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ 90 |
||
3 | เพื่อให้นักเรียนได้มีการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง และได้ช่วยเหลือเพื่อน ๆ ครอบครัว และชุมชนด้วยการให้ความรู้การบริโภคอย่างเหมาะสม ปลอดภัย นักเรียนได้มีการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง และได้ช่วยเหลือเพื่อน ๆ ครอบครัว และชุมชนด้วยการให้ความรู้การบริโภคอย่างเหมาะสม ปลอดภัย ร้อยละ 80 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 106 | 10,000.00 | 0 | 0.00 | 10,000.00 | |
14 ก.ค. 68 | กิจกรรมอบรมให้ความรู้ | 106 | 8,865.00 | - | - | ||
21 ก.ค. 68 | รณรงค์ให้ความรู้ในชุมชน | 0 | 1,135.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 106 | 10,000.00 | 0 | 0.00 | 10,000.00 |
- นักเรียนมีความรู้ ในการเลือกซื้ออาหาร เลือกใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ได้อย่างถูกต้องปลอดภัย ร้อยละ 90 2. แกนนำนักเรียน อย.น้อยสามารถตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร และในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้ด้วยตนเองอย่างถูกต้อง ร้อยละ 90
- ร้านค้า และตลาดสดในชุมชนได้รับการตรวจสอบความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ที่จำหน่าย ร้อยละ 80
- นักเรียน ครูและบุคคลากรในโรงเรียนบริโภคน้ำดื่มที่ผ่านมาตรฐาน ปลอดภัยต่อสุขภาพ
- นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการ อย.น้อยสุขภาพดี เริ่มที่โรงเรียน ระดับมาก
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 มี.ค. 2568 09:28 น.