โครงการรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกรพ.สต.บ้านลำแคลง
ชื่อโครงการ | โครงการรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกรพ.สต.บ้านลำแคลง |
รหัสโครงการ | 68-L1485-1-04 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำแคลง |
วันที่อนุมัติ | 13 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กุมภาพันธ์ 2568 - 31 สิงหาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 12 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 11,820.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวนาฏยา อุ่นนวล นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.288,99.862place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 60 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกันกระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ พื้นที่ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำแคลงมีหมู่บ้านที่รับผิดชอบทั้งหมด 4 หมู่บ้าน มีจำนวนหลังคาเรือน 1,133 หลังคาเรือน มีจำนวนประชากร 3,764 คน ซึ่งเป็นอีกพื้นที่หนึ่ง ที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลสถิติผู้ป่วยไข้เลือดออกย้อนหลัง 3 ปี พ.ศ.2565-2657 ข้อมูลผู้ป่วยไข้เลือดออก ปี 2565 จำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 6 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 1.594 ต่อพันประชากร ปี 2566 จำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกจำนวน 48 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 12.752 ต่อพันประชากร ในปี 2567 มีจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกจำนวน 19 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 5.047 ต่อพันประชากร (ที่มา:ทะเบียนรับแจ้งผู้ป่วยไข้เลือดออกโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำแคลง) และทุกๆปีจะมีรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออกในพื้นที่ทุกปี ซึ่งจำเป็นต้องทำการควบคุมป้องกันและรณรงค์เพื่อให้สถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกกลับอยู่ในสภาวะที่ไม่รุนแรงและเพื่อเป็นการป้องกันอย่างต่อเนื่อง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำแคลง จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชนขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.1 เพื่อกระตุ้นและปลุกจิตสำนึกให้ประชาชนเกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก และมีส่วนร่วมในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในบริเวณบ้าน โรงเรียน ศาสนสถาน และสถานบริการสาธารณสุข
|
||
2 | 1.2 เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในประชากรทุกกลุ่มอายุลดลง ร้อยละ 20
|
||
3 | 1.3 เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออก
|
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
2.1 ระยะก่อนดำเนินการ
2.๑.๑ ประชุมเจ้าหน้าที่ รพ.สต.บ้านลำแคลง และอสม. เพื่อวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน
ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกใน 1 ปีที่ผ่านมา และกำหนดแนวทาง การดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก
2.1.2 เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ
2.2 ระยะดำเนินการ
2.2.1 กิจกรรมอบรมฟื้นฟูการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก
2.2.2 กิจกรรมควบคุมโรคไข้เลือดออกเมื่อเกิดการระบาด
2.3. สรุปรายงานและประเมินผล
7.1 ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในบริเวณบ้าน โรงเรียน ศาสนสถานและสถานบริการสาธารณสุข อัตราความชุกของค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในชุมชน (HI, CI) ลดลง
7.2 อัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในประชากรทุกกลุ่มอายุลดลงตามเป้าหมายที่วางไว้
7.3 สามารถลดอัตราการสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ได้
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 มี.ค. 2568 10:20 น.