โครงการเสริมพลังครอบครัวอบอุ่น สุขภาพจิตดี มีความสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
ชื่อโครงการ | โครงการเสริมพลังครอบครัวอบอุ่น สุขภาพจิตดี มีความสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L2476-2-030 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตำบลดุซงญอ |
วันที่อนุมัติ | 19 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 25,500.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายอับดุลรอซัค บาโด |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลดุซงญอ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.167094,101.698744place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 80 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ด้วยสภาพการเปลี่ยนแปลงทางด้านโครงสร้างประชากรและวิถีการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน ส่งผลให้สถาบันครอบครัว ซึ่งถือเป็นสถาบันพื้นฐานที่เป็นหลักของสังคมและเป็นรากฐานที่สำคัญในการพัฒนาคนและสังคมในอนาคตได้มีการเปลี่ยนแปลง ทั้งทางด้านโครงสร้างและความสัมพันธ์ในครอบครัว โดยจากเดิมที่ส่วนใหญ่เป็นครอบครัวขยาย มีสมาชิกในครอบครัว 3 ช่วงอายุ (ปู่ ย่า ตา ยาย พ่อ แม่ และลูก) กลายเป็นครอบครัวเดี่ยวที่เหลือเพียงพ่อ แม่ ลูกเท่านั้น และนับวันก็ยิ่งมีขนาดเล็กลงเรื่อยๆ ซึ่งแต่ละครอบครัวนั้นอาจจะมีสภาพปัญหาและความต้องการความช่วยเหลือที่แตกต่างกัน เช่น ครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวที่มีเฉพาะพ่อหรือแม่ที่เลี้ยงลูกตามลำพัง ครอบครัวแหว่งกลางที่มีสมาชิกเป็นผู้สูงอายุเลี้ยงดูเด็กตามลำพัง ครอบครัวเพศเดียวกัน ครอบครัวบุตร บุญธรรม และครอบครัวที่มีภาระในการดูแลสมาชิกที่เจ็บป่วย/พิการ/ต้องขัง เป็นต้น
ซึ่งเหตุผลข้างต้นอาจส่งผลให้สถาบันครอบครัวมีความเปราะบาง และไม่สามารถทำบทบาทหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ ก่อให้เกิดสัมพันธภาพภายในครอบครัวที่เสื่อมถอยลง และส่งผลกระทบต่อสังคมตามมาภายหลังได้ เช่น ปัญหาการใช้ความรุนแรงในครอบครัว ปัญหายาเสพติด ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ปัญหาการถูกทอดทิ้ง เป็นต้น ทั้งนี้ปัญหาดังกล่าวอาจมีผลทำให้บรรยากาศภายในครอบครัวนั้นมีความรักและความอบอุ่นน้อยลง รวมทั้งเป็นการบั่นทอนสุขภาพจิตและความสุขของคนในครอบครัว ซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดปัญหาทางด้านอารมณ์ สุขภาพจิต และสุขภาพร่างกายตามมาภายหลังได้ ดังนั้นการเสริมพลังให้ครอบครัว จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ทั้งพลังทางด้านร่างกาย ด้านจิตใจ และด้านความคิด อันมีผลให้ครอบครัวสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นภายในครอบครัวได้ เป็นครอบครัวที่มีความรัก ความอบอุ่น และมีสุขภาพที่ดีขึ้นในทุกๆมิติ ทั้งนี้หากสถาบันครอบครัวในชุมชนมีความอบอุ่นและมีความสุข ก็ย่อมส่งผลให้ชุมชนและสังคมมีความเข้มแข็งและมีคุณธรรมไปด้วย
ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตำบลดุซงญอ จึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว
รวมทั้งความสำคัญของสถาบันครอบครัว เพราะหากสถาบันครอบครัวไม่มีความเข้มแข็ง ทั้งสุขภาพกาย สุขภาพจิต และสัมพันธภาพในครอบครัว ก็ย่อมส่งผลให้ชุมชนมีความอ่อนแอลงได้ จึงได้จัดทำโครงการ “เสริมพลังครอบครัวอบอุ่น สุขภาพจิตดี มีความสุข” ขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อส่งเสริมการสร้างครอบครัวให้มีความอบอุ่นและเข้มแข็งเพื่อลดปัญหาต่างๆภายในครอบครัว เช่น ปัญหาการใช้ความรุนแรงในครอบครัว ปัญหายาเสพติด ปัญหาการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร เป็นต้น ครอบครัวมีความสุข ความอบอุ่น และเข้มแข็งมากขึ้น |
80.00 | 80.00 |
2 | เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกในครอบครัวมีสุขภาวะที่ดีในทุกๆมิติ ทั้งสุขภาพกาย สุขภาพจิตใจ เป็นต้น คนในครอบครัวมีสุขภาวะที่ดี ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิตใจ |
80.00 | 80.00 |
3 | เพื่อให้สมาชิกในครอบครัวมีความรู้และตระหนักถึงความสำคัญของสถาบันครอบครัว คนในครอบครัวมีความและตระหนักถึงความสำคัญของสถาบันครอบครัวมากขึ้น |
80.00 | 80.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 80 | 25,500.00 | 0 | 0.00 | |
1 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรม อบรมให้ความรู้ เรื่อง เสริมพลังครอบครัวอบอุ่น สุขภาพจิตดี มีความสุข | 80 | 25,500.00 | - |
- ครอบครัวที่เข้าร่วมโครงการมีความสัมพันธ์ที่ดี มีความรักและความอบอุ่น เป็นครอบครัวที่มีความเข้มแข็งในชุมชน
- ครอบครัวที่เข้าร่วมโครงการได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน รวมทั้งมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในครอบครัว ทั้งปัญหาสุขภาวะทางด้านร่างกายและสุขภาวะทางจิตใจ
- สามารถลดและแก้ไขปัญหาครอบครัวที่อาจส่งผลกระทบให้สถาบันครอบครัวและชุมชนเปราะบาง ทั้งปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ปัญหาครอบครัวแตกแยก ปัญหาเด็กติดเกมส์ ปัญหาการใช้ความรุนแรงในครอบครัว และปัญหายาเสพติดในครอบครัว
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 มี.ค. 2568 00:00 น.