กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการวัยรุ่น วัยใส ร่วมใจป้องกันตั้งครรภ์ไม่พร้อม
รหัสโครงการ 61-L5307-1-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาตำบลบ้านควน 2
วันที่อนุมัติ 21 ธันวาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2561 - 28 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 28 กันยายน 2561
งบประมาณ 15,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ เงินบำรุงสถานีอนามัยบ้านควน 2
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านควน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.691,100.049place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ช่วงวัยรุ่น (อายุ 10-19 ปี)เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านจากวัยเด็กสู่วัยผู้ใหญ่ ในช่วงเวลานี้ วัยรุ่นจะมีการเปลี่ยนแปลงทางกาย ทางอารมณ์ สติปัญญาและสังคมมากมาย การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วทั้งทางร่างกายและทางจิตใจตลอดจนสังคมที่เกิดขึ้นในวัยรุ่นนั้นทำให้ช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงที่มีความสำคัญแตกต่างจากช่วงเวลาอื่นๆ ของชีวิต จึงต้องวางรากฐานการมีสุขภาพที่ดีเพื่อให้เด็กนั้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่ สำหรับประเทศไทย การพัฒนาวัยรุ่น ตลอดจนความเป็นอยู่ที่ดีนั้นเป็นการดำเนินงานเพื่อให้สิทธิที่วัยรุ่นมีและพึงได้รับตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กที่ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีในปีพ.ศ. 2532 นั้นเกิดผลจริง เพื่อให้เด็กได้รับสิทธิในการได้รับความคุ้มครอง การส่งเสริมและสนับสนุนที่เกี่ยวข้องกับครอบครัว ตลอดจนสถาบันทางสังคมอื่นๆ สุขภาพ การจ้างงาน กระบวนการยุติธรรมสำหรับเด็ก ศาสนา วัฒนธรรม ตลอดจนอัตลักษณ์ หน่วยงานต่างๆ ของภาครัฐ ชุมชน ครอบครัว และผู้มีหน้าที่แต่ละคนต่างมีหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนวัยรุ่น และดำเนินการเพื่อให้วัยรุ่นมีโอกาสและความสามารถที่จำเป็นในช่วงเปลี่ยนผ่านจากวัยเด็กสู่วัยผู้ใหญ่ ทำให้จำเป็นต้องมีการดำเนินการเพิ่มเติมสำหรับวัยนี้เป็นพิเศษ วัยรุ่นจะมีภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์สูงกว่าผู้ที่มีอายุเกินกว่า ๒๐ ปี เช่น ภาวะโลหิตจาง ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ ภาวะคลอดก่อนกำหนดสูง เจ็บครรภ์คลอดนาน การคลอดโดยใช้อุปกรณ์ช่วยคลอด เสี่ยงต่อการผ่าตัดคลอด ภาวะทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า ๒,๕๐๐ กรัม และทารกตายในครรภ์ อัตราตายของมารดาอายุ ๑๕-๑๙ ปี สูงกว่ามารดาที่มีอายุ ๒๐-๒๔ ปี ถึง ๓ เท่า และวัยรุ่นยังไม่พร้อมด้านจิตใจสำหรับการเป็นแม่ นอกจากนี้การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นยังก่อให้เกิดปัญหาทางด้านเศรษฐกิจและสังคมอีกด้วยคือ การต้องหยุดหรือออกจากการศึกษา ไม่มีงานทำ ค่ารักษาพยาบาลขณะตั้งครรภ์ การคลอดบุตร และการเลี้ยงดูบุตร ปัญหาเหล่านี้ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของทั้งแม่วัยรุ่นและบุตรที่เกิดมา ทำให้ปัญหา“เด็กเกิดน้อยแต่ด้อยคุณภาพ” ของประเทศไทยทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นเป็นภาวะวิกฤติหนึ่งที่มีผลกระทบทั้งด้านสุขภาพ ทั้งกาย จิต การศึกษาเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ทั้งต่อตัววัยรุ่นเอง ครอบครัว และสังคมไทยในภาพรวม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนในปี 255๙ มีอัตราการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น จำนวน๗รายคิดเป็นร้อยละ 15ดังนั้น จึงได้จัดทำโครงการวัยรุ่น วัยใส ร่วมใจป้องกันตั้งครรภ์ไม่พร้อม ขึ้น เพื่อให้วัยรุ่นมีความรู้เรื่องเพศศึกษา มีทักษะชีวิต และมีการปรับทัศนคติ ค่านิยมเรื่องเพศที่เหมาะสม เพื่อช่วยลดอัตราการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ในวัยรุ่น และจัดอบรมให้ความรู้และดูแลมารดาวัยรุ่นในเรื่องการป้องกันการตั้งครรภ์อย่างถูกวิธีเพื่อลดโอกาสการเกิดการตั้งครรภ์ซ้ำในมารดาวัยรุ่น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 - เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อมในวัยรุ่น
  1. ประเมินจากการรับบริการของวัยรุ่นใน“คลินิกวัยรุ่น”
  2. ประเมินอัตราการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นในเขตพื้นที่รับผิดชอบ
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
15 ม.ค. 61 อบรมให้ความรู้นักเรียน/วัยรุ่นในชุมชน 100 12,500.00 12,500.00
15 ม.ค. 61 กิจกรรมให้ความรู้และดูแลมารดาวัยรุ่นและสามี ทุก 3 เดือน 50 1,000.00 1,000.00
15 ม.ค. 61 กิจกรรมรณรงค์การป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น 100 2,400.00 2,400.00
รวม 250 15,900.00 3 15,900.00
  1. ขั้นเตรียมการ

- จัดทำโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ - ประชุมชี้แจงโครงการแก่เจ้าหน้าที่ อสม. ผู้นำชุมชน และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง 2. ขั้นดำเนินการ - จัดอบรมนักเรียนจำนวน ๔๐ คน - จัดอบรมวัยรุ่นในชุมชนจำนวน ๕๐ คน -ให้ความรู้และดูแลมารดาวัยรุ่นและสามีในเรื่องการป้องกันการตั้งครรภ์อย่างถูกวิธีและติดตาม กางวางแผนครอบครัวทุก ๓ เดือน - จัดทำป้ายไวนิลรณรงค์การป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นจำนวน 8ป้าย

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1) วัยรุ่นมีการปรับทัศนคติ ค่านิยมเรื่องเพศที่เหมาะสม และมีการป้องกันการตั้งครรภ์ที่เหมาะสม ในวัยรุ่น 2) วัยรุ่นสามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตและจัดกิจกรรมเพื่อปกป้องเพื่อนวัยรุ่นด้วยกันได้ 3) มี “คลินิกวัยรุ่น”ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ 4) อัตราการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น และอัตราการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่นลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ม.ค. 2561 10:42 น.