โครงการคัดแยกขยะ ลดโรค ใส่ใจสิ่งแวดล้อม
ชื่อโครงการ | โครงการคัดแยกขยะ ลดโรค ใส่ใจสิ่งแวดล้อม |
รหัสโครงการ | L3313 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | เทศบาลตำบลจองถนน |
วันที่อนุมัติ | 28 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มิถุนายน 2568 - 31 กรกฎาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 16,180.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวสุรินทร์ ห้องเม่ง |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลจองถนน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.489,100.194place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 80 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันปัญหาขยะนับว่าเป็นปัญหาใหญ่ปัญหาหนึ่ง เพราะสร้างปัญหาทั้งทางด้านทัศนวิสัย กลิ่น ความสะอาด เป็นแหล่งพาหะของการเกิดโรคต่างๆ เช่นทำให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจ โรคในระบบทางเดินอาหาร โรคในระบบผิวหนัง โรคจากสัตว์แมลง โรคจากการติดเชื้อ โรคภูมิแพ้ โรคไข้เลือดออก โรคปวดศรีษะคลื่นไส้และอาเจียนที่เกิดจากกลิ่นเน่า ผลกระทบต่อระบบต่างๆภายในร่างกายจากการที่มนุษย์พยายามสร้าง และพัฒนาความเจริญให้สังคมที่ตนเองอาศัยอยู่โดยการนำทรัพยากรที่มีอยู่ตามธรรมชาติมาใช้อย่างไม่ระมัดระวังทำให้ความสมดุลย์ทางธรรมชาติเสียไป ส่งผลให้ในปัจจุบันสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลงไปมากเกิดเป็นมลพิษซึ่งทวีความรุนแรงขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยและยังทำลายชั้นบรรยากาศของโลกอีกด้วย จะเห็นได้ว่าทุกระบบของการเกิดโรคมีสาเหตุจากขยะเกือบทั้งสิ้น ถึงแม้ว่ารัฐบาลจะมีพื้นที่ที่จัดไว้เพื่อรองรับขยะแต่ก็ไม่เพียงพอกับปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว พอได้ยินคำว่า “ขยะ” หลายๆ คนก็ไม่สนใจ ละเลยและ ไม่เห็นคุณค่า ทั้งที่ขยะเหล่านั้นหากมีการคัดแยกอย่างถูกวิธีแล้วจะสามารถสร้างประโยชน์ได้ และยังสามารถนำกลับมาหมุนเวียนเข้ากระบวนการผลิตเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีกครั้ง ซึ่งจะส่งผลดีทั้งต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมของคนในชุมชน รวมทั้งปริมาณขยะก็จะลดลงได้มาก
ในส่วนของตำบลจองถนนปัจจุบันมีการขยายตัวของชุมชนเพิ่มขึ้น บ้านเรือนที่อยู่อาศัยเริ่มมีปัญหาในเรื่องของการบริหารจัดการขยะที่มีมากขึ้นนับวันจะก่อปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมและระบบสาธารณสุขของชุมชน ทำให้ชุมชน บ้านเรือนไม่น่าอยู่อาศัย โดยปัจจุบันตำบลจองถนนมีครัวเรือนจำนวน ๑,๓๓๔ ครัวเรือน มีปริมาณขยะที่เทศบาลดำเนินการจัดเก็บและนำไปกำจัด ณ สถานที่กำจัดขยะของเทศบาลเมืองพัทลุง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 รวมจำนวน 322.64 ตัน เฉลี่ยเดือนละ 27 ตัน เทศบาลมีภาระค่าใช้จ่ายเฉพาะค่ากำจัดขยะเฉลี่ยเดือนละ 15,0๐๐ บาท ซึ่งถ้าหากมีการจัดการขยะที่ถูกต้องโดยแต่ละครัวเรือนช่วยกันคัดแยกขยะและกำจัดให้ถูกวิธีตามชนิดของขยะหรือการนำกลับมาใช้ใหม่จะเป็นการลดปริมาณขยะได้มากและช่วยทำให้สิ่งแวดล้อมในหมู่บ้านและชุมชนน่าอยู่ สะอาด ลดจำนวนแมลงและสัตว์ ต่าง ๆ ซึ่งเป็นพาหะนำโรค ลดกลิ่นเหม็นและเหตุรำคาญ โดยมีการคัดแยกขยะและมีการจัดทำถังขยะเปียก เพื่อลดปริมาณขยะเปียกที่เกิดขึ้นในครัวเรือน ลดการเผาขยะที่จะส่งกลิ่นเหม็นและก่อให้เกิด PM2.5 ซึ่งส่งผลกระทบต่อร่างกายโดยตรง ดังนั้น เพื่อให้ประชาชนในตำบลจองถนนตระหนักและเห็นความสำคัญของการจัดบ้านเรือนให้ถูกหลักสุขาภิบาลและการจัดการขยะในครัวเรือนได้ถูกต้อง และถูกสุขลักษณะเพื่อป้องกันแหล่งเพาะพันธ์เชื้อโรค ส่งผลให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น สุขภาพร่างกายแข็งแรง ชุมชนสวยงามน่าอยู่อาศัย เทศบาลตำบลจองถนนจึงได้จัดทำโครงการโครงการคัดแยกขยะ ลดโรค ใส่ใจสิ่งแวดล้อมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 256๘ ขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1) เพื่อให้ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะและสภาพแวดล้อมที่ถูกสุขลักษณะ 2) เพื่อสร้างแนวทางในการคัดแยกขยะอย่างถูกวิธีตามหลัก ๓ R 3) เพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคและพาหะนำโรค เช่น หนู แมลงวัน แมลงสาป ยุง 4) เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วม ในการปรับปรุงสภาพสิ่งแวดล้อมให้ชุมชนน่าอยู่ 5) เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพแข็งแรงห่างไกลจากโรค ร้อยละ 80ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องการคัดแยกขยะ ทำให้ขยลดปริมาณลง |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
- ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะและสภาพแวดล้อมที่ถูกสุขลักษณะ
- มีแนวทางในการคัดแยกขยะอย่างถูกวิธีตามหลัก ๓ R
- ลดแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคและพาหะนำโรค เช่น หนู แมลงวัน แมลงสาป ยุง
- ประชาชนมีส่วนร่วม ในการปรับปรุงสภาพสิ่งแวดล้อมให้ชุมชนน่าอยู่
- ประชาชนมีสุขภาพแข็งแรงห่างไกลจากโรค
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 มี.ค. 2568 14:55 น.