โครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก เพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนด
ชื่อโครงการ | โครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก เพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนด |
รหัสโครงการ | 68-L8302-1-15 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม |
วันที่อนุมัติ | 11 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กุมภาพันธ์ 2568 - 30 กรกฎาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 31,700.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายนูรูดดีน สูลัยมาน |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | เทศบาล ตำบลมะรือโบตะวันตก อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด | 40 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ที่ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ | 68.00 | ||
2 | จำนวนหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะตั้งครรภ์วัยรุ่น(อายุน้อยกว่า 20 ปี) (คน) | 2.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การคลอดก่อนกำหนด คือ การคลอดที่เกิดขึ้นก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ ทารกแรกเกิดที่มีอายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์มีโอกาสเสียชีวิตสูง รวมถึงยังมีโอกาสพบภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น ปอดทำงานไม่ดี มีภาวะเลือดออกในสมอง มีภาวะเลือดออกในลำไส้ ส่งผลให้ทารกมีความพิการในช่วงหลังคลอด บางรายจะมีพัฒนาการล่าช้า หากทารกรายนั้นมีความพิการ ครอบครัว และภาครัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อการฟื้นฟูสภาพร่างกายและดูแล รักษาต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 4 - 5 ปี จากการทำวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนทีปังกรนภัทรบุตร พบว่า ประมาณร้อยละ 50 - 60 ของการคลอดก่อนกำหนดเกิดขึ้นในสตรีตั้งครรภ์ที่ไม่มีโรค หรือ ภาวะแทรกซ้อน ขณะตั้งครรภ์ บางคนเกิดจากพฤติกรรมของสตรีตั้งครรภ์ ก่อให้เกิดภาวะเจ็บครรภ์ก่อนกำหนด เนื่องจากสตรีตั้งครรภ์เหล่านั้น ยังขาดความรู้เรื่องการป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากภาวะคลอด ก่อนกำหนด จึงเข้ามารับการรักษาล่าช้าเป็นเหตุให้การยับยั้ง ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดไม่ประสบผลสำเร็จ ด้วยเหตุนี้กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลมะรือโบตก จึงได้จัดทำโครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก เพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนด เพื่อให้ประชาชนเกิดความตระหนักถึงอันตรายของภาวะคลอดก่อนกำหนดและตัดสินใจไปพบแพทย์โดยเร็ว ส่งผลให้สามารถรักษาภาวะคลอดก่อนกำหนดได้อย่างรวดเร็วต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี |
---|
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
---|
หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้
วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด)
1.แต่งตั้งคณะทำงานสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก เพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2.สำรวจและจัดทำฐานข้อมูลทะเบียนตั้งครรภ์ และฐานข้อมูลการช่วยเหลือและส่งเสริมหญิงตั้งครรภ์ในพื้นที่
3.รณรงค์ประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ความตระหนหักถึงอันตรายของการคลอดก่อนกำหนด
4.อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโทษของการคลอดก่อนกำหนด
- หญิงมีครรภ์ตระหนักถึงการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์
- หญิงมีครรภ์ตระหนักถึงอันตรายของการคลอดก่อนกำหนด
- หญิงมีครรภ์สามารถดูแลตัวเองขณะตั้งครรภ์อย่างถูกวิธี
- หญิงวัยเจริญพันธ์มีความรู้ในการตั้งครรภ์และตระหนักถึงการดูแลตัวเองเพื่อให้พร้อมในการตั้งครรภ์
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 มี.ค. 2568 15:21 น.