โครงการเฝ้าระวังโรคมือ เท้า ปาก ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กฯ
ชื่อโครงการ | โครงการเฝ้าระวังโรคมือ เท้า ปาก ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กฯ |
รหัสโครงการ | L3313 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลจองถนน |
วันที่อนุมัติ | 28 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มิถุนายน 2568 - 30 มิถุนายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 4,750.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายธีระพงษ์ มูสิกนิลพันธ์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลจองถนน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.489,100.194place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน | 28 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคมือ เท้า ปาก เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสในลำไส้ของมนุษย์ มักพบในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า ๕ ปี ผู้ป่วยมักจะมีอาการไข้ มีผื่นหรือตุ่มพองในปาก ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ส่วนมากอาการไม่รุนแรง มีเพียงส่วนน้อยประมาณ ร้อยละ ๑ ที่ มีอาการรุนแรงจนถึงแก่ชีวิตได้จากภาวะแทรกซ้อน เช่น ปอดบวมน้ำ สมองอักเสบ หัวใจวาย มืออาจจะเป็นอวัยวะที่เป็นตัวกลางในการนำเชื้อเข้าสู่ร่างกาย และนำเชื้อนี้ไปแพร่สู่ผู้อื่นจากการสัมผัสโดยตรงหรือผ่านตัวกลาง เช่น การหยิบจับสิ่งของต่างๆ มักพบบ่อยในกลุ่มเด็กเล็กที่ศึกษาอยู่ในสถานรับเลี้ยงเด็กหรือในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มักจะระบาดในช่วงหน้าฝน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลจองถนนได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของสถานการณ์โรค มือ เท้า ปากในปัจจุบันจึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังมือ เท้า ปาก ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลจองถนน เพื่อเตรียมความพร้อมในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคอย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ และเพื่อให้ผู้ปกครองได้ตระหนักและเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาดของโรคมือ เท้า ปาก ได้
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | ข้อที่ 1 ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง และเด็กทุกคนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กๆได้รับความรู้จากการจัดโครงการ ข้อที่ 2 เพื่อเป็นการส่งเสริมกิจกรรมเฝ้าระวังโรคมือ เท้า ปากซึ่งเป็นโรคที่ติดต่อในเด็กเล็ก/ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ข้อที่ 3 เพื่อเผยแพร่ให้คำแนะนำการดูแลสุขภาพ 1.ประเมินความรู้แก่ผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง และเด็กจากการสอบถาม
2 .อัตราป่วยลดลง |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : ข้อที่ 1 ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง และเด็กทุกคนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กๆได้รับความรู้จากการจัดโครงการ ข้อที่ 2 เพื่อเป็นการส่งเสริมกิจกรรมเฝ้าระวังโรคมือ เท้า ปากซึ่งเป็นโรคที่ติดต่อในเด็กเล็ก/ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ข้อที่ 3 เพื่อเผยแพร่ให้คำแนะนำการดูแลสุขภาพ |
||||||
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 |
หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้
- ค่าเจลล้างมือแบบไม่ใช้น้ำ ขนาด 450 ซีซี จำนวน 5 ขวดๆละ 150 บาท
เป็นเงิน 750 บาท - ค่าสบู่เหลว ขนาด 250 ซีซี จำนวน 10 ขวดๆละ ๑5๐ บาท
เป็นเงิน 1,500 บาท - ค่าหน้ากากอนามัยยี้ห้อ 3 เอ็มบรรจุ 50 ชิ้น/กล่องจำนวน 2 กล่องๆละ 125 บาท เป็นเงิน 250 บาท
- ค่าถุงมือยางยี้ห้อ 3 เอ็มบรรจุ 100 ชิ้น (50 คู่)จำนวน 2 กล่องๆละ 170 บาท
เป็นเงิน 340 บาท - ค่าน้ำยาฆ่าเชื้อ ขนาด 2,500 มล.จำนวน 3 ขวดๆละ 150 บาท เป็นเงิน 450 บาท
- ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 100X 200 ซม.จำนวน 1 ป้ายๆละ 360 บาท
เป็นเงิน 360 บาท - ค่าแผ่นพับให้ความรู้ (ขนาดกระดาษ A4 พิมพ์สี) จำนวน 50 แผ่นๆละ 2 บาท เป็นเงิน 100 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม(เฉพาะผู้ปกครอง)จำนวน 28 ชุดๆละ 25 บาท
เป็นเงิน 700 บาท - ค่าวิทยากรในพื้นที่จำนวน 1 คน เวลา 1 ชม.ๆละ 300 บาท
เป็นเงิน 300 บาท รวมทั้งสิ้น 4,750 บาท
* ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายกันได้
- ผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง และเด็กทุกคนได้รับความรู้จากการจัดโครงการ
- เฝ้าระวังโรคมือ เท้า ปากในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
- ผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครองนำความรู้ไปเผยแพร่
- สามารถป้องกันการระบาดโรคมือเท้าปากได้
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 มี.ค. 2568 15:23 น.