โครงการปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับนักเรียน
ชื่อโครงการ | โครงการปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับนักเรียน |
รหัสโครงการ | 68-L1485-1-14 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเจ้าพะ |
วันที่อนุมัติ | 13 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กุมภาพันธ์ 2568 - 31 สิงหาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 12 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 14,650.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | น.ส.สูตินุช เพชรหิน ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพชำนาญการ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.288,99.862place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การเสียชีวิตแบบปัจจุบันทันด่วนเกิดได้บ่อยด้วยสาเหตุต่างๆ เช่น โรคหัวใจ การแพ้ยา การแพ้พิษแมลงกัดต่อย ถูกไฟฟ้าดูด สำลักควันไฟ หรือจมน้ำ ผู้ป่วยเหล่านี้จะหยุดหายใจ และหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน ซึ่งถ้าปล่อยไว้นานเกิน 4 นาที แม้จะช่วยให้ฟื้นคืนชีพขึ้นมาได้ ก็จะเกิดสภาวะการตายของสมองอย่างถาวร ฉะนั้นปฏิบัติการช่วยชีวิตที่กระทำอย่างทันทีและถูกต้องจะช่วยให้สมองไม่ขาดเลือดและสามารถกลับมาฟื้นเป็นปกติได้
เนื่องจากอุบัติการณ์เหล่านี้ มักเกิดนอกโรงพยาบาล เช่น ที่บ้าน หรือที่ทำงาน ฉะนั้นการช่วยชีวิตอย่างทันท่วงทีนั้นจึงต้องเป็นการช่วยจากญาติมิตรคนใกล้ชิดหรือผู้ร่วมงาน ประชาชนทั่วไปที่อยู่ในสถานการณ์ ซึ่งบุคคลเหล่านั้นจำเป็นที่จะต้องสามารถทำการปฏิบัติการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานได้อย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ เพื่อให้พ้นจากความพิการหรืออันตรายแก่ชีวิตก่อนนำส่งโรงพยาบาล การปฐมพยาบาลจึงเป็นสิ่งสำคัญ และสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยเบื้องต้นโดยใช้อุปกรณ์ต่างๆ เท่าที่มีอยู่ หรือจัดหาได้ในที่เกิดเหตุการณ์ฝึกอบรม “การปฐมพยาบาลและการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน” จึงมีความสำคัญ และจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับทุกคน เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ หรือเจ็บป่วยให้พ้นจากอันตรายก่อนนำส่งโรงพยาบาล โดยเริ่มตั้งแต่การตรวจร่างกายเพื่อค้นหาการบาดเจ็บต่างๆ ที่จะเป็นอันตรายแก่ชีวิต และให้การช่วยเหลือที่เป็นลำดับตั้งแต่ขั้นรุนแรงที่สุดเป็นต้นไป ได้แก่ การกระตุ้นหัวใจและการผายปอด การห้ามเลือด การปฐมพยาบาลบาดแผลทุกชนิด การปฐมพยาบาลผู้ป่วยช็อกจากสาเหตุต่างๆ การปฐมพยาบาลผู้ป่วยได้รับสารพิษ กระดูกหัก ภาวะฉุกเฉินทางจิต และการคลอดที่ฉุกเฉิน ตลอดจนการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปส่งโรงพยาบาล ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่เจ้าหน้าที่ผู้ที่ปฏิบัติงานทุกคนเป็นอย่างมาก และการจัดอบรมเน้นการอบรมและฝึกปฏิบัติการการปฐมพยาบาลที่สอดคล้องตรงกับอุบัติเหตุที่พบบ่อย เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้รับประโยชน์จากการอบรมอย่างสูงสุด โรงเรียนในเขตรับผิดของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ มีจำนวน 1 โรงเรียน เด็กนักเรียน จำนวน 104 คน
จากสภาพปัญหาดังกล่าวข้างต้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเจ้าพะ จึงได้จัดทำโครงการปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับนักเรียน เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้และทักษะในการปฐมพยาบาล สามารถช่วยเหลือในเบื้องต้นได้ อย่างถูกต้องก่อนนําส่งสถานพยาบาลต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
|
||
2 | 2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม มีความรู้ความสามารถและฝึกทักษะในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ได้อย่างถูกต้อง
|
||
3 | 3. เพื่อให้เกิดระบบเครือข่ายการช่วยเหลือปฐมพยาบาลเบื้อนต้นในพื้นที่
|
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
๑. ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เพื่อจัดทำโครงการฯ ๒. เขียนโครงการเพื่อเสนอคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลปะเหลียน เพื่อขออนุมัติเงินสนับสนุนโครงการ 3. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และทีมวิทยากรกู้ชีพจากโรงพยาบาลปะเหลียน 4. แจ้งผู้นำชุมชน โรงเรียน อาสาสมัคร(อสม.) และภาคีเครือข่าย ผู้เกี่ยวข้องฯ 5. จัดอบรมเรื่องการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน (CPR) สำหรับนักเรียน 6. ติดตามและประเมินความพึงพอใจการดำเนินกิจกรรม
1.ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ทักษะการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานได้อย่างถูกต้องตามมาตรฐานของสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยฯ ร้อยละ ๘๐ ๒.ผู้เข้ารับการอบรมสามารถฝึกอบรมปฏิบัติการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานกับหุ่นได้ถูกต้อง ร้อยละ ๑๐๐ และสามารถนำไปปฏิบัติช่วยเหลือผู้อื่นได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย 3.ผู้เข้าร่วมอบรมมีความมั่นใจในการช่วยฟื้นคืนชีพเพิ่มขึ้น เกิดระบบเครือข่ายการช่วยเหลือ ปฐมพยาบาลเบื้อนต้นในพื้นที่
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 มี.ค. 2568 15:43 น.