โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการดูแลสุขภาพเท้าผู้ป่วยโรคเรื้อรังด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทยปีงบประมาณ 2568
ชื่อโครงการ | โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการดูแลสุขภาพเท้าผู้ป่วยโรคเรื้อรังด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทยปีงบประมาณ 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L8302-1-16 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านสะโล |
วันที่อนุมัติ | 11 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กุมภาพันธ์ 2568 - 31 กรกฎาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 20,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวฟีรซา เง๊าะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | เทศบาล ตำบลมะรือโบตะวันตก อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง | 80 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน | 75.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ตามที่กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายสนับสนุนการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือกให้เป็นที่รู้จักเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการได้ง่าย และใช้บริการอย่างแพร่หลายมากขึ้น ตอบสนองต่อนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุข โดยการพัฒนาระบบงานบริการงานแพทย์แผนไทยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในการให้บริการสำหรับประชาชนทั่วไป โดยมีการให้บริการแพทย์แผนไทยพร้อมทั้งเพิ่มความหลากหลายในการให้บริการการแพทย์แผนไทยมากขึ้น เบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาทางสาธารณสุขของประเทศ ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในหลายระบบของร่างกาย อาทิ เบาหวานขึ้นตา โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคไตเรื้อรัง และการสูญเสียเท้าจากแผลเบาหวาน หากได้รับการดูแลไม่ถูกต้อง มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนทั้งแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง เนื่องจากเมื่อมีน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เมื่อเวลาผ่านไปเบาหวานสามารถก่อให้เกิดพยาธิสภาพของหลอดเลือด และเส้นประสาท ส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงบริเวณเท้าได้ไม่ดี เส้นประสาทรับความรู้สึกมีความผิดปกติ ทำให้เกิดอาการชาและการับรู้ที่เท้าเสียไป เสี่ยงต่อการเกิดแผลที่เท้าได้ง่าย หากได้รับการดูแลที่ไม่เหมาะสมอาจเกิดการลุกลามของแผลจนต้องสูญเสียเท้าในที่สุด นับเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตและภาวะเศรษฐกิจของผู้ป่วยโรคเรื้อรังและครอบครัว รวมทั้งประเทศชาติด้วย ผู้ป่วยโรคเรื้อรังและครอบครัวได้รับความรู้ รวมทั้งข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างเพียงพอ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม เพื่อ ให้อยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว จากปัญหาดังกล่าวโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านสะโล เห็นถึงความสำคัญของการดูแลเท้า ในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จึงได้จัดทำโครงการดังกล่าวขึ้น ดังนั้นทางรพ.สต.บ้านสะโล จึงมีแนวคิดที่แก้ไขปัญหาในข้างต้นให้ได้ครบถ้วนทั้งปริมาณและคุณภาพ ตลอดจนประสิทธิภาพสูงสุดซึ่งจะส่งผลถึงคุณภาพชีวิตต่อไป จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นและขอสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลมะรือโบตก
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานลดลง |
75.00 | 55.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 20,000.00 | 0 | 0.00 | |
1 ก.พ. 68 - 31 ก.ค. 68 | กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวการดูแลเท้าด้วยศาสตร์สมุนไพรแพทย์แผนไทย | 0 | 10,000.00 | - | ||
1 ก.พ. 68 - 31 ก.ค. 68 | กิจกรรมแช่เท้าด้วยสมุนไพร | 0 | 9,250.00 | - | ||
1 ก.พ. 68 - 31 ก.ค. 68 | ป้ายโครงการ | 0 | 750.00 | - |
วิธีดำเนินการ(ออกแบบรายละเอียด) กิจกรรมดำเนินงาน กิจกรรมที่ ๑ ประชุมวางแผนการจัดกิจกรรมแพทย์แผนไทยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านสะโล เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ของการจัดโครงการ กับผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้รับผิดชอบงาน กิจกรรมที่ ๒ ประชาสัมพันธ์โครงการ กับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ในเขตรับผิดชอบ กิจกรรมที่ ๓ จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวการดูแลเท้าด้วยศาสตร์สมุนไพรแพทย์แผนไทย - บรรยายสภาวะการเกิดโรคแทรกซ้อนทางเท้าในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง - สรรพคุณของสมุนไพรเพื่อลดภาวะแทรกซ้อน - การดูแลสุขภาพเท้าผู้ป่วยโรคเรื้อรังด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทยเพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางเท้า กิจกรรมที่ ๔ กิจกรรมแช่เท้าด้วยสมุนไพร กิจกรรมที่ ๕ สรุปวิเคราะห์และประเมินผล
- ผู้ป่วยโรคเรื้อรังใช้สมุนไพรลดอาการปวด บวมเท้า และลดอาการเกร็งกล้ามเนื้อของกล้ามเนื้อบริเวณเท้า
- เกิดทักษะการดูแลสุขภาพตนเองด้วยสมุนไพรของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 มี.ค. 2568 15:47 น.