กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคฉี่หนู ปีงบประมาณ 2568
รหัสโครงการ 68-L1510-02-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.รพ.สต.หนองบ่อ
วันที่อนุมัติ 24 มกราคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 13 มิถุนายน 2568 - 13 มิถุนายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 มิถุนายน 2568
งบประมาณ 6,220.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอำนวย นวลแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหนองบ่อ อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.416,99.718place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 13 มิ.ย. 2568 13 มิ.ย. 2568 6,220.00
รวมงบประมาณ 6,220.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 35 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเลบโตสไปโรชิสหรือฉี่หนูเป็นโรคของสัตว์ที่สามารถติดต่อมาสู่คน ซึ่งเป็นกลุ่มอาการของโรคจากเชื้อแบคทีเรียที่ติดต่อมาจากสัตว์หลายชนิด ก่ออาการหลากหลายขึ้นกับชนิดของเชื้อ และปริมาณเชื้อที่ได้รับติดเชื้อมีได้ตั้งแต่ไม่ปรากฏอาการ มีอาการอย่างอ่อน อาการรุนแรง หรือถึงขั้นเสียชีวิต คนที่ติดมีโรคนี้เป็นโรคประจำถิ่น ส่วนใหญ่มักไม่แสดงอาการ หรือแสดงอาการอย่างอ่อน วิธีการติดต่อปล่อยออกมากับปัสสาวะของสัตว์ที่ติดเชื้อ และปนเปื้อนอยู่ตามน้ำ ดินที่เปียกขึ้น หรือพืช ผัก เชื้อสามารถไชเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนังตามรอยแผลและรอยขีดข่วน และเยื่อบุของปาก ตา จมูก นอกจากนี้ยังสามารถไชเข้าทางผิวหนังปกติที่อ่อนนุ่มเนื่องจากแช่น้ำอยู่นาน คนมักติดเชื้อโดยอ้อมขณะย่ำดินโคลน แช่น้ำท่วมหรือว่ายน้ำหรืออาจติดโรคโดยตรงจากการสัมผัสเชื้อในปัสสาวะสัตว์หรือเนื้อสัตว์ที่ปนเปื้อนเชื้อ อาการของโรคคือมีไข้สูงทันทีทันโด ปวดศีรษะ ปวดเจ็บกล้ามเนื้อที่โคนขาและน่องอย่างมาก คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน ตาแดง บางรายอาจมีจุดเลือดออกตามผิวหนัง ไอมีเลือดปนหรือตัวเหลืองตาเหลือง เนื่องจากเยื้อหุ้มสมองอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ตับวาย ไตวาย และเสียชีวิตได้ โดยข้อมูล ณ วันที่ 1 มกราคม 2567 - 9 ธันวาคม 2567 สถานการณ์โรคฉี่หนูในอำเภอย่านตาขาว จำนวน 25 ราย เสียชีวิต จำนวน 2 ราย (Dashboard DSS กรมควบคุมโรค) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองบ่อ มีความห่วงใยสุขภาพประชาชนและตระหนักถึงโรคภัยที่อาจจะเกิดขึ้นกับประชาชนในพื้นที่ จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวัง ควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคฉี่หนู ให้แก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ในการป้องกันตนเองจากโรคฉี่หนูในช่วงฤดูฝนและช่วงน้ำท่วม ดังนั้น เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ในการป้องกันตนเองและสามารถเตรียมรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคฉี่หนูให้ มีประสิทธิภาพ จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวัง ควบคุมการแพร่ระบาดของโรคฉี่หนูปีงประมาณ 2568 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ประชาชนมีความรู้และตระหนักถึงการเฝ้าระวังป้องกันตนเองและครอบครัว เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคฉี่หนูและสามารถควบคุมการเกิดโรคฉี่หนูได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 มี.ค. 2568 16:07 น.