โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ประจำปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ประจำปี 2568 |
รหัสโครงการ | L3313 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแหลมจองถนน |
วันที่อนุมัติ | 28 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 เมษายน 2568 - 31 พฤษภาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 9,450.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวพรรณี ช่วยพิชัย |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลจองถนน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.489,100.194place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 70 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) ประเทศไทยมีแนวโน้มผู้สูงอายุ ที่มีอายุยืนยาวและเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง อันสืบเนื่องมาจากพัฒนาการเทคโนโลยีทางการแพทย์ และการบริการที่เจริญก้าวหน้า พฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป จากแนวโน้มของผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้น นำมาซึ่งภาวะเสี่ยงและปัญหาด้านสุขภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเจ็บป่วย เรื้อรัง จากการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุมีอุบัติการณ์การเกิดโรคมากกว่าวัยอื่นๆถึง 4 เท่า นอกจากนี้ ยังพบว่าผู้สูงอายุเกิน 65 ปี ประมาณ 4 ใน 5 คน จะมีโรคประจำตัวอย่างน้อย 1 โรค ส่วนปัญหาทางด้านจิตใจผู้สูงอายุที่สำคัญคือ ภาวะซึมเศร้าที่เกิดจากการสูญเสียบุคคลใกล้ชิด รวมทั้งการขาดรายได้ การเปลี่ยนแปลงบทบาทหน้าที่ในสังคม (วิถีการดำเนินสุขภาพผู้สูงอายุ The Elderly's Lifestyle, 2564) จากสถานการณ์ปัญหาด้านสุขภาพผู้สูงอายุ ประกอบกับสถานการณ์ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตพื้นที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแหลมจองถนน มีจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมด 471 คน ได้รับการคัดกรองในชุมชนโดยการประเมินตามแบบคัดกรองผู้สูงอายุ 9 ด้าน จำนวน 432 คน ร้อยละ 91.71 มีผู้สูงอายุเสี่ยงภาวะสมองเสื่อม ร้อยละ 22.68 ,เสี่ยงเกิดภาวะหกล้ม ร้อยละ 16.89 ,ความเสี่ยงการมองเห็น ร้อยละ 25.92 ความเสี่ยงต่อการได้ยิน ร้อยละ 12.04 ,เสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า ร้อยละ 6.48 และความเสี่ยงสุขภาพช่องปาก ร้อยละ 26.16 (รายงานการคัดกรองผู้สูงอายุ ปี 2568) จากข้อมูลดังกล่าว หากผู้สูงอายุได้รับความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเหมาะสมเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเอง ทั้งด้านโภชนาการ การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและจิตใจ จะส่งผลให้ผู้สูงอายุมีความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันที่ดีขึ้นตามลำดับ รวมทั้งส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้มีโอกาสได้แสดงศักยภาพส่งเสริมสุขภาพตนเอง ครอบครัวและชุมชน รวมทั้งการเตรียมความพร้อมของผู้สูงอายุ ในเรื่องการป้องกัน ส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพตนเอง เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพสมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคม สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีอย่างมีคุณภาพที่เหมาะสม จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ประจำปี 2568 เพื่อส่งเสริมสุขภาพให้ผู้สูงอายุ มีสุขภาพแข็งแรง สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข และมีคุณภาพชีวิตที่ดี มากขึ้นต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | วัตถุประสงค์ ๑.เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเอง ทั้งด้านโภชนาการ การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและจิตใจ ๒.เพื่อให้ผู้สูงอายุมีทัศนคติที่ดีต่อการดูแลสุขภาพให้แข็งแรง 3.เพื่อเสริมสร้างเครือข่ายผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเอง ทั้งด้านโภชนาการ การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและจิตใจ ร้อยละ 80 ผู้สูงอายุมีทัศนคติที่ดีต่อการดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ร้อยละ 90 ผู้สูงอายุมีการรวมตัวทำกิจกรรมในชุมชน และเครือข่ายในพื้นที่ ร้อยละ 50 |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 70 คนๆ ละ 25 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 1,750 บาท -ค่าวิทยากรอบรม 3 ชั่วโมงๆ ละ 3๐๐ บาท เป็นเงิน 900 บาท -ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.20 x 2.40 เมตร จำนวน ๑ ป้าย เป็นเงิน 50๐ บาท -ค่าวัสดุอุปกรณ์ ดังนี้ 1)กระเป๋าผ้า จำนวน 70 ใบๆ ละ 70 บาทเป็นเงิน 4,900 บาท 2)ปากกา จำนวน 70 ด้ามๆ ละ 10 บาทเป็นเงิน 700 บาท -ค่าถ่ายเอกสารคู่มือการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ จำนวน 70 ชุดๆ ละ 10 บาท เป็นเงิน 700 บาท รวม 9,450 บาท (ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้
๑. ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเอง ทั้งด้านโภชนาการ การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและจิตใจอย่างต่อเนื่อง
๒. ผู้สูงอายุมีทัศนคติที่ดีต่อการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อดำรงอยู่ในสังคมอย่างมีคุณค่า
๓. เกิดเครือข่ายผู้สูงอายุและมีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 มี.ค. 2568 16:10 น.