โครงการให้ความรู้แกนนำสุขภาพ เกิดสุขภาพจิตที่ดีในชุมชน
ชื่อโครงการ | โครงการให้ความรู้แกนนำสุขภาพ เกิดสุขภาพจิตที่ดีในชุมชน |
รหัสโครงการ | 68-L1485-1-18 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำปลอก |
วันที่อนุมัติ | 13 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กุมภาพันธ์ 2568 - 31 สิงหาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 12 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 10,420.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวอาทิยา สวัสดิรักษา พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.288,99.862place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 16 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มวัยทำงาน | 25 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
แกนนำสุขภาพ คือ ภาคีที่ร่วมสนับสนุนและดำเนินการจัดการสุขภาพในชุมชน เช่น พชอ. อปท. โรงเรียน ชมรม หรือ เครือข่ายอื่นที่เกี่ยวข้องในชุมชนทั้งภาครัฐและเอกชน โดยมีบทบาทที่สำคัญ ในฐานะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ด้านพฤติกรรมสุขภาพอนามัย การสื่อสารข่าวสาธารณสุข การแนะนำเผยแพร่ความรู้ ประสานกิจกรรมพัฒนาสาธารณสุข ตลอดจนให้บริการสาธารณสุขด้านต่างๆ แกนนำสุขภาพในชุมชนจึงเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าแก่การพัฒนางานสาธารณสุข
รพ.สต.บ้านลำปลอก มีเขตรับผิดชอบจำนวน 4 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 6 บ้านลำปลอก หมู่ที่ 7 บ้านวังเจริญ หมู่ที่ 10 บ้านทุ่งข่า และหมู่ที่ 13 บ้านพรุราชา มีประชาชน ทั้งหมด 1911 ราย จากการประเมินความเครียดในทุกๆปี พบว่าประชาชนมีภาวะซึมเศร้า ปัญหาสุขภาพจิตในพื้นที่เพิ่มขึ้น สาเหตุเกิดจากปัญหาสุขภาพ ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาผู้สูงอายุอยู่บ้านคนเดียวตามลำพัง และปัญหาอื่นๆ อีกมากมายที่เกิดขึ้นในช่วงชีวิตแต่ละคน แต่ละช่วงวัย รวมทั้งเมื่อปี พ.ศ.2565-2566 มีประชาชนในความรับผิดชอบฆ่าตัวตายสำเร็จ 3 ราย ทาง รพ.สต.บ้านลำปลอกจึงเห็นถึงการพัฒนาศักยภาพของแกนนำสุขภาพ ด้านสุขภาพจิตในชุมชน เพื่อให้แกนนำสุขภาพ ในเขตชุมชนให้มีความรู้ความเข้าใจและมีทิศทางในการดำเนินงานด้านสุขภาพจิตชุมชนโดยแกนนำสุขภาพนำความรู้ไปเป็นแนวทางในการดำเนินงานส่งเสริมป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในชุมชน และสามารถนำองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับบริบทของชุมชน ผนวกกับการให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนให้เกิดความตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างสุขภาพและเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพดี ไม่เจ็บป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น
ดังนั้นทาง รพ. สต.บ้านลำปลอก จึงเห็นความสำคัญของปัญหาสุขภาพจิตในชุมชน จึงจัดทำโครงการให้ความรู้แกนนำสุขภาพ เกิดสุขภาพจิตที่ดีในชุมชน เพื่อให้ แกนนำสุขภาพได้นำความรู้ไปคัดกรองและแนะนำแก่ประชาชนให้มีสุขภาพจิตที่ดี และลดปัญหาการฆ่าตัวตายในชุมชนสำเร็จ
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพื่อสร้างเครือข่ายแกนนำสุขภาพในงานด้านสุขภาพจิต เสริมสร้างการมีสุขภาพจิตที่ดีของผู้คนในชุมชน
|
||
2 | 2. เพื่อให้แกนนำสุขภาพมีความรู้ในการคัดกรองภาวะซึมเศร้า ทำให้ผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าในชุมชนได้รับการรักษาที่รวดเร็วมากยิ่งขึ้น
|
||
3 | 3. เพื่อให้แกนนำสุขภาพสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยจิตเวช และสามารถดูแลสุขภาพจิตของผู้คนในชุมชนได้ ลดปัญหาการฆ่าตัวตายสำเร็จในชุมชน
|
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 1. เพื่อสร้างเครือข่ายแกนนำสุขภาพในงานด้านสุขภาพจิต เสริมสร้างการมีสุขภาพจิตที่ดีของผู้คนในชุมชน |
||||||
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | ||
วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : 2. เพื่อให้แกนนำสุขภาพมีความรู้ในการคัดกรองภาวะซึมเศร้า ทำให้ผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าในชุมชนได้รับการรักษาที่รวดเร็วมากยิ่งขึ้น |
||||||
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | ||
วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : 3. เพื่อให้แกนนำสุขภาพสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยจิตเวช และสามารถดูแลสุขภาพจิตของผู้คนในชุมชนได้ ลดปัญหาการฆ่าตัวตายสำเร็จในชุมชน |
||||||
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 |
หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้
- ขั้นเตรียมการ
1.1 ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่รพ.สต.บ้านลำปลอก เพื่อจัดทำโครงการ 1.2 จัดทำแผนงาน/โครงการเพื่อขออนุมัติและการขอใช้งบประมาณ - ขั้นดำเนินการ
2.1 จัดอบรมให้ความรู้งานสุขภาพจิต และการคัดกรองสุขภาพจิต 2.2 จัดอบรมทักษะการให้คำปรึกษาปัญหาสุขภาพจิต 2.3 จัดอบรมทักษะการปฏิบัติตนให้มีสุขภาพจิตที่ดี - สรุปผลการดำเนินโครงการ
- มีเครือข่ายแกนนำสุขภาพที่มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องสุขภาพจิตและนำไปปฏิบัติได้ เสริมสร้างการมีสุขภาพจิตที่ดีของผู้คนในชุมชน
- แกนนำสุขภาพสามารถคัดกรองสุขภาพจิต ภาวะซึมเศร้าของผู้คนในชุมชนได้ ทำให้ผู้ที่ปัญหาสุขภาพจิต หรือภาวะซึมเศร้าในชุมชนได้รับการรักษาที่รวดเร็วมากยิ่งขึ้น
- แกนนำสุขภาพสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนในการดูแลสุขภาพจิตได้ดีขึ้น ลดปัญหาการฆ่าตัวตายสำเร็จในชุมชน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 มี.ค. 2568 16:31 น.